โควิด-19

สถานการณ์ "โควิด" จับตาอีก 2-4 สัปดาห์ มั่นใจเข้าสู่โรคประจำถิ่นได้ช่วงก.ค.

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สถานการณ์ "โควิด" ไทยหลังสงกรานต์ยังเอาอยู่ เฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง คลัสเตอร์ใหม่ต่อจากนี้ 2-4 สัปดาห์ ห่วงผู้ป่วยปอดอักเสบพุ่งสูง มั่นใจประกาศเป็นโรคประจำถิ่นได้ในเดือนก.ค.ตามเป้าหมายเดิม

นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวสถานการณ์ "โควิด" และแนวทางการปฏิบัติตัวหลังสงกรานต์  ว่า ภาพรวมการระบาดโควิดทั่วโลกวันนี้ตัวเลขผู้ติดเชื้อเริ่มลดลง เช่นที่เกาหลีใต้มีรายงานลดลงเหลือสัปดาห์ละ 1 ล้านคน และหลายประเทศเริ่มมีผู้ติดเชื้อลดลง แต่ยังพบมีผู้ป่วยอาการหนัก เสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น ส่วนสถานการณ์การระบาดในประเทศไทย มีข้อมูลการระบาดของโควิดมีผู้ติดเชื้อลดลง หลังจากที่พีคไปก่อนสงกรานต์ แต่ตัวเลขผู้เสียชีวิตกลับเพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยในวันนี้มีผู้ปอดอักเสบ 2,123 ราย ใส่ท่อช่วยหวยใจ 939 ราย หากเทียบกับช่วงเดลต้ามีผู้ป่วยหนักจำนวนมาก สำหรับอัตราการครองเตียง 30% มีเตียงเพียงพอรับผู้ป่วยอาการหนักได้ หากพื้นที่ใดมีผู้ป่วยหนักจะมีการเพิ่มศักยภาพเตียงเพื่อรองรับเข้าไปอีก  ส่วนตัวเลขผู้เสียชีวิตยังสูง ซึ่งสอดคล้องกับผู้ป่วยอาการหนักส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ มีโรคเรื้อรัง และมีการปอดอักเสบ  รวมทั้งยังเป็นผลมาจากผู้ป่วยอาการหนักที่เพิ่มขึ้นช่วงก่อนสงกรานต์ หากเปรียบเทียบอัตราการเสียชีวิตของประชากรพบว่าผู้ที่เสียชีวิตที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไปตายจากการติดเชื้อมากที่สุด โดยในช่วงปี 65 ตายจากโควิดประมาณ 171 ราย ต่อสัปดาห์ และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นการฉีดวัคซีนจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่จะช่วยลดอัตราการเสีนชีวิตของผู้สูงอายุ ส่วนผู้ติดเชื้อรายใหม่เริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่ตรวจแล้วเจอจำนวนมากจะอยุ่ในกลุ่มวัยแรงงาน ทั้งหมดเป็นไปตามที่สธ.คาดการณ์สถานการณ์เอาไว้  แต่จะต้องมีการเฝ้าระวังสถานการ์ไปอีก 2-4 สัปดาห์ ต่อจากนี้ 

นพ.จักรรัฐ กล่าวต่อว่า ด้านสถานการณ์ "โควิด" หลังสงกรานต์นั้นจะต้องมีการติดตามสถานการณ์ตัวเลขการติดเชื้อในลำดับถัดไป  แม้ว่าตัวเลขจะลดลงแต่ สธ.ยังคงระดับการเตือยภัยไว้ที่ระดับ 4 เช่นเดิม จนกว่าสถานการณ์การระบาดจะดีขึ้นกว่านี้  อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาพบว่ามีประชาชนกลุ่มเสี่ยง ผู้สูงอายุ เข้ารับวัคซีนเพิ่มมากขึ้นกว่าช่วงที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีการรณรงค์ฉีดวัคซีนเข้มกระตุ้นให้แก่ผู้สูงอายุด้วยตามโครงการของแต่รพ.สต.ดำเนินการในช่วงสงกรานต์  

ส่วนข้อปฏิบัติหลังสงกรานต์นั้น แนะนำให้ประชาชน  สังเกตุตัวเอง 7 วัน ในกรณีที่มีการเดินทางไปต่างจังหวัด ไปจุดรวมคน เปิดหน้ากากรับประทานอาการ หากระหว่างนั้นมีอาการป่วยให้ตรวจ ATK ทันที   เลี่ยงการพบปะผู้คนจำนวนมาก หากจำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา หากเป็นไปได้ไม่ควรทานข้าวร่วมกับคนอื่น หน่วยงานต่าง ๆ แนะนำให้ WFH 5-7 วัน ตามความเหมาะสม 
 

สถานการณ์ \"โควิด\" จับตาอีก 2-4 สัปดาห์ มั่นใจเข้าสู่โรคประจำถิ่นได้ช่วงก.ค.

นพ.จักรัฐ กล่าวต่อว่า จากกรณีที่หลายคนกังวลว่าหลังสงกรานต์จะมีจำนวนผู้ติดเชื้อ "โควิด" แตะแสนรายต่อวันหรือไม่นั้น ต้องชี้แจงว่าที่ผ่านมาประชาชน สถานบริการ มีการปฏิบัติตามมาตรการเว้นระยะห่าง และมาตรการป้องกันโควิดอย่างดี  โดยขณะนี้ยังพบคัสเตอร์ขนาดเล็กเท่านั้นยังไม่มีคลัสเตอร์ขนาดใหญ่เกิดขึ้น ขณะนี้ลักษณะการติดเชื้อยังไม่ถึงฉากทัศน์ที่มีการกำหนดเอาไว้ อย่างไรก็ตามเรื่องที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษต้องติดตามผู้สูงวัย กลุ่มโรคเรื้อรัง ที่มีการติดเชื้อ เสียชีวิตเพิ่มขึ้นหรือไม่ เพราะกลุ่มนี้อาจจะมีความเสี่ยงสูงขึ้นหลังจากสงกรานต์  รวมไปถึงการติดตาม ค่ายทหาร โรงเรียน สถานที่สอนพิเศษ แคมป์คนงาน โรงงาน ที่อาจจะต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ทั้งนี้สถานการณ์หลังสงกรานต์จะกระทบต่อการเข้าสู่โรคประจำถิ่นหรือไม่นั้นจะต้องดูตามอัตราผู้ติดเชื้อ ความรุนแรงของโรค และติดตามผู้ป่วยอาการหนัก หากเป็นไปตามแนวโน้มอาจะเข้าสุ้โรคประจำถิ่นได้ตามเป้าหมายเดิมคือช่วงเดือนกรกฎาคม 2565 

logoline