ข่าว

อ.อ๊อด วอนควบคุมการจัดเก็บโพแทสเซียมไนเตรต กันเหตุซ้ำรอย 'โกดังพลุระเบิด'

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

อ.อ๊อด ม.เกษตร วอนภาครัฐออกมาตรการควบคุมโรงงาน ที่มีการจัดเก็บโพแทสเซียมไนเตรตจำนวนมากอย่างรัดกุม ป้องกันเกิดเหตุซ้ำ 'โกดังพบุระเบิด'

รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวถึง เหตุการณ์ 'โกดังพลุระเบิด' ที่ตลาดมูโนะ จ.นราธิวาส ว่า สำหรับเหตุการณ์ 'โกดังพลุระเบิด' ที่จังหวัดนราธิวาส ไม่ใช่เหตุการณ์ เกิดครั้งแรกในประเทศไทย มีเหตุการณ์ในลักษณะแบบนี้เกิดขึ้นหลายแห่ง สาเหตุหลักๆก็คือตัวดินประสิว หรือดินปืน หรือ โพแทสเซียมไนเตรต ที่ใช้ทำตัวจุดระเบิดของพลุ ที่มีการสต๊อกไว้ค่อนข้างเยอะ นอกจากนี้ยังมีสารที่ให้สี กลุ่มอื่นๆด้วย ที่นำมาผสม เพื่อทำเป็นพลุ โดยสารเคมีแต่ละชนิดจะให้สีสันต่าง ๆ กัน เช่น สตรอนเชียมคาร์บอเนต (SrCO3) ให้สีแดง ลิเทียมคาร์บอเนต (Li2CO3) ให้สีแดง แบเรียมคลอเรต (BaClO3) ให้สีเขียว คอปเปอร์ซัลเฟต (CuSO4) ให้สีฟ้า แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) ให้สีเหลือง โซเดียมออกซาเลต (Na2C2O4) ให้สีเหลือง และแคลเซียมคลอไรด์ (CaCl2) ให้สีส้ม ซึ่งสารเหล่านี้มีความไวไฟมาก โดยเฉพาะโพแทสเซียมไนเตรต ที่ถือว่าเป็นวัตถุอันตรายที่ ใช้ในการทำวัตถุระเบิด ซึ่งหลักการของโรงงานทำพลุดอกไม้ไฟ หรือโรงงานที่ทำสารที่มีการระเบิดได้จะต้องอยู่ห่างไกลแหล่งชุมชน ขอแสดงความเสียใจกับผู้สูญเสีย ขอแสดงความเสียใจกับผู้ได้รับบาดเจ็บ และขอเป็นกำลังใจให้เจ้าหน้าที่

อ.อ๊อดวอนควบคุมโกดังเก็บโพแทสเซียมไนเตรต

รศ.ดร.วีรชัย กล่าวด้วยว่า ในอุบัติเหตุ 'โกดังพลุระเบิด' ครั้งนี้เป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่ทำให้หน่วยงานภาครัฐต้องเข้ามากำชับ โรงงานทำพรุ ผลิตพลุหรือวัตถุไวไฟ ในการจัดเก็บโพแทสเซียมไนเตรตอย่างรัดกุมเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำขึ้นมาอีก ขอให้เรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์ และบทเรียนและเป็นเหตุการณ์ครั้งสุดท้าย

 

โกดังพลุระเบิดกลางตลาดมูโนะ จ.นราธิวาส

สำหรับพลุหรือดอกไม้ไฟ มีความซับซ้อนกว่าประทัดเล็กน้อย เพราะถูกอัดด้วยดินปืน ซึ่งก็คือ ดินประสิว (โพแทสเซียมไนเตรต, KNO3) ผสมกับกำมะถัน และยังมีส่วนประกอบเพิ่มเติมอื่น ๆ ด้วย และส่วนประกอบเหล่านี้เองที่ทำให้พลุมีประกายไฟที่มีสีสันแตกต่างออกไปจากประทัด 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ