เด่นโซเชียล

"โควิด-19" ล็อกดาวน์ประเทศ ปัจจัยเสี่ยง ภาวะซึมเศร้าพุ่ง 2 - 3เท่า จากปกติ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

โฆษกกรมสุขภาพจิต เผย การแพร่ระบาดของโควิด-19 มีผลต่อปัจจัยความเสี่ยงภาวะซึมเศร้า สูงถึง 10-12 % หรือมากกว่าปกติ 2 - 3 เท่า มาตรการล็อกดาวน์อีกหนึ่งปัจจัยทำให้เกิดความเครียดสูงขึ้น

ซึมเศร้า ยังคงเป็นอีกกลุ่มอาการ ที่สำคัญที่เกิดได้รอบตัวเรา โดยมีปัจจัยมาจากหลายสาเหตุ โดยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่าน มีเหตุเศร้า อันมีสาเหตุที่เกิดมาจากอาการซึมเศร้า เกิดขึ้นในระยะเวลาใกล้เคียงกัน สะท้อนให้เห็นถึงอันตราย จากโรคซึมเศร้า ที่แม้แต่บุคลากรทางการแพทย์ ยังต้องจบชีวิตลง โดยเฉพาะในภาวะปัจจุบัน ที่ทั่วโลกต้องเผชิญกับโรคระบาดร้ายแรง โควิด -19 อันเป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงที่อาจนำไปสู่ ภาวะซึมเศร้า

"โควิด-19" ล็อกดาวน์ประเทศ ปัจจัยเสี่ยง ภาวะซึมเศร้าพุ่ง 2 - 3เท่า จากปกติ

นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ โฆษกกรมสุขภาพจิต เปิดเผยกับทางทีมข่าวคมชัดลึกออนไลน์ว่า กรมสุขภาพจิตมีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงของโรคซึมเศร้า มาโดยตลอดโดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่พบว่า ปัจจัยเสี่ยงมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นและลดลง ตามสถานการณ์การแพร่ระบาด ทั้งนี้ตัวเลขที่กรมสุขภาพติดเก็บข้อมูลแบบReal time ในเรื่องของความเสี่ยงของโรคซึมเศร้า พบว่ามีตัวเลขอยู่ที่ 10-12 % ของประชากรไทย ที่มีความเสี่ยงมีภาวะซึมเศร้า ซึ่งสูงกว่าช่วงเวลาปกติ ที่มีตัวเลขอยู่ที่ 3-4 % หรือเพิ่มสูงขึ้น 2-3เท่า ในขณะที่ตัวเลขของผู้ที่ป่วยเป็น "โรคซึมเศร้า" จะอยู่ประมาณ 2-3 % ของประชากร 

"โควิด-19" ล็อกดาวน์ประเทศ ปัจจัยเสี่ยง ภาวะซึมเศร้าพุ่ง 2 - 3เท่า จากปกติ

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

น่าห่วง "ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด" สูงถึง16% โคม่าสุดเสี่ยง"ซึมเศร้า"ถาวร

หมอขอแจง ใช้ "ซิโนแวค" 18-59 ปีก่อนคน 60 ปี เป็นตามหลักวิชาการ-ความปลอดภัย

คุณหมอขอสอน วิธีใช้ "ATK" ให้มีประสิทธิภาพ

 

10-12 % ของประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงของโรคซึมเศร้า นับว่าเป็นตัวเลขที่สูงขึ้นซึ่งนั่นอาจหมายถึงจำนวนผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้า อาจจะมีตัวเลขที่สูงขึ้นตามไปด้วย 

สำหรับโรคซึมเศร้า มีความแตกต่างจากการป่วยโรคอื่นที่ความน่ากลัว ที่ไม่ได้น่าที่ตัวโรคน่าเกลียดน่ากลัว  แต่สิ่งที่น่ากลัวคือ ความไม่เข้าใจในโรค ทั้งตัวผู้ป่วยเองและคนรอบข้าง คิดว่าเป็นเรื่องปกติ จนปล่อยให้มีปลายทางที่เสี่ยงในการฆ่าตัวตายสูงขึ้น ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ผู้ป่วยซึมเศร้ามีโอกาสเสี่ยงในการ ฆ่าตัวตาย มากกว่าคนปกติ 10กว่าเท่าและในบางประเทศสูงถึง 20 เท่า 

แต่ในขณะเดียวกัน สาเหตุของการฆ่าตัวตายที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ส่วนใหญ่กลับไม่ได้มีสาเหตุมาจากโรคซึมเศร้า จากข้อมูลตัวเลขการฆ่าตัวตายทั้งหมด พบมีสาเหตุจากโรคซึมเศร้า 10-15 % จากการตรวจสอบพบว่า ในคนฆ่าตัวตาย 100 คน พบมีสาเหตุจากปัญหาการทะเลาะเบาะแว้ง การไม่เข้าใจกันในความสัมพันธ์ มากเกินกว่าครึ่ง ของจำนวนการฆ่าตัวตาย ดังนั้นโรคซึมเศร้า จึงไม่ใช่สาเหตุส่วนใหญ่ของการฆ่าตัวตาย อย่างที่หลายคนเข้าใจผิด 

"โควิด-19" ล็อกดาวน์ประเทศ ปัจจัยเสี่ยง ภาวะซึมเศร้าพุ่ง 2 - 3เท่า จากปกติ

โฆษกกรมสุขภาพจิต  กล่าวด้วยว่า หากมีความสงสัยเกี่ยวกับภาวะศึมเศร้า และต้องการที่จะเช็กสภาพจิตใจตัวเอง สามารถเข้าไปทำแบบประเมินเบื้องต้นได้ด้วยตนเองโดยการประเมินผ่านแอพพลิเคชั่น Mental Health Check In (MHCI) ของกรมสุขภาพจิต ซึ่งในช่วงแพร่ระบาดของโควิด -19นี้ พบว่ามีคนสนใจเข้ามาทำการประเมินเป็นจำนวนมาก 

 

สำหรับภาวะซึมเศร้าจะเกิดขึ้นในระยะเวลา หลักสัปดาห์ หรือหลักวันและในบางรายอาจเข้าสู่ภาวะซึมเศร้าเลยในทันที ทั้งนี้ต้องพบผู้เชี่ยวชาญหรือจิตแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยอย่างละเอียด 

 

สิ่งที่สังเกตุง่ายที่สุดในการเสี่ยงป่วยเป็นโรคซึมเศร้าคือ ฟังก์ชั่นต่างๆมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ประสิทธิภาพในการทำงานลดลงทำไม่ได้เหมือนปกติ ประสิทธิภาพด้านความสัมพันธ์ ไม่อยากเข้าสังคม และประสิทธิภาพในการดูแลตัวเองในเรื่องต่าง ๆ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดว่าเป็นโรคทางจิตเวชหรือไม่ 

 

นพ.วรตม์ กล่าวอีกว่า สำหรับความเสี่ยงของโรคซึมเศร้านี้ จะมีตัวเลขขึ้นลงตามสถานการณ์การระบาดของโควิด-19  ซึ่งครั้งนี้มีความหวังว่าจำนวนตัวเลขผู้ป่วยที่ลดลง จะช่วยให้ตัวเลขความเสี่ยงลดลงด้วย เนื่องจากมีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้ประชาชนเครียดลดลง เนื่องจากมาตรการล็อกดาวน์ มีผลอย่างมากในการนำไปสู่ความเครียด ซึ่งเป็นปัจจัยนำไปสู่ภาวะซึมเศร้า

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ