ข่าว

พม.จับมือเครือข่าย แสดงพลังยุติความรุนแรง ที่สุพรรณบุรี

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

พม. จับมือเครือข่ายทั่วประเทศ รวมแสดงพลังที่ สุพรรณบุรี รณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว ประจำปี 2566

เมื่อวันที่25 พ.ย.ที่ผ่านมา นายวราวุธ  ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานเปิดงานกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว ประจำปี 2566 ภายใต้แนวคิด “รวมพลังหยุดความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว” (Unite for the Prevention of Violence against Women and Children)

พม.จับมือเครือข่าย แสดงพลังยุติความรุนแรง ที่สุพรรณบุรี

โดยมีนายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) กล่าวรายงาน และนายณัฐภัทร สุวรรณประทีป ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี กล่าวต้อนรับ อีกทั้ง นายธนสุนทร สว่างสาลี รองปลัดกระทรวง พม. นางสุดา สุหลง รองอธิบดี รักษาราชการแทนอธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว พร้อมคณะผู้บริหารกระทรวง พม. ศิลปิน ดารา ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชน นักเรียน นักศึกษา เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และประชาชนทั่วไปในพื้นที่ รวมจำนวนกว่า 1,000 คน เข้าร่วมกิจกรรม ณ สวนเฉลิมภัทรราชินี (หอคอยบรรหาร-แจ่มใส) จังหวัดสุพรรณบุรี

พม.จับมือเครือข่าย แสดงพลังยุติความรุนแรง ที่สุพรรณบุรี
นายวราวุธ กล่าวว่า องค์การสหประชาชาติ ประกาศให้วันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปีเป็นวันรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรี  และประเทศไทย  คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2542 กำหนดให้เดือนพฤศจิกายนของทุกปีเป็น “เดือนรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี”

ซึ่งหลายภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชนในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค  ร่วมกันจัดกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรง ต่อเด็ก สตรี และความรุนแรงในครอบครัวเป็นประจำทุกปี โดยกระทรวง พม. เป็นหน่วยงานภาครัฐที่มีเจตจำนงค์ประสานการขับเคลื่อนยุติความรุนแรงในทุกรูปแบบ วันนี้ กระทรวง พม. ได้จัดกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว ประจำปี 2566 ภายใต้แนวคิดรวมพลังหยุดความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว (Unite for the Prevention of Violence Against Women and Children) ณ จังหวัดสุพรรณบุรี

พม.จับมือเครือข่าย แสดงพลังยุติความรุนแรง ที่สุพรรณบุรี

เพื่อให้คนในสังคมตระหนักรู้ถึงสาเหตุ ปัจจัย และแนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว รวมถึงการสร้างเจตคติ ค่านิยม และปลูกฝังมายาคติที่ถูกต้อง  อีกทั้งการส่งเสริมบทบาทในการเข้ามามีส่วนร่วมในความรับผิดชอบและเป็นพลังในการยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว 

พม.จับมือเครือข่าย แสดงพลังยุติความรุนแรง ที่สุพรรณบุรี
นายวราวุธ กล่าวต่อไปว่า งานวันนี้ ตนได้นำคณะผู้บริหารกระทรวง พม. ศิลปิน ดารา นักแสดง อาทิ คุณหลุยส์ เฮสดาร์ซัน คุณแชป - วรากร ศวัสกร คุณไอซ์ อธิชนัน ศรีเสวก ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชน นักเรียน นักศึกษา เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และประชาชนทั่วไปในจังหวัดสุพรรณบุรี ร่วมเดินรณรงค์เชิงสัญลักษณ์เพื่อรวมพลังยุติความรุนแรงในสังคมทุกรูปแบบ 

จากโรงเรียนสุพรรณภูมิ ไปถึงสวนเฉลิมภัทรราชินี (หอคอยบรรหาร-แจ่มใส) อีกทั้งมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ และใบประกาศนียบัตรแก่บุคลากร หน่วยงานที่ร่วมสนับสนุนและส่งเสริมการยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ และเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคม นอกจากนี้ ในส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดทุกจังหวัดมีการจัดกิจกรรมการเดินรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัวโดยพร้อมเพรียงกัน

พม.จับมือเครือข่าย แสดงพลังยุติความรุนแรง ที่สุพรรณบุรี

นายวราวุธ กล่าวเพิ่มเติมว่า อย่างไรก็ตาม ปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว เป็นปัญหาสำคัญของสังคมไทย ซึ่งนับวันยิ่งจะพบเห็นความรุนแรงผ่านทางสื่อต่าง ๆ มากขึ้น จากข้อมูลจากระบบฐานข้อมูลความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และความรุนแรงในครอบครัว www.violence.in.th ของกระทรวง พม. พบว่า ข้อมูลในปี 2566 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 มีเหตุการณ์ความรุนแรงในครอบครัว มีจำนวนทั้งสิ้น 1,368 เหตุการณ์ ซึ่งเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นมากที่สุด คือ การทำร้ายร่างกาย จำนวน 1,068 เหตุการณ์ รองลงมา คือ ดุด่า ดูถูก จำนวน 352 เหตุการณ์  และหยาบคาย ตะคอก ประจาน ขู่ บังคับ จำนวน 314 เหตุการณ์ โดยผู้หญิงเป็นผู้ถูกกระทำมากที่สุด จำนวน 970 ราย ของผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงทั้งหมด 

พม.จับมือเครือข่าย แสดงพลังยุติความรุนแรง ที่สุพรรณบุรี
ทั้งนี้ กระทรวง พม. ได้ให้ความสำคัญกับประเด็นปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว โดยได้ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงหลายมิติ ดังเช่นการจัดงานวันนี้ ย่อมแสดงให้เห็นว่าทุกภาคส่วนให้ความสำคัญกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในสังคม เพื่อร่วมกันผนึกกำลังในการยุติความรุนแรงทุกรูปแบบ ซึ่งหากพบเห็นปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก สตรีและบุคคลในครอบครัว สามารถแจ้งได้ที่สายด่วน พม. โทร. 1300 บริการฟรีตลอด 24 ชั่วโมง หรือแอปพลิเคชั่นไลน์ Esshelpme อย่างไรก็ตาม ขอให้ทุกคนในสังคมได้ตระหนัก ช่วยกันเฝ้าระวัง ดูแล และช่วยเหลือ เมื่อพบการกระทำความรุนแรงไม่ว่าจะเกิดกับใครก็ตาม เพื่อให้สังคมมีความสงบสุข เข้มแข็ง และยั่งยืนตลอดไป

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ