คอลัมนิสต์

"พ.ร.บ.อุ้มบุญ" ...ต้นเหตุคดี "ขนอสุจิข้ามชาติ" !!

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

หลังเกิดกรณีลักลอบขนอสุจิข้ามชาติ ทำให้เกิดคำถามทันทีว่าทำไม ต้องขนอสุจิจากไทยไปลาว คำตอบชัดๆคือ เพราะ ประเทศไทยมี "กฎหมายอุ้มบุญ"

           

               เป็นข่าวใหญ่ขึ้นมาทันทีเมื่อเกิดกรณี "อสุจิข้ามชาติ" คือ เจ้าหน้าที่ศุลกากรที่ด่านพรมแดนสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 .หนองคาย รวบหนุ่มกรุงเทพฯ หิ้วถังไนโตรเจนใส่อสุจิ เตรียมออกไปลาว สารภาพรับจ้างคลินิกชื่อดังหลายแห่งในกรุงเทพ นำอสุจิไปทำอุ้มบุญคลินิกฝั่งลาว และเคยทำมาแล้ว 40 ครั้ง โดยนอกจากประเทศลาวแล้ว ยังนำไปที่ประเทศกัมพูชาด้วย

               คำถามที่เกิดขึ้นทันทีคือ ทำไมต้องมีการขนอสุจิจากฝั่งไทยไปที่ฝั่งลาว?

               คำตอบที่น่าจะสรุปได้ตรงกัน เพราะเมืองไทยมีกฎหมายอุ้มบุญ หรือ พ...คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ..2558 ส่งผลให้ไม่สามารถทำ “อุ้มบุญ” ได้อย่างเสรีเหมือนเมื่อก่อน ขณะที่ประเทศลาว และกัมพูชายังไม่มีกฎหมายนี้

               เมื่อก่อนมีคนต่างชาติจำนวนมากเลือกที่จะมาทำอุ้มบุญในเมืองไทย จนเกิดกรณีปัญหานำมาซึ่งการออกกฎหมายฉบับนี้

               มาทำความรู้จัก "กฎหมายอุ้มบุญ" กันอีกครั้ง!!!

               "พ.ร.บ.อุ้มบุญ" หรือชื่อที่เป็นทางการว่า พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ.2558 เป็นกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยีทางการแพทย์ และช่วยคู่สามีภรรยาที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายและมีบุตรยาก ให้มีบุตรได้โดยใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ที่เหมาะสมเข้ามาช่วย และควบคุมป้องกันไม่ให้มีการนำไปใช้ประโยชน์ในทางที่ผิด ก่อให้เกิดปัญหาทางศีลธรรมและมนุษยธรรม ทั้งการรับจ้างตั้งครรภ์ การค้ามนุษย์ และการทอดทิ้งเด็ก

      ตามมาตรา 21ของพ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีฯ กำหนดไว้อย่างชัดเจน ว่า การตั้งครรภ์แทนจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไข คือ ต้องเป็นกรณีที่เป็นสามีและภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งภริยาไม่อาจตั้งครรภ์ได้ แต่ประสงค์จะมีบุตรโดยให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน ต้องมีสัญชาติไทย แต่ในกรณีที่สามีหรือภริยามิได้มีสัญญาชาติไทย ต้องจดทะเบียนสมรสมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี

      ทั้งนี้ หญิงที่รับตั้งครรภ์แทน ต้องมิใช่บุพการี หรือ ผู้สืบสันดานของสามีหรือภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ต้องเป็นญาติสืบสายโลหิตของสามีหรือภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย ในกรณีที่ไม่มีญาติสืบสายโลหิตตามที่กฎหมายกำหนด ให้หญิงอื่นรับตั้งครรภ์แทนได้แต่จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีกร และเงื่อนไขที่กำหนด

      นอกจากนั้น หญิงที่รับตั้งครรภ์แทนต้องเป็นหญิงที่เคยมีบุตรมาก่อนแล้วเท่านั้น กรณีหญิงนั้นมีสามีที่ชอบด้วยกฎหมายหรือชายที่อยู่กันฉันสามีภริยา จะต้องได้รับความยินยอมจากสามีที่ชอบด้วยกฎหมายหรือชายดังกล่าวด้วย

        ขณะที่ ในมาตรา 22 กำหนดให้การดําเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทนทําได้สองวิธี คือ 1.ใช้ตัวอ่อนที่เกิดจากอสุจิของสามีและไข่ของภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายที่ประสงค์จะให้มีการตั้งครรภ์แทน และ2.ใช้ตัวอ่อนที่เกิดจากอสุจิของสามีหรือไข่ของภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายที่ประสงค์จะให้มีการตั้งครรภ์แทนกับไข่หรืออสุจิของผู้อื่น ทั้งนี้ ห้ามใช้ไข่ของหญิงที่รับตั้งครรภ์แทน 

        และ มาตรา 24 ห้ามมิให้ผู้ใดดําเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทนเพื่อประโยชน์ทางการค้า และมาตรา 29 เด็กที่เกิดจากอสุจิ ไข่ หรือตัวอ่อนของผู้บริจาค แล้วแต่กรณี โดยใช้เทคโนโลยีฯไม่ว่าจะกระทําโดยการให้ภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของสามีซึ่งประสงค์จะมีบุตรเป็นผู้ตั้งครรภ์ หรือให้มีการตั้งครรภ์แทนโดยหญิงอื่น ให้เด็กนั้นเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีและภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งประสงค์จะมีบุตร แม้ว่าสามีหรือภริยา ที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งประสงค์จะมีบุตรถึงแก่ความตายก่อนเด็กเกิด

          สำหรับโทษผู้ฝ่าฝืนกฎหมายฉบับนี้ เช่น กรณีเป็นแพทย์ที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานแพทยสภา มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากกระทำเชิงการค้า รับจ้างอุ้มบุญ มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท กรณีเป็นนายหน้ามีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ กรณีขายอสุจิหรือไข่มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ