โควิด-19

"แอนติบอดี 87G7" ความหวังใหม่ วิจัยพบ สู้ "โอไมครอน" และโควิดทุกสายพันธุ์

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ความหวังใหม่ ดร.อนันต์ เผยผลวิจัยพบ "แอนติบอดี 87G7" ผ่านด่านหิน สู้ "โอไมครอน" BA.1 -BA.2 และโควิดทุกสายพันธุ์ ป้องกันการติดเชื้อได้ดีมาก

หลังจากที่ องค์การอนามัยโลก ระบุว่า โควิด-19 ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ "โอไมครอน" หรือ "โอมิครอน" พบ "สายพันธุ์ย่อย BA.2" แล้วใน 57 ประเทศส่วนประเทศไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ให้ข้อมูลว่า พบผู้ติดเชื้อ "โอไมครอน"  BA.2 ในไทยเริ่มเพิ่มขึ้น ข้อมูลเบื้องต้นพบว่า สามารถแพร่กระจายได้ไวกว่า BA.1 โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จะมีการเฝ้าระวัง "สายพันธุ์ย่อย BA.2" ด้วยการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัว เพื่อทดสอบความรุนแรง ความสามารถในการหลบภูมิคุ้มกันจากวัคซีน

 

 

ล่าสุด ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ไบโอเทค สวทช. ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana ระบุว่า เนื่องจากการกลายพันธุ์บนโปรตีนหนามสไปค์ของไวรัส "โอมิครอน" หรือ "โอไมครอน" ทั้ง BA.1 และ BA.2 แอนติบอดี ที่ไปแยกมาจากผู้ป่วยที่ติดไวรัสสายพันธุ์ก่อนหน้านี้มา จะมีแนวโน้มสูงมาก ที่จะไม่สามารถจับ และยับยั้งไวรัสกลุ่มนี้ได้ ล่าสุด มีผลการศึกษาว่า BA.2 มีแนวโน้มจะดื้อกับแอนติบอดีรักษาที่กำลังพัฒนาอยู่แทบทุกตัว สาเหตุคือการกลายพันธุ์ที่กระจัดกระจายบน ส่วนโปรตีนหนาม ที่ยากจะหาแอนติบอดีที่จะหนีส่วนกลายพันธุ์ตรงนั้นเข้าไปจับได้ แต่ร่างกายเราสร้างแอนติบอดีได้หลากหลายมาก และ ผลการศึกษา
จากการติดเชื้อจากธรรมชาติ หรือ จากการฉีดวัคซีน ทำให้เราเชื่อว่า ยังต้องมีแอนติบอดีเหล่านั้นที่จับโอมิครอนได้ผสม ๆ อยู่ในร่างกายของเรา เพียงแตว่า การหา และแยกแอนติบอดีเหล่านั้นออกมาจาก pool ที่มีแอนติบอดีอื่น ๆ อยู่มากมาย ทำได้ยากมาก และ ต้องอาศัยโชคช่วยจริง ๆ

 

 

 

\"แอนติบอดี 87G7\" ความหวังใหม่ วิจัยพบ สู้ \"โอไมครอน\" และโควิดทุกสายพันธุ์

ข่าวดีวันนี้คือ ความพยายามของนักวิจัยที่แข่งกันหาแอนติบอดี ที่สามารถจับและยับยั้งไวรัสโรคโควิดได้ทุกสายพันธุ์ เหมือนจะเป็นจริง โดยงานวิจัยล่าสุดของทีมวิจัยจากเนเธอแลนด์ (ซึ่งเป็นกลุ่มนักวิจัยด้านไวรัสโคโรนามายาวนานและเข้มแข็งมาก) พบว่า แอนติบอดีที่ทีมวิจัยไปแยกได้มา 1 โคลน ชื่อว่า 87G7 สามารถผ่านด่านหินของโอมิครอนทั้ง BA.1 และ BA.2 ไปจับโปรตีนหนามสไปค์ และยับยั้งการเข้าสู่เซลล์ของไวรัสได้ ผลการทดลองใช้แอนติบอดีตัวนี้ในสัตว์ทดลองที่รับเชื้อไวรัสพบว่า สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ดีมาก

 

 

\"แอนติบอดี 87G7\" ความหวังใหม่ วิจัยพบ สู้ \"โอไมครอน\" และโควิดทุกสายพันธุ์
 

ทีมวิจัยทำการศึกษาเชิงลึกพบว่า แอนติบอดี 87G7 นี้ ไปจับโปรตีนหนามสไปค์ตรงจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่ใช้เข้าเซลล์ ( เรียกว่า RBD) ที่กรดอะมิโน 6 ตำแหน่ง (สีเขียวในภาพ) ที่เป็นตำแหน่งที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในไวรัสทุกสายพันธุ์ในตอนนี้ ซึ่งกลุ่มโอมิครอนที่พบเปลี่ยนแปลงจะเป็นส่วนสีแดง จะไม่ได้ตรงกับที่ 87G7 เข้าไปจับ ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่า ตำแหน่งกรดอะมิโนที่เป็นสีเขียวนี้ จะเปลี่ยนได้ยากเพราะถ้าเปลี่ยนจะทำให้หน้าที่ของโปรตีนหนามสไปค์ทำงานไม่ได้ หรือไม่ดี ไวรัสจึงจำเป็นต้องเก็บ
ตำแหน่งนี้ไว้โดยไม่เปลี่ยนแปลง ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ๆ 87G7 ก็จะเป็นแอนติบอดีที่จะสามารถยับยั้งไวรัสได้ทุกสายพันธุ์ ถ้าไวรัสไม่กลายพันธุ์เพิ่มในกรดอะมิโน 6 ตำแหน่งนี้

 

ดร.อนันต์ ระบุทิ้งท้ายว่า งานวิจัยที่แข่งกันตอนนี้น่าทึ่งมากครับ และ เชื่อว่า 87G7 คงจะไม่ใช่แค่โคลนเดียวที่เราจะหาเจอ ต่อไปคงมีตามมาอีกครับ

 

 

\"แอนติบอดี 87G7\" ความหวังใหม่ วิจัยพบ สู้ \"โอไมครอน\" และโควิดทุกสายพันธุ์

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ