บันเทิง

น้องเมย์-สาวนักตบไทย สมาร์ท เลดี้'ตัวจริง'

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

น้องเมย์-สาวนักตบไทย สมาร์ท เลดี้'ตัวจริง' : คอลัมน์ Eat Play Life โดย... นันทขว้าง สิรสุนทร


    
          ท่ามกลางความคลางแคลงใจในตัวผู้นำบางประเทศ ว่าคนที่เข้ามาทำหน้าที่นี้มีความสามารถจริงแค่ไหน ดูเหมือนปี 2013 นี้ สาวไทย ผู้หญิงไทย จะสามารถพิสูจน์ตัวเองได้มากกว่าว่า พวกเธอนี่แหละคือ smart lady ตัวจริงไม่อิง “การตลาดสร้างภาพลักษณ์” (ที่ซ้อนการเมืองเข้าไปอีกที)
    
          ไม่ต้องบรรยายซ้ำหรือรีพีคอะไรอีกสำหรับเย็นวันเสาร์ที่ผ่านมา เมื่อสาวนักตบวอลเลย์บอลไทย โถมใส่ ยืนดวลกับญี่ปุ่นในนัดชิง และปรู๊ฟตัวเองว่าที่เคยชนะสาวยุ่นนัดก่อนหน้านั้นไม่กี่วัน ไม่ใช่เรื่องฟลุก ! เพราะสามารถทำได้อีกในระดับแต้มขาด 3-0 เซต
    
          ผมคิดว่าในแง่ของเทรนด์ที่จะตามมาก็คือ การตลาดของ sports marketing ที่จะเล่นกับมุมของเพศและกีฬา เพื่อ drive สังคมไทยไปข้างหน้า (ส่วนจะไปขับเคลื่อนเรื่องของ passion หรือ nationalistic นั่นก็แล้วแต่สินค้า)
    
          แชมป์ของวองเลย์บอลสาวไทย เกิดไล่กับน้องเมย์ แบดแชมป์โลกเมื่อสองเดือนที่แล้ว เมื่อนำมามองรวมกัน ทำให้เราเห็นว่าใน new generation นี้ สังคมไทยเรามี “ผู้หญิงเก่ง” ในแวดวงกีฬาหลายคน ที่ผมคิดว่าเราน่าจะมองไปอีกก็คือ แบดผู้หญิงที่มีหลายคนมีความสามารถ หรือนักกอล์ฟสาวไทยที่ต้องการเวลา
    
          เมื่อ “ผู้หญิงนักกีฬา” เคลื่อนตัวเข้าไปในเวทีโลก โดยมีผู้สนับสนุนใหญ่ๆ อย่าง สิงห์ฯ และ SCG รวมทั้งช้าง นั่นก็หมายความว่า สปริงที่ส่งพวกเธอไปต่อ น่าจะมีแรงอยู่มากมายทีเดียว เหมือนอย่างที่ “น้องเมย์” เคยลงปกและให้สัมภาษณ์กับ “247” ว่า หัวใจสำคัญของความสำเร็จ พูดตรงๆ ก็คือ ผู้สนับสนุนจริง (ซึ่งเธอก็ขอบคุณสิงห์เอาไว้ตรงนั้น)
    
          ท่ามกลางความน่าเบื่อของกลเกมการเมืองที่ไม่จบสิ้น “กีฬา” กลับกลายเป็น “รูกาน้ำ” ขนาดใหญ่ที่ช่วยปลดปล่อยความรู้สึกอุดอู้และพาคนไปสู่ความเบิกบานร่าเริงร่วมกัน มันยิ้มแย้มในโลกออนไลน์จนผมรู้สึกว่า กีฬานี่แหละที่ทำให้คนไทยรักกันได้อีกครั้งหนึ่ง และไม่แบ่งแยกตัวตน แม้ว่าจะต้องแบ่งข้างกันเชียร์
    
          ทว่า ท่ามกลางความรู้สึกเป็นสุขร่วมกันเมื่อเย็นวันหยุดที่ผ่านมา ห้วงหนึ่ง ผมก็กลับคิดไปถึงว่า ทั้งๆ ที่แบดไทย มวยไทย บอลโลก หรือวอลเล่ย์บอลสาวไทยที่เป็นแชมป์เอเชียได้ ไฉนหนังที่เกี่ยวกับวอลเลย์บอล หรือกีฬา กลับพากับอาการเจ๊งเกือบหมด
    
          จนเกือบจะเรียกได้ว่า หนังที่เกี่ยวกับกีฬาหรือวอลเลย์ฯ นั้น ไม่มีเรื่องใดที่ประสบความสำเร็จ ยกเว้น “สตรีเหล็ก” (หนำซ้ำ ในตัวหนังสตรีเหล็กเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้วนี้เอง ก็ไม่ได้พูดถึงวอลเลย์บอล เป็นประเด็นหลัก เพราะหนังเดินหน้าไปที่เรื่องตัวตนความขัดแย้ง หรือ gender มากกว่า sports)
    
          ถ้าจะวิเคราะห์ผิวเผิน ผมก็เชื่อว่า เพราะหนังเหล่านั้นไม่ได้ทำให้เกิดความเป็นดราม่าแบบที่คนดูชอบ หรือโดยจริตสังคมไทย ไม่ชอบอะไรที่เหมือนจริงเกินไปแบบหนังสารคดี (ซึ่งสารคดีนี่เองที่มักเป็นหนังกีฬาและคอนเสิร์ต)
    
          เหมือนดูบ็อบ ดิแล่นใน direction home ไม่เวิร์ค (ทั้งที่มันดีมากมาย) แต่ชอบแบบบวมเบ่ง คานธี หรือล่อกันใหญ่แบบ The Last Emperor ในปี 1987
    
          ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นก็เข้าใจได้ว่า เพราะสังคมทั่วไปชื่นชอบ หลงใหล หลงรักความเป็นดราม่า ทำให้การตลาดพวก dramatical marketing ขายได้ (จนโฆษณาไทยประกันและทรู ต้องใช้บริการ) แต่ดราม่าแบบวอลเลย์นัดชิง แบบในละครทีวี ผมพอรับได้ เพราะสาวไทยเป็นแชมป์กีฬามันคือเรื่องจริง คือสมาร์ท เลดี้ของจริง
    
          ผิดกับผู้หญิงบางคน นอกจากจะไม่ smart lady แล้ว ยังดู silly อีกด้วย

.......................................
(หมายเหตุ น้องเมย์-สาวนักตบไทย สมาร์ท เลดี้'ตัวจริง' : คอลัมน์  Eat Play Life โดย... นันทขว้าง สิรสุนทร)

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ