คอลัมนิสต์

เลื่อนเลือกตั้ง (อีกครั้ง) !! ด้วย "อภินิหารกฎหมาย" 

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

แนวคิดขยายเวลาบังคับใช้กฎหมายเลือกตั้งออกไป ไม่น่าใช่เรื่อง ที่จู่ๆ ทาง สนช.คิดเอง  แต่น่าจะเป็น “หมากเกม” ที่วางเอาไว้ก่อนออกคำสั่ง ม.44 เมื่อปลายปี

 

                ทันทีที่แนวคิดขยายวันบังคับใช้กฎหมายเลือกตั้งปรากฏออกมา ก็เหมือน คสช. เผยไต๋ “ยืดโรดแม็พเลือกตั้ง” ออกมาอีกครั้ง  

                ตามปกติในการเขียนกฎหมาย จะมีการกำหนดไว้ว่าให้กฎหมายฉบับนั้นมีผลบังคับเมื่อใด ซึ่งปกติจะมี 2 แบบใหญ่ๆ คือ 1.ให้มีผลในวันที่ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาหรือวันถัดไป  และ 2.กำหนดระยะเวลาหลังประกาศลงราชกิจจานุเบกษาไปแล้ว เช่น ภายใน 30 วัน 90 วัน 180 วัน หรือ ภายใน 1 ปี เป็นต้น ซึ่งเหตุผลที่ต้องทอดระยะเวลาในการบังคับใช้กฎหมายออกไป คือ เพื่อการเตรียมการต่างๆของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  

 

การบังคับใช้กฎหมายเลือกตั้งที่ผ่านมาเป็นอย่างไร?

                ตอนนี้ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.. เรียกสั้นๆว่า กฎหมายเลือกตั้ง ส.. อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมาธิการของ สนช. (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) ต้องบอกว่า “ปกติ” ที่ผ่านมา นับตั้งแต่มีการ “ปฏิรูปการเมือง” คือตั้งแต่มีรัฐธรรมนูญประชาชน ปี 2540 “กฎหมายเลือกตั้ง ส..” ซึ่งเมื่อก่อนจะรวมเรื่อง ส..อยู่ด้วย คือ กฎหมายเลือกตั้ง ส.. และ ส.. หรือต่อมาก็เป็น กฎหมายเลือกตั้ง ส.. และการได้มาซึ่ง ส.จะกำหนดให้บังคับใช้ “ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา”  

                ซึ่งก็เหมือนกับกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญฉบับอื่น

                และยิ่งถ้าย้อนกลับไปดูที่บทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับ จะกำหนดระยะเวลาในการจัดทำกฎหมายลูกไว้ด้วยซ้ำว่าให้ให้เสร็จภายในกี่วัน

                ถามว่าทำไมต้องกำหนดระยะเวลาไว้?

                ก็เพราะตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ต้องการให้จัดการทำกฎหมายลูกให้เสร็จโดยเร็ว “ไม่มีการบิดพริ้ว” โดยเฉพาะกฎหมายลูกที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง 

                เพราะถ้ากฎหมายลูกไม่เสร็จก็ไปเลือกตั้งไม่ได้

                และทุกครั้งที่มีรัฐธรรมนูญใหม่ จะมีการเรียกร้องให้มีการ “คืนอำนาจให้ประชาชน” เพื่อให้มีการเลือกตั้งและเดินหน้าตามกติกาใหม่ของประเทศ

                สำหรับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ในบทเฉพาะกาลก็กำหนดเรื่องนี้ไว้เช่นกัน ในมาตรา 267 และยังมีถ้อยคำที่แสดงให้เห็นว่าต้องการให้มีการดำเนินการ “ให้เกิดประสิทธิภาพและรวดเร็ว” ด้วย

                นอกจากจะกำหนดระยะเวลาในการทำกฎหมายลูก ยังมีการกำหนดด้วยว่าต้องเลือกตั้งภายในกี่วัน หลังกฎหมายลูกมีผลบังคับใช้

                ถ้าย้อนความกันนิดนึงก็ต้องบอกว่า ในขั้นตอนที่กำหนดให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ทำกฎหมายลูก 10 ฉบับ ให้เสร็จภายใน 240 วันนั้น มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อออกมาทันทีว่า คสช.เจตนาที่จะยื้อการเลือกตั้งออกไปให้ยาวที่สุดหรือไม่

                เพราะนอกจากให้เวลา กรธชุด “มีชัย ฤชุพันธุ์” ถึง 240 วันแล้ว รัฐธรรมนูญนี้ยังกำหนดให้จัดการเลือกตั้ง ส..ครั้งแรกภายใน 150 วันหลังกฎหมายลูกเกี่ยวกับการเลือกตั้งบังคับใช้ ซึ่งถือว่ามากกว่าปกติที่ผ่านมา ที่มักจะให้เลือกตั้งภายใน 90 วัน

                แต่ฝ่าย คสช. และ “มีชัย” ก็ออกมายืนยันว่าจะรีบทำกฎหมาย 4 ฉบับที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งให้เสร็จก่อนเวลา ตอนนั้นมีการพูดถึงประมาณสัก 4 เดือนด้วยซ้ำ แต่เอาเข้าจริง ปรากฏว่ากฎหมายเลือกตั้ง ส.. เป็นกฎหมายลูก “ฉบับสุดท้าย” ที่ กรธ.ทำเสร็จ อีกไม่กี่วันก็ครบ 240 วัน 

  

ขยายเวลาบังคับใช้ ขยายเวลาเลือกตั้ง?

                ตามร่างของ กรธ.กำหนดให้กฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ล่าสุดมีการเสนอแก้ไขให้มีผลบังคับใช้ 90 วันหลังประกาศลงราชกิจจานุเบกษา ซึ่งเมื่อวันศุกร์ (19 ม.ค.)กรรมาธิการมีมติให้มีแก้ไขแล้ว แต่ถึงที่สุดต้องรอดูผลจากการตัดสินของที่ประชุม สนช. ที่จะมีการประชุมกันในสัปดาห์หน้า คือ วันที่ 25 มกราคม นี้ (อ่านต่อ...ไม่มีใบสั่ง?? กมธ. แก้วันบังคับใช้ กม. เลือกตั้ง 90 วัน)

                หากถึงที่สุด มีการกำหนดแก้ไขให้กฎหมายเลือกตั้ง ส..ให้มีผลบังคับใช้ 90 วันหลังประกาศลงราชกิจจานุเบกษาจริงๆ ผลที่เกิดขึ้น คือ จะทำให้โรดแม็พการเลือกตั้ง “สามารถ” ขยับออกไปได้อีก 3 เดือน

                จับสัญญาณจาก “วิษณุ เครืองาม” รองนายกฯ มือกฎหมายของรัฐบาล คสช. ซึ่งมีรายงานข่าวว่า คือ ผู้ที่ทำให้สังคมได้เห็น “อภินิหารของกฎหมาย” เช่นที่เขาเคยพูดไว้ อีกครั้ง

                วิษณุ” ปฏิเสธ ว่าไม่ทราบเรื่อง แต่ก็บอกว่า หากจะมีการแก้ไขก็ต้องชี้แจงเหตุผล 

                นอกจากนี้ “มือกฎหมายรัฐบาล” ก็บอกทำนองว่า ถ้าจะแก้ไขก็สามารถทำได้ เพราะไม่ได้มีข้อกำหนดว่าเมื่อออกกฎหมายไปแล้วจะต้องให้มีผลบังคับใช้ในวันรุ่งขึ้นเท่านั้น 

                "กฎหมายบางฉบับให้ใช้หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปแล้ว 30 ,60 ,90 หรือ 120 วันก็ได้ โดยจุดประสงค์ที่รอเวลาให้มีผลใช้บังคับนั้น เพื่อให้คลี่คลายปัญหาที่ไม่คาดคิดมาก่อนว่าจะเกิดขึ้น อาทิ การออกกฎหมายลูก การจัดตั้งหน่วยงาน การเตรียมอัตรากำลังคน หรือเพื่อคลี่คลายข้อติดขัดที่ทำให้สะดุด” วิษณุ อธิบาย

  

เบื้องหลังข้อเสนอขยายเวลา (กฎหมาย) เลือกตั้ง?

                ข้อมูลจากฝ่ายรัฐบาลบอกว่า แนวคิดขยายการบังคับใช้กฎหมายออกไป 90 วันนี้ เพื่อไว้บริหารจัดการเลือกตั้ง เพราะรัฐบาลเกรงว่า อาจจะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นก่อนเดือนพฤศจิกายน

                ต้องอธิบายก่อนว่า การที่ พล..ประยุทธ์ เคยประกาศว่าจะมีการเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายน นั้น เป็นไปตามกรอบระยะเวลาในการทำกฎหมายลูกแบบที่ใช้เวลา “นานที่สุดในทุกขั้นตอน" แต่หากมีขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งไม่ได้ใช้เวลานานที่สุด วันเลือกตั้งก็ต้องขยับเข้ามาเร็วขึ้น 

                ซึ่งรัฐบาลไม่ต้องการ เพราะ ในแง่ของการบริหารราชการแผ่นดิน ช่วงนั้นจะมีเรื่องการจัดทำงบประมาณและการโยกย้ายข้าราชการ หากเลือกตั้งก่อนพฤศจิกายน ย่อมไม่เป็นผลดีกับรัฐบาล

                อย่างไรก็ตาม อีกด้านหนึ่ง มีข้อมูลว่า “สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” รองนายกฯด้านเศรษฐกิจ ต้องการให้ขยับการเลือกตั้งออกไปต้นปีหน้า เพราะจะสามารถนำ “ตัวเลข” ผลงานทางด้านเศรษฐกิจมาใช้ในการหาเสียงได้  

  

กลไกซ่อนเงื่อน?

                หากย้อนกลับไปดูคำสั่งตาม ม.44 เพื่อแก้ไขกฎหมายพรรคการเมืองของ “บิ๊กตู่” ที่ออกมาเมื่อ 22 ธันวาคม ที่ผ่านมาอย่างละเอียด จะเห็น “ปมหนึ่ง” ซ่อนอยู่ในคำสั่งนั้น คือคำสั่ง ข้อ

                สรุปใจความคำสั่งข้อ 8 คือ หลังจากกฎหมายเลือกตั้ง ส..ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้มีการดำเนินการ 2 อย่าง คือ 1.ครม.เสนอ คสช.ให้ยกเลิกคำสั่งหรือประกาศ คสช.ที่เป็นอุปสรรค ต่อการดำเนินการของพรรคการเมือง และ 2.ให้จัดทำแผนและขั้นตอนการดำเนินการทางการเมืองเพื่อไปสู่การเลือกตั้ง โดยเปิดทางดึงพรรคการเมือง และกลุ่มการเมือง มาร่วมด้วย

                เพราะฉะนั้น นี่คือสิ่งที่จะเกิดขึ้นในช่วง 90 วันที่รอกฎหมายเลือกตั้งบังคับใช้

                โยง 2 เรื่องเข้าด้วยกัน จะเห็นได้ชัดว่า แนวคิดขยายเวลาบังคับใช้กฎหมายเลือกตั้งออกไป 90 วัน จึงไม่ใช่เรื่องใหม่ ที่จู่ๆ ทาง สนช.คิดขึ้นเอง

                แต่น่าจะเป็น “หมากเกม” ที่วางเอาไว้ตั้งแต่ก่อนที่ “บิ๊กตู่” จะเซ็นคำสั่งตามมาตรา 44

                คงไม่ต้องถามว่า "บิ๊กตู่" จะรู้ด้วยหรือไม่

  

อภินิหารกฎหมาย” ยังไม่จบแค่นี้?

                อย่างไรก็ตาม การใช้กลไกข้อกฎหมายที่ส่งผลให้ “โรดแม็พเลือกตั้ง” ต้องขยับออกไปได้ ยังไม่จบแค่นี้ 

                ต่อไป ประเด็นนี้ หรือ อาจจะมีประเด็นอื่น ที่ทำให้ กรธ.ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขของ สนชจนต้องมีการตั้งคณะกรรมาธิการร่วม และสุดท้ายเกิดการ “คว่ำ” ร่างกฎหมายขึ้นมา 

                ถ้าไปถึงจุดนั้น จะเกิดปมใหม่ ที่จะทำให้การเลือกตั้งยิ่งต้องเลื่อนออกไปอีกครั้ง แบบไม่มีกำหนด

                แม้จะเป็น “แม่น้ำ” ที่มีต้นกำเนิดจาก คสช.เหมือนกัน แต่ก็สามารถแย้งกันได้ เช่นที่ สปช.เคยคว่ำร่างรัฐธรรมนูญของ “บวรศักดิ์ อุวรรณโณ” มาแล้ว ซึ่งนั่นเป็นจุดใหญ่ครั้งแรกที่ทำให้โรดแม็พเลือกตั้งขยับ

                ทั้งหมดนี้ คือ “อภินิหารกฎหมาย” !!

 

เรื่องโดย สมฤทัย ทรัพย์สมบูรณ์  คมชัดลึกออนไลน์

 

***เรื่องที่เกี่ยวข้อง

เบื้องหลัง!! ขยายกม.เลือกตั้ง 90 วัน แพคเกจเดียวกับ ม.44 

ไม่มีใบสั่ง?? กมธ. แก้วันบังคับใช้ กม. เลือกตั้ง 90 วัน

เลื่อนบังคับใช้กม. กี่วันก็ได้ : โฆษก กรธ. ระบุ

"ขยายเวลา 90 วัน ตามแผนสืบทอดอำนาจ" 

"นิกร" อัด สนช. "ผลประโยชน์ขัดกัน" ขยาย กม.เลือกตั้ง

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ