คอลัมนิสต์

เจอแล้ว!! 'คนถอนหมุด' มีสองกลุ่มการเมือง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

“หมุดหาย” กลายเป็นความขัดแย้งในสังคมไทยอีกครั้ง เหมือนฉายหนังม้วนเก่า


               ฝ่ายไม่ชอบทหาร ก็ทวงถามว่า “หมุดอยู่ไหน” ส่วนฝ่ายเชียร์ทหาร ไชโยโห่ฮิ้ว “หายไปก็ดีแล้ว”

               ในสื่อโซเชียลเต็มไปด้วย “เรื่องเล่า” อันเกี่ยวเนื่องกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ต่างคนต่างเล่า ต่างขั้วต่างค่าย ประหนึ่งเป็น “สงครามประวัติศาสตร์”

               ขณะที่คนส่วนใหญ่ยังงุนงงว่า ใครขุดหมุดออกไป?

               จากการตรวจสอบผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย และข่าวสารล่าสุด พบว่ามี 2 กลุ่มการเมือง ที่แสดงตัวว่า ได้ “ถอนหมุด” เชิงสัญลักษณ์ไปแล้ว

 

เจอแล้ว!! 'คนถอนหมุด' มีสองกลุ่มการเมือง

 

               กลุ่มแรก - ขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ นำโดย สมาน ศรีงาม

               เมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 เม.ย. สมาน ศรีงาม ได้ประกาศตัวผ่านเฟซบุ๊ก ว่า

               "เราขบวนการประชาธิปแห่งชาติ สภาประชาชนปฏิวัติสันติแห่งชาติ และพรรคการนำใหม่ประชาชนปฏิวัติสันติ และสถาบันปฏิวัติสันติพุทธอหิงสาธรรมประเสริฐ ทรัพย์สุนทร ฯลฯ ได้เสนอไว้มาหลายสิบปีแล้ว..และได้ทำพิธีถอนหมุดแห่งมิจฉาทิฎฐินี้ออกไปถึง 3 ครั้งแล้วในอดีตที่ผ่านมา..."

               พร้อมกับนำภาพประกอบพิธีกรรมการถอนหมุดในเชิงสัญลักษณ์ เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2559

 

เจอแล้ว!! 'คนถอนหมุด' มีสองกลุ่มการเมือง

 

               "ถอนหมุดคณะราษฎร..ช่วยชาติช่วยประชาชนอย่างมากมายยิ่งใหญ่ที่สุด ทำลายความเห็นผิด สร้างความเห็นถูก..ดังนั้น การถอนหมุดความเห็นผิดมิจฉาทิฎฐิ หมุดแห่งเผด็จการ หมุดแห่งทำลายชาติทำร้ายประชาชน หมุดกลบฝังประชาธิปไตย...จึงเป็นสิ่งที่ถูกต้องอย่างยิ่งไม่ว่าจะพิจาณาในด้านใดๆ ชอบธรรมอย่างยิ่งอย่างปราศจากเงื่อนไข (Righteousness) ไม่ว่าผู้ใดจะขุดถอนหมุดจะเป็นใครก็ตาม"

               “สมาน” ผู้สานต่อเจตนารมณ์ของ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร อดีตกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ตามทฤษฎีปฏิวัติประชาธิปไตย ที่วิจารณ์การเปลี่ยนแปลงของคณะราษฎรมาโดยตลอด

               เมื่อ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร ถึงแก่กรรม ปลายปี 2537 เขาจึงเป็นผู้สืบทอดความคิดลัทธิประชาธิปไตย ที่ตรงข้ามกับความคิดของ “คณะราษฎร”

 

เจอแล้ว!! 'คนถอนหมุด' มีสองกลุ่มการเมือง

 

               กลุ่มที่สอง - ชมรมธรรมาธิปไตยแห่งชาติ นำโดย บุนสิน หยกทิพย์

               เมื่อวันที่ 20 เม.ย. บุญสิน หยกทิพย์ ฝ่ายประสานงานชมรมธรรมาธิปไตยแห่งชาติ เดินทางเข้าแจ้งความร้องทุกข์ พ.ต.อ.มนตรี เทขัน ผกก.สน.ดุสิต เพื่อขอลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานและให้ช่วยติดตามหมุดคณะราษฎร สัญลักษณ์เหตุการณ์อภิวัฒน์สยาม 2475 ที่อยู่บริเวณลานหน้าพระบรมรูปทรงม้า ที่หายไป

               “บุญสิน” เป็นกลุ่มคนที่ประกาศต่อสาธารณชนว่า การกระทำในอดีตคณะราษฎร ไม่ถูกต้อง ไม่ชอบธรรม และเป็นเผด็จการรัฐธรรมนูญ

               เหตุที่ต้องมาแจ้งความ บุญสินอธิบายว่าตนต้องการเดินทางมาแจ้งความเพื่อลงบันทึกประจำวันเพื่อให้ติดตามหาหมุดดังกล่าว ซึ่งเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่บอกว่า ประเทศไทยก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย อยากให้เข้าหน้าที่ตำรวจติดตามกลับคืนมาให้ได้ และเมื่อได้คืนมาแล้วขอให้นำไปเก็บรักษา ไม่ใช่นำไปวางไว้กับพื้น

               บุญสินก็คิดเหมือนกับ “สมาน ศรีงาม” แห่งขบวนการปฏิวัติสันติ ที่อยาก “ถอนหมุดคณะราษฎร”

               “เดิมทีผมตั้งใจจะไปขุดออกมาเก็บไว้อยู่ แต่มีคนขุดเสียก่อน”

               หากเข้าไปส่องเฟซบุ๊ก “บุญสิน หยกทิพย์” ก็จะเห็นการเคลื่อนไหวเผยแพร่แนวคิด “ธรรมาธิปไตย” โดยมีการอัดคลิปลงในเฟซฯ ทุกวัน

 

เจอแล้ว!! 'คนถอนหมุด' มีสองกลุ่มการเมือง

 

               “รัฐธรรมนูญกับประชาธิปไตยเป็นสื่งเดียวกัน หรือคนละสิ่ง คำตอบของชาวบ้านและประชาชนทั่วไปคือคนละสิ่ง แต่นักการเมืองและผู้นำและผู้จบการศึกษาตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไปตอบเป็นสิ่งเดียวกัน เพราะเขาติดตำราสอนจาก นายปรีดี พนมยงค์ เข้าใจว่ารัฐธรรมนูญคือประชาธิปไตย ประเทศไทยกำเนิดรัฐธรรมนูญ”

               นี่คือความคิดของบุญสิน

               วันรัฐธรรมนูญปีที่แล้ว บุญสิน ไปถ่ายรูปกับหมุดคณะราษฎร แล้วขึ้นสเตตัสในเฟซบุ๊กว่า “วันนี้มาชี้หลักฐานการเกิดรัฐธรรมนูญ แต่ไม่ใช่ประชาธิปไตย”

               บุญสินเป็นคนที่ก่อการประท้วง ด้วยการปีนขึ้นไปเผ่าพานรัฐธรรมนูญ เอาสีทาทับชื่ออนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จนถูกจับ ถูกปรับ และถูกส่งฟ้องศาลมาแล้ว

               ความเชื่อทางการเมืองแบบบุญสิน ปรากฏอยู่ในตำนานการเมืองไทยมานานแล้ว สมัยหนึ่งที่รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้เปิดเวทีไฮด์ปาร์คที่ท้องสนามหลวง ทำให้มี “คนการเมือง” จำนวนมากได้ไปใช้พื้นที่นั้นแสดงความคิดความเห็นกันคึกคัก

               แต่ยุคนี้ มีสื่อโซเชียลอย่างเฟซบุ๊กเป็น “พื้นที่เปิด” อันไม่ต่างจากเวทีไฮด์ปาร์คในอดีต

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ