เด่นโซเชียล

เปิดโปรไฟล์ "รถไฟญี่ปุ่นมือสอง" KiHa 183 ที่ "รฟท." รับบริจาคมา

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เปิดประวัติ "รถไฟญี่ปุ่นมือสอง" KiHa 183 ของบริษัท JR Hokkaido ที่ ญี่ปุ่นส่งมอบบริจาคให้ไทย พบว่า เป็นรถไฟยอดนิยมยาวนานกว่า 15 ปี

จากกระแส เมื่อวันที่ 6 กันยายน 64 ไทยรับบริจาครถไฟมือสองมาจากญี่ปุ่น รุ่น KiHa 183 ของบริษัท JR Hokkaido จำนวน 17 คัน แต่ต้องออกค่าขนส่งเองนั้น  2564 วันนี้จึงจะพามารู้จัก รถไฟรุ่น KiHa 183 กัน

 

รถไฟดีเซลราง KiHa 183 เป็นรถที่พัฒนาโดย การรถไฟแห่งชาติญี่ปุ่น (Japanese National Railways : JNR) มีวัตถุประสงค์ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อวิ่งในเส้นทางบนเกาะฮอกไกโด จุดกำเนิดของ KiHa 183 เริ่มต้นในช่วงปลายทศวรรษที่ 1970 เมื่อการรถไฟแห่งชาติญี่ปุ่นมองเห็นความจำเป็นในการเปลี่ยนรถไฟรุ่น KiHa 80 ที่ใช้มานานและเริ่มเสื่อมสภาพเนื่องจากความหนาวสุดขั้วของฮอกไกโด ทางตอนเหนือของประเทศญี่ปุ่นไม่ไหว จึงมีการพัฒนารถไฟรุ่นใหม่ทั้งหมด พร้อมกับตั้งชื่อรุ่นว่า KiHa 183 โดยผลิตขึ้นมาในปี พ.ศ.2522 เริ่มให้บริการเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1980 บนเส้นทางโอโซระ ฮกไก โอค็อตสค์ และโฮคุโตะบนเส้นทางเซกิโช หลังจากนั้นก็มีการสร้างเพื่อใช้ในเส้นทางอื่นๆ เพิ่มเติมในอีกไม่กี่ปีต่อมา

KiHa 183 ทะยอยยุติให้บริการตั้งแต่ปี 2001-2016 โดยปกติแล้วการบำรุงรักษารถไฟของญี่ปุ่นค่อนข้างดีมาก แม้ว่ารถไฟคันนั้นจะให้บริการมายาวนานหลายสิบปี

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

KiHa 183 มีความยาวอยู่ที่ประมาณ 21.3 เมตร กว้าง 2.9 เมตร ลักษณะท้ายรถออกแบบให้ลาดเอียง ไม่มีประตูด้านหลัง เพื่อป้องกันหิมะเกาะติดรถไฟเครื่องยนต์ 220 แรงม้า แต่บางคันก็มีเครื่องยนต์ถึง 450 แรงม้า ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 120-130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ด้วยความเร็วและความทนทาน สมรรถนะดี แม้ใช้งานมาหลายปีทำให้รถไฟ KiHa 183 เป็นที่นิยมยาวนานกว่า 15 ปีในประเทศญี่ปุ่น ก่อนจะถูกปลดระวาง ในปี 2544-2559 ในเวลาต่อมา เพราะต้องมีการพัฒนารถไฟอย่างต่อเนื่อง

 

 

 

เปิดโปรไฟล์ "รถไฟญี่ปุ่นมือสอง" KiHa 183 ที่ "รฟท." รับบริจาคมา

 

 

 

 

 

 


 

รถไฟรุ่นดังกล่าวบางคันถูกนำมาปรับปรุง ต่อเติมเรื่อยๆ อาทิ เสริมชั้น 2 หรือทำเป็นรถไฟรีสอร์ท โดยมีบางคันที่ได้รับการตกแต่งใหม่ยังคงให้บริการอยู่ในญี่ปุ่น ขณะที่บางคันถึงเวลาต้องปลดระวาง จะมีทั้งการทำลายทิ้งโดยเครื่องบดอัดแล้วนำวัสดุมารีไซเคิล หรืออาจจะส่งมอบรถไฟขบวนนั้นให้ประเทศอื่นๆ เพื่อใช้งานต่อไป อย่างเช่นที่ส่งมอบ KiHa 183 ให้แก่ประเทศไทยนั่นเอง

 

 

เปิดโปรไฟล์ "รถไฟญี่ปุ่นมือสอง" KiHa 183 ที่ "รฟท." รับบริจาคมา

 

 

ที่มา การรถไฟแห่งประเทศไทย

 

 

 

 

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ