คอลัมนิสต์

ผู้มีบารมีนอกพรรค ทำ ปชป.-พปชร.ป่วน !  

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

คอลัมน์...  กวาดบ้านกวาดเมือง   โดย...  ลมใต้ปีก

                                 

 


          ความอลหม่านในการจัดตั้งรัฐบาล จนนำไปสู่การเล่นเกมแรกของการประชุมสภาปริ่มน้ำนัดแรก ต่อศึกชิงประธานสภาผู้แทนราษฎร แม้ท้ายสุดจะลงเอยด้วย ชวน หลีกภัย แต่เป็นการลงเลยโดยมีร่องรอยแห่งความขัดแย้งทั้งในพรรคประชาธิปัตย์และพลังประชารัฐ      

 

 

          ความไม่ลงตัวในช่วงก่อนและระหว่างการประชุมมาจาก การแทรกแซงของ “ผู้มีบารมีนอกพรรค” ของทั้งพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคพลังประชารัฐ โดยเฉพาะเรื่องการจัดแบ่งกระทรวงให้แต่ละพรรคที่กระทบต่อ “ความต้องการ”ของคนในพรรคและนอกพรรค                                        


          เริ่มต้นด้วย เมื่อมี “ผู้มีบารมีนอกพรรค”พลังประชารัฐ อาชา เข้ามาจัดแบ่งกระทรวงให้ ประชาธิปัตย์และภูมิใจไทย เมื่อคืนวันที่ 23 พฤษภาคม ที่ผ่านมา หลังจากที่ พรรคประชาธิปัตย์ และภูมิใจไทย ตั้งเงื่อนไขร่วมรัฐบาล “แย่งของรักของหวง” ของผู้มีบารมีสีเขียว คือ กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงคมนาคม ที่ “ผู้มีบารมีสีเขียว” ไม่ยอมให้โควต้านี้ไปตกไปอยู่ในมือ “นักการเมือง” แม้จะเป็นภายในพรรรพลังประชารัฐเองก็ตาม จึงไม่ต้องพูดถึงว่าจะยอมให้พรรคร่วมรัฐบาลอื่น            

                

          โผการแบ่งเค้กจึงถูกจัดสรรใหม่ โดยให้กระทรวง พาณิชย์-พลังงาน -ศึกษา-พัฒานาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ แก่ประชาธิปัตย์ และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์-สาธารณสุข-ท่องเที่ยวและกีฬาแก่ภูมิใจไทย ซึ่งเหมือนจะลงตัว แต่ทันทีที่คนในพลังประชารัฐรับรู้ว่ามีการแบ่งเค้กเช่นนี้และกระทบกับ “ความฝัน”นักเลือกตั้งในพรรคที่หมายมั่นจะจองเก้าอี้เสนาบดีใหญ่ จึงเกิดอาการ  “รวน” ขนานใหญ่ที่ใช้อิทธิพลนอกพรรคปั่นป่วนพรรคจนต้อง “ล้ม”การเจรจานั้นไป                                 

                                                

          เก้าอี้รัฐมนตรีพลังงาน กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของการเจรจา เพราะกลายเป็นเก้าอี้จ่องหมายปองของณัฐพล ทีปสุวรรณ ขุนพล กปปส. ที่มาเป็นหมายเลข1 ปาร์ตี้ลิสต์พลังประชารัฐ ซึ่งเกิดกำลังภายในนอกพรรคที่จะ “ล็อก”เก้าอี้นี้ให้ ณัฐพล ทีปสุวรรณ จึงไม่ยอมให้เป็นโควต้าของประชาธิปัตย์  


          ผู้มีบารมี “ส”จึงใช้เส้นสายในทั้งประชาธิปัตย์ และพลังประชารัฐก่อหวอดจนต้องล้ม “ดีล” จึงเป็นที่มาที่พรรคประชาธิปัตย์ ไม่ยอมมีมติเข้าร่วมหรือไม่เข้าร่วมรัฐบาลในการประชุมวันที่ 23 และ 24 พฤษภาคม เพราะความไม่ชัดเจนของการ “แบ่งกระทรวง” และเป็นต้นเหตุต่อ “ความขัดแย้ง”การเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎรที่ประชาธิปัตย์ เข็น ชวน หลีกภัย ลงสู้สุชาติ ตันเจริญ จากพลังประชารัฐ ก่อนจะตกลงกันวินาทีสุดท้ายหลีกทางให้ ชวน หลีกภัย ไม่งั้นแพ้ สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ จากฝั่งเพื่อไทย ที่จะหนักหนากว่า                  


          ปรากฎการณ์ “ผู้มีบารมีนอกพรรค”แทรกพรรคการเมือง สอดคล้องกับที่ชวน หลีกภัย ระบุว่า มี “คนนอกพรรค”แทรกแซงการเลือกหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่เป็นการสู้ระหว่าง จุรินทร์ ลักษณะวิศิษฐ์ กับพีระพันธุ์  สาลีรัฐวิภาค มาแล้ว                             


          นั่นย่อมแสดงให้เห็นว่า การเมืองไทยที่วุ่นวายอยู่ทั้งการเลือกหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และการตั้งรัฐบาล มาจาก  “ผู้มีบารมีนอกพรรค” ทั้งประชาธิปัตย์และพลังประชารัฐ  และเอาเข้าจริงอีกฝากหนึ่งคือขั้วเพื่อไทยก็วุ่นวาย เพราะการ “บงการ”ของผู้มีบารมี “แดนไกล” ที่บงการ หลายพรรคจน ดำรงความเป็น “ขั่ว”ขัดแย้งทางการเมืองอยู่


          อนิจาการเมืองไทยสุดท้าย ...วุ่นวายเพราะ “จอมบงการ”                        

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ