คอลัมนิสต์

“อุ้มบุญ”อีกแล้ว!! อุ้มบุญแบบไหนที่ใช่-ทำได้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

การทำอุ้มบุญต้องทำในคลินิกเฉพาะทางสูตินรีเวชแน่นอน แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกแห่งจะสามารถใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ได้ทั้งหมด

     จริงๆแล้ว “อุ้มบุญแบบไหนที่ใช่และที่่ทำได้” ในเมื่อพ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ.2558 มีจุดประสงค์เพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยีทางการแพทย์ และช่วยคู่สามีภรรยาที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายและมีบุตรยาก ให้มีบุตรได้โดยใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ที่เหมาะสมเข้ามาช่วย และควบคุมป้องกันไม่ให้มีการนำไปใช้ประโยชน์ในทางที่ผิด ก่อให้เกิดปัญหาทางศีลธรรมและมนุษยธรรม ทั้งการรับจ้างตั้งครรภ์ การค้ามนุษย์ และการทอดทิ้งเด็ก

      สิงหาคม-กันยายนปี 2557 มีข่าวกรณีอุ้มบุญ ย่านลาดพร้าว ที่มิตซึโตกิ ชิเกตะ อายุ 24 ปี ชาวญี่ปุ่น อ้างตนว่าเป็นผู้ปกครองเด็กอุ้มบุญ ที่มีแม่เด็กอุ้มบุญมาเกี่ยวข้องถึง 9 คน..

     ทั้งนี้ พ่ออุ้มบุญชาวญี่ปุ่น อายุ 24 ปี ต้องการมีบุตรจำนวนมากจริง โดยมีบุตรในประเทศไทยทั้งหมด 12 คน และทางครอบครัวก็รับทราบ พ่ออุ้มบุญชาวญี่ปุ่น ตั้งใจอยากมีลูก 20 คน และที่อยากมีลูกมากๆ เพราะตัวเองเติบโตมาในครอบครัวที่มั่งคั่ง ทำธุรกิจหลายอย่าง และตัวเองจะสืบทอดธุรกิจของพ่อแม่ จึงอยากมีลูกมากๆ ในคราวเดียว ไว้สืบทอดธุรกิจ โดยแจกแจงว่ามีทรัพย์สินมากถึง 4,000 ล้านบาท เพียงเงินปันผลการลงทุน ก็ได้รับปีละ 80 ล้านบาท ตั้งใจจะลงทุนในประเทศไทย โดยซื้อคอนโดมิเนียมแล้ว ตั้งใจจะซื้อบ้านให้ลูก แต่มีเรื่องนี้เสียก่อน อีกทั้งยังตั้งใจจะลงทุนทำธุรกิจเกี่ยวกับหลักทรัพย์ด้านอสังหาริมทรัพย์ด้วย แต่ต้องชะลอไว้ ยืนยันว่า มีธุรกิจมากมาย มีที่ดินถึง 120,000 ตารางเมตร ในประเทศกัมพูชา และพ่ออุ้มบุญชาวญี่ปุ่น ยังแจ้งด้วยว่า ได้โอนหลักทรัพย์ให้ลูกทั้ง 17 คน คนละ 1,100,000 เยน 

“อุ้มบุญ”อีกแล้ว!! อุ้มบุญแบบไหนที่ใช่-ทำได้

 

       และช่วงเดียวกันก็มีข่าว นางสาวภัทรมน จันทร์บัว อายุ 21 ปีภูมิลำเนาอยู่ใน อ.ศรีราชา จ.ชลบุ รีรับจ้างเป็นแม่อุ้มบุญ “น้องแกรมมี่” ป่วยเป็นโรคหัวใจมาแต่กำเนิด โดยเหตุที่ต้องรับจ้างตั้งท้อง โดยมีเอเย่นต์มาติดต่อให้อุ้มท้องแทนผู้อื่น กระทั่งได้มีการปรึกษากับสามีจนนำไปสู่การยอมรับการว่าจ้าง อุ้มบุญจากพ่อและแม่ชาวออสเตรเลีย โดยตกลงค่าจ้างที่ 3.5 แสนบาท ซึ่งเอเย่นต์ได้พามาที่กรุงเทพฯ เพื่อตรวจร่างกายที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง จากนั้นก็นำเชื้อที่ผสมเทียมจากเชื้ออสุจิของชายชาวออสเตรเลีย กับไข่ของสาวชาวจีน แล้วฉีดฝังเข้าไปที่มดลูก ต่อมาตรวจพบได้ลูกเป็นแฝดชายหญิง เอเย่นต์บอกจะให้ค่าจ้างเพิ่มขึ้นอีก 5 หมื่นบาท แต่ภายหลังพบความผิดปกติว่า เด็กคนหนึ่งซึ่งก็คือ น้องแกรมมี่ เป็นดาวน์ซินโดรม แต่หมอ และเอเย่นต์ไม่ยอมบอกเรื่องเด็กเป็นดาวน์ซินโดรมแต่บอกให้ทำแท้ง แต่ไม่ยอมทำ พอคลอดทางเอเย่นต์นำเด็กผู้หญิงไป และทิ้งน้องแกรมมี่ไว้

      ทั้งนี้ เมื่อมีการเปิดโปงเรื่องนี้จึงมีการเชื่อมโยงไปถึงแพทย์ผู้รับทำอุ้มบุญ โดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขได้มีการยื่นเรื่องต่อแพทย์สภาให้มีการตรวจสอบแพทย์ผู้ทำอุ้มบุญดังกล่าวและแพทย์ผู้ที่เป็นเจ้าของคลินิก “เอส เอ อาร์ ที”เพราะให้บริการแก่บุคคลที่ไม่ใช่ญาติ ซึ่งถือว่ามีความผิดตามมาตรา 34 (2) พ.ร.บ. สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ชัดเจน

       กรณีน้องแกรมมี่ทางแพทยสภาระบุว่า จากข้อมูลในสื่อต่างๆชัดเจนว่า มีแพทย์ 2 รายเข้าข่ายกระทำผิด ดังนั้น คณะกรรมการแพทยสภามีมติให้ตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ 2 ชุด คือ 1.คณะอนุกรรมการจริยธรรมเฉพาะกิจ มี พญ.ประสบศรี อึ้งถาวร เป็นประธาน และ 2.คณะอนุกรรมการสอบสวนเฉพาะกิจ มีนพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เป็นประธาน โดยที่ผ่านมาแพทยสภามีการเรียกแพทย์ทั้ง 2 ราย เข้ามาชี้แจ้งข้อกล่าวหาต่างๆแล้วทั้ง 2 รายรับทราบแล้ว

      ที่ผ่านมา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ(สบส.) ได้ตรวจสอบสถานพยาบาลใน กทม. จำนวน 12 แห่ง พบว่า มีความผิด 7 แห่ง แบ่งเป็น มาตรา 34 (2) พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 จำนวน 5 แห่ง คือ ไม่ปฏิบัติตามประกาศของแพทยสภา โดยให้หญิงที่ไม่ใช่ญาติตั้งครรภ์แทน และมาตรา 16 อีก 2 แห่ง คือ ไม่ขออนุญาตตั้งสถานพยาบาลถือเป็นคลินิกเถื่อน ขณะที่ 2 แห่งดำเนินการถูกกฎหมาย และอีก 3 แห่งที่เหลือ เป็นเอเยนซีจัดหาการอุ้มบุญ เข้าข่ายความผิด พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งอยู่ในความดูแลของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) สามารถเอาผิดกรณีหลอกลวง โฆษณาชวนเชื่อ สำหรับแพทย์มีความผิด 6 ราย ได้ส่งชื่อให้แพทยสภาพิจารณาจริยธรรมแล้ว ซึ่งเมื่อมีหลักฐานพร้อม ชัดเจน

      เนื่องจากการทำอุ้มบุญต้องทำในคลินิกเฉพาะทางสูตินรีเวชแน่นอน แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกแห่งจะสามารถใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ได้ทั้งหมด โดยมีแพทย์ขึ้นทะเบียนสามารถทำได้เพียง 240 คนเท่านั้น ส่วนคลินิกเฉพาะทางสูตินรีเวชทั่วประเทศมีขึ้นทะเบียนทั้งหมด 173 แห่ง แบ่งเป็น กทม. 18 แห่ง และต่างจังหวัด 155 แห่ง 

     ครั้งนั้นมีคลินิกที่มีความผิดตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 แบ่งเป็นผิดมาตรา 34 (2) ไม่ดำเนินการตามประกาศของแพทยสภา 5 แห่ง คือ 1. ออล ไอ.วี.เอฟ.คลินิกแห่งนี้ทำผิดหลายครั้ง ซึ่งเดิมทีตอนไปตรวจจะมีการปิดสถานพยาบาลอยู่แล้ว แต่เจ้าของคลินิกได้ปิดหนีไปก่อน จึงถือว่าปิดถาวร 2. เอส.เอ.อาร์.ที 3. นิวไลฟ์ ไอ.วี.เอฟ 4. บางกอก ไอ.วี.เอฟ. และ 5. เซฟเฟอทิลิตี และมีความผิดเป็นคลินิกเถื่อน 2 แห่ง คือ คลินิกเถื่อนไม่มีชื่อ แต่เป็นส่วนหนึ่งของ ออล ไอ.วี.เอฟ. ตั้งอยู่บริเวณชั้นที่ 15 และนิวไลฟ์ 

       สำหรับโทษผู้ฝ่าฝืนกฎหมายฉบับนี้ เช่น กรณีเป็นแพทย์ที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานแพทยสภา มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากกระทำเชิงการค้า รับจ้างอุ้มบุญ มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท กรณีเป็นนายหน้ามีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ กรณีขายอสุจิหรือไข่มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

        ล่าสุดกรณีที่จับกุมหนุ่มหิ้วถังไนโตรเจนที่ด่านศุลกากรหนองคาย ครั้งนี้ก็เช่นกัน สบส.ก็ไปตรวจ 1 ใน 4  สถานที่อ้างถึงเช่นกัน ผลปรากฏว่าเป็นสถานที่ดำเนินการถูกต้องตามพรบ.ขณะที่สถานประกอบอีกแห่งทีมีชื่อในข่าวก็ออกมายอมรับว่าอสุจิถูกปล่อยไปจากสถานที่ของตัวเองจริงแต่เป็นสิทธิของลูกค้าที่จะนำ

       นำออกไปจากที่เก็บ..อันนี้ก็ว่ากันไป ในเมื่อกฏหมายมีช่องว่าง “อุัมบุญ” ก็คงมีให้เห็นอยู่เรื่อยไป...

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ