ข่าว

งานเข้า 'อดีต ส.ส.ร.' ร้อง ป.ป.ช. ตรวจสอบ 395 'สส.-สว.' ส่อทุจริตต่อหน้าที่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ลุยร้อง ป.ป.ช. ให้ตรวจสอบ 395 ‘สส.-สว.’ ส่อทุจริตต่อหน้าที่ มีมติให้การ โหวตนายกฯ เป็นญัตติ ทั้งที่เป็นวาระเฉพาะ ชี้บทลงโทษจำคุก "หัวหงอกทั้งหลาย ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหลายไม่รอบคอบ ในการดำเนินการเจตนาจงใจ.."

เมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2566 ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) นายเศวต ทินกูล อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.)ปี 2550 ได้ไปยื่นเอกสารข้อกล่าวหาที่ ป.ป.ช. เพื่อตรวจสอบและดำเนินคดีกับ สส.และ สว. ที่ออกเสียงเห็นชอบว่า การเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีในที่ประชุมรัฐสภาเป็นญัตติ ซึ่งเป็นการขัดข้อบังคับประชุมรัฐสภาข้อที่ 41 โดยทั้งหมด 395 คน รวมถึง นายวันมูหะมัดนอร์ มะทาประธานรัฐสภา ที่รู้เห็นเป็นใจให้กระทำการดังกล่าว โดยมีนายพิศิษฐ์ พัฒนกิจจำรูญ ผู้อำนวยการสำนักสืบสวนและกิจการพิเศษ เป็นผู้รับเอกสาร

นายเศวต ระบุว่า การประชุมรัฐสภาเพื่อให้ความเห็นชอบผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่กลับบิดเบือนโดยทุจริตต่อหน้าที่รู้เห็นเป็นใจ เห็นชอบว่าเป็นญัตติซ้ำ ขัดต่อข้อบังคับมาตรา 41 ดังนั้นการเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต้องทำตามกฎหมายอย่างละเอียดรอบคอบ ตั้งแต่ รัฐธรรมนูญที่บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะในมาตรา 159 ประกอบรัฐธรรมนูญมาตรา 272 และ ประกอบด้วยข้อบังคับการประชุมรัฐสภาหมวด9 ที่บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะในการเลือกนายกรัฐมนตรี 

 

นายเศวต ทินกูล อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ อดีต ส.ส.ร. ปี 2550

แต่เมื่อทั้ง สส. และ สว. มีเจตนาจงใจไม่ทำตามกฎหมาย ก็มีความผิดตามกฎหมายป.ป.ช. มาตรา 4 เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองทุจริตต่อหน้าที่มีบทลงโทษจำคุก

 

“หัวหงอกทั้งหลาย ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหลาย ไม่รอบคอบ ในการดำเนินการเจตนาจงใจ ที่จะกระทำการทุจริตท่านต้องได้นับผลแห่งการกระทำนั้น” นายเศวต มินกุล อดีต ส.ส.ร. ระบุ

 

 

งานเข้า \'อดีต ส.ส.ร.\' ร้อง ป.ป.ช. ตรวจสอบ  395 \'สส.-สว.\' ส่อทุจริตต่อหน้าที่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 ก.ค.2566 เมื่อพรรคเพื่อไทยเสนอให้โหวตนายกรอบ2 ด้วยการเสนอชื่อ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 แต่การประชุมสภาในวันนั้น มี ‘วันนอร์’ เป็นประธานสภา กลับเปิดให้มีการอภิปรายฯตามข้อท้วงติงของสมาชิรัฐสภา ว่า การโหวตนายกรัฐมนตรี ขัดกับข้อบังคับประชุมรัฐสภาข้อที่ 41 จากนั้นได้มีการโหวตเปิดผล มีผลให้ไม่สามารถเสนอชื่อนายพิธา เป็นนายกฯในการโหวตนายกฯครั้งที่2 ได้

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ