โควิด-19

"โอไมครอน" ศูนย์จีโนมฯเผยปัจจัยก่อโรครุนแรงน้อย พบเชื้ออ่อนฤทธิ์ในตัวเอง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"โอไมครอน" ศูนย์จีโนมฯ เผย 3 ปัจจัยนก่อโรครุนแรงน้อยกว่าเดลตา เพราะเชื้ออ่อนแรงด้วยตัวเอง พบอัตราทำคนเสียชีวิตน้อยกว่า 8 เท่า ระยะนอนโรงพยาบาลสั้นลง

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ Center for Medical Genomics โพสต์ข้อความถึง แนวโน้มสถานการณร์การระบาดของ "โอไมครอน" และปัจจัยที่ทำให้การก่อโรคมีความรุนแรงน้อย โดยระบุว่า 

 

ปัจจัยภายใน (intrinsic factor) ของ"โอไมครอน" ที่ส่งผลให้มีการก่อโรครุนแรงน้อยกว่า “เดลตา”  (milder severity)  

 

มีโครงการวิจัยขนาดใหญ่ที่น่าสนใจมากของทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย – เบิร์กลีย์ ซึ่งได้รับทุนวิจัยจาก ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา (US Centers for Disease Control and Prevention) ได้ทำการศึกษาในกลุ่มประชาชนจำนวน "7 หมื่น" คนที่เข้ามารับการตรวจการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จากหลายโรงพยาบาลของรัฐแคลิฟอร์เนีย ในช่วงที่มีการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์ "เดลตา" และ "โอไมครอน" พร้อมกัน (Twindemic) ระหว่าง 30 พ.ย. 2564- 1ม.ค. 2565 เป็นการศึกษาช่วงเวลาเดียวกัน ในรัฐเดียวกันที่มี "clinical setting" เหมือนกัน ทั้งในกลุ่มผู้ที่ได้รับวัคซีน และผู้ที่มิได้ฉีดวัคซีน

(https://www.medrxiv.org/content/10.1101/2022.01.11.22269045v1)

พบว่า 

 

1. "โอมิครอน" มีความรุนแรงในการก่อโรคน้อยกว่า "เดลตา" อย่างมีนัยสำคัญ ไม่ว่าผู้ติดเชื้อรายนั้นจะมีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติหรือภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีนมาก่อนหรือไม่ก็ตาม โดยผู้ติดเชื้อเดลตาที่ไม่ได้รับวัคซีนจะมีอัตราการเข้ารักษาตัวใน รพ. 1.07 ต่อ 1,000 คน  ในขณะที่ผู้ติดเชื้อโอมิครอนที่ไม่ได้รับวัคซีนจะมีอัตราการเข้ารักษาตัวใน รพ. 0.57 ต่อ 1,000 คน  

 

2. ผู้ติดเชื้อเดลตามีอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 0.08  (14/16,982) ในขณะที่ผู้ติดเชื้อ"โอไมครอน" มีอัตราการเสียชีวิตร้อยละ  0.01 (1/52,967) หรือต่างกัน 8 เท่า 

 

3. ระยะเวลาพักรักษาตัวใน รพ. ของผู้ติดเชื้อ “โอมิครอน” จะสั้นกว่า เดลตา 3.2 วัน

"โอไมครอน" ศูนย์จีโนมฯเผยปัจจัยก่อโรครุนแรงน้อย พบเชื้ออ่อนฤทธิ์ในตัวเอง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ