เด่นโซเชียล

"โสกเหลืองแม่เมย"พืชหายากชนิดใหม่ของโลก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

นักพฤกษศาสตร์ไทย ค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลก โสกเหลืองแม่เมย พบในพื้นที่ แม่ฮ่องสอน ต้นไม้สาระพัดประโยชน์ ฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำ เมล็ดทำเป็นอาหารได้

องค์การสวนพฤกษศาสตร์ เปิดเผยข้อมูล การค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลก โสกเหลือง หรือโสกเหลืองแม่เมย พืชสารพัดประโยชน์เหมาะสำหรับฟื้นฟูป่าต้นน้ำ 

"โสกเหลืองแม่เมย"พืชหายากชนิดใหม่ของโลก

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

​​นายวิทยา ปองอมรกุล นักพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน ขององค์การสวนพฤกษศาสตร์ และคณะ ได้ทำการศึกษาวิจัยภูมิปัญญาพื้นบ้าน และสำรวจการใช้ประโยชน์จากพืชของกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 ในการวิจัยในท้องที่ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน พบชาวบ้านชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ กำลังนำฝักอ่อนของพืชวงศ์ถั่ว ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับฝักของพืชสกุลโสกน้ำ โสกเหลือง หรือ ศรียะลา แต่ในขณะมาย่างไฟ เพื่อรับประทานเมล็ดภายในฝัก 

"โสกเหลืองแม่เมย"พืชหายากชนิดใหม่ของโลก

ทางคณะจึงได้สอบถามและทราบชื่อท้องถิ่นของพืชชนิดนี้ว่า "ตะนา"(ภาษากะเหรี่ยง) นอกจากการนำฝักมาย่างไฟแล้ว ยังสามารถนำเมล็ดมาต้มและนำไปตำเป็นส่วนประกอบของน้ำพริกรับประทานได้ นอกจากนี้ เปลือกต้นของพืชชนิดนี้ ยังใช้เป็นสีย้อมผ้า ให้สีแดง

"โสกเหลืองแม่เมย"พืชหายากชนิดใหม่ของโลก
​​ต่อมา คณะวิจัยซึ่งประกอบด้วย นายวิทยา ปองอมรกุล ดร.ประทีป ปัญญาดี นายนัทธี  เมืองเย็น นักพฤกษศาสตร์จากองค์การสวนพฤกษศาสตร์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อังคณา อินตา จากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ร่วมกันศึกษาและตรวจสอบลักษณะของพืชชนิดนี้อย่างละเอียด จึงพบว่าเป็น พืชชนิดใหม่ของโลก

"โสกเหลืองแม่เมย"พืชหายากชนิดใหม่ของโลก
 

โสกเหลืองแม่เมย หรือโสกเหลือง ได้รับการตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์ ว่า Saraca thailandica Pongamornkul,Panyadee & Inta มีความหมายว่า พืชแห่งประเทศไทย

โสกเหลืองพบกระจายตามธรรมชาติบริเวณริมน้ำ ตาม ป่าดิบแล้งและป่าดิบเขา ที่ความสูง 1,000–1,400 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ปัจจุบันพบเฉพาะในประเทศไทย ในท้องที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน และเชียงใหม่ แต่อาจมีการกระจายพันธุ์ในบริเวณชายแดนฝั่งประเทศเมียนมาร์ 

"โสกเหลืองแม่เมย"พืชหายากชนิดใหม่ของโลก

ซึ่งเป็นพืชที่เหมาะแก่การปลูกสำหรับฟื้นฟูสภาพป่าบริเวณต้นน้ำในพื้นที่สูงอีกชนิดหนึ่ง นอกจากจะได้ประโยชน์ในเรื่องของพื้นที่ป่าให้คงความอุดมสมบูรณ์แล้ว เมล็ดยังสามารถนำมาเป็นอาหารได้อีกด้วย ​​การค้นพบครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย ซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก เป็นการค้นพบที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาต่อยอดในการอนุรักษ์ ศึกษาวิจัย เพื่อการขยายผลสู่การนำไปใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในอนาคตอย่างมีคุณค่าและยั่งยืน

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ