คอลัมนิสต์

ย้อนความจำ 2 สำนักโพลล์ในตำนาน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

จริงอยู่ที่ไม่มองข้ามว่าผลสำรวจจากโพลล์ไม่มีคุณค่าอะไรเลย เพราะไม่เช่นนั้นกระบวนการทางวิชาการนี้จะไม่อยู่คู่โลกเรามาจนทุกวันนี้

         

 

          เพราะโพลล์มีประโยชน์ในฐานะที่สำรวจมาจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งถ้ามีกระบวนการเลือกตัวอย่างที่เป็นตัวแทนที่ดีของประชากรเป้าหมาย และมีการควบคุมคุณภาพการสำรวจอย่างดี ผลสำรวจก็จะเป็นประโยชน์และมีคุณค่าไม่น้อย

 


          แต่ประเด็นมันก็อยู่ตรงนี้! โดยเฉพาะหากโฟกัสที่โพลล์การเมืองของบ้านเรา ดังจะเห็นว่าทุกครั้งที่มีผลโพลล์การเมืองออกมา ไปดูได้เลยในโลกโซเชียลจะต้องมีการตั้งคำถามด้วยประโยคสุดฮิตว่า “ไปสำรวจมาจากที่ไหน!?”


          หากจำกันได้ครั้งหนึ่งสองสำนักโพลล์ผู้ยิ่งใหญ่เคยเจอข้อกังขาจากประชาชนคนไทยแบบนี้!


          กับการทำ “เอ็กซิทโพล” ช่วงปี 2556 ในการเลือกตั้งผู้ว่ากทม. อีกหนึ่งเวทีการเมืองท้องถิ่น ที่สะท้อนความยิ่งใหญ่ของสองพรรค

 

          หากจำกันได้วันนั้นในช่วงหลังปิดหีบการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 3 มีนาคม 2556 โพลล์หลายสำนักได้พากันทยอยเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.


          โดยครั้งนั้นเกิดเรื่องฮือฮาและวิพากษ์วิจารณ์เอ็กซิทโพลของ 2 สำนักว่าขาดความน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะโลกออนไลน์ที่แสดงออกอย่างร้อนแรง


          จริงอยู่ที่ผลการสำรวจนี้ออกมาจากสำนักโพลล์หลายแห่งในทางเดียวกันที่ระบุว่า พล.ต.อ.พงศพัศ จะชนะ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ในการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.


          แต่ที่เป็นสำนักโพลล์ชั้นนำถึง 2 ค่ายที่ไม่น่าพลาด คือ “สวนดุสิตโพล” ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และ “เอแบคโพลล์” ของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ต่างก็ระบุว่าคะแนนนิยมของผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.นั้น อันดับ 1 เป็นของ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ตามมาด้วย ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร  


          แต่เอาเข้าจริงๆ ผลการเลือกตั้งออกมาสวนทางกันอย่างสิ้นเชิง!! จนคนไทยพากันแซวว่า “คนกทม.หลอกโพลล์” ทั้งๆ ที่ต้องมีบางอย่างที่ไม่ปกติ


          อย่างไรก็ดี แม้ว่าผู้รับผิดชอบสำนักโพลล์ดังกล่าวจะออกมาระบุว่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องทางเทคนิค แต่ครั้งนั้นได้ทำให้คนไทยตระหนักว่า บางทีโพลล์บางสำนักก็อาจเป็นเครื่องมือของการเมืองบางกลุ่มบางคน?


          ซึ่งนี่คือตัวอย่างและบทเรียนที่ว่าผลการสำรวจก็ไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของคำถามเสมอไป!

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ