ข่าว

3 บก.ใหญ่ทุบโต๊ะ"เข้าสู่โหมดสกรัม ลุงตู่ ระทึก..ยุบ ทษช."

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

3 บก.ใหญ่เครือเนชั่นทุบโต๊ะ"โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง 62เข้าสู่โหมดสกรัมลุงตู่ ระทึก...ยุบพรรค "ทษช." หลังศาลรัฐธรรมนูญนัดตัดสิน 7 มี.ค.

     เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 18.00 น. นายสมชาย มีเสน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Nation Group นายวีระศักดิ์ พงศ์อักษร บรรณาธิการบริหาร หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ และนายฑิฆัมพร ศรีจันทร์ บรรณาธิการบริหารหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ได้จัดรายการ ผ่านทาง Facebook Live ที่แฟนเพจ คมชัดลึก ชี้โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง 62 เข้าสู่โหมดสกรัมลุงตู่  ทำไมลุงตู่ไม่ยอมดีเบต? จากประวัติศาสตร์การเลือกตั้งที่ผ่านมานายกคนใดไม่เคยผ่านการดีเบตบ้าง? ระทึก...ยุบ-ไม่ยุบ? “ไทยรักษาชาติ” หลังศาลรัฐธรรมนูญนัดตัดสิน 7 มี.ค.  

     3 บก.ใหญ่ เครือเนชั่น ได้ทุบโต๊ะประเด็นแรกถึงปมร้อนเรื่องการยุบพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) ที่ศาลรัฐธรรมนูญได้กำหนดการนัดหมาย การอ่านคำวินิจฉัยในวันที่ 7 มีนาฯ นี้ว่าจะ “ยุบ” หรือ “ไม่ยุบ” พรรคไทยรักษาชาติ ซึ่งในวันที่ 7 มีนาฯ เวลา 13.30 น. ศาลรัฐธรรมนูญจะเริ่มทำการประชุมเพื่อลงมติกันว่าจะยุบพรรคไทยรักษาชาติหรือไม่ และจะอ่านคำพิพากษากลางในเวลา 15.00 น. เป็นต้นไป ที่ห้องพิจาณาคดีชั้น 3 ศาลรัฐธรรมนูญ ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ 

3 บก.ใหญ่ทุบโต๊ะ\"เข้าสู่โหมดสกรัม ลุงตู่ ระทึก..ยุบ ทษช.\"

แล้วพยานที่ทางพรรคไทยรักษาชาติยื่นต่อศาลไปทั้ง 19 คน เป็นอย่างไร?                                                           นายสมชายและนายฑิฆัมพร ระบุว่า ศาลรัฐธรรมนูญคงเห็นแล้วว่า ไม่มีอะไรที่ต้องมีคำถามเพิ่ม ทั้งกับทาง กกต.และพรรคไทยรักษาชาติ เพราะเอกสารที่ส่งมามีความครบถ้วนตามกระบวนความ โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่ต้องสอบพยานเพิ่ม หรือที่เรียกว่า ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เพียงพอต่อการวินิจฉัย ไม่จำเป็นต้องไต่สวนเพิ่มเติมแล้ว ซึ่งจากเดิมนั้น ทางพรรคไทยรักษาชาติ จะเบิกความพยาน 5 ปาก ซึ่งในแวดวงการเมืองต่างรู้กันดีว่าเป็นเกมการเมือง ที่ต้องการยื้อให้เกิดการวินิจฉัยหลังเลือกตั้ง แต่ศาลรัฐธรรมนูญคงพิจารณาแล้วว่า ข้อเท็จจริงมีเพียงพอเลยไม่จำเป็นต้องเบิกพยาน แต่สามารถนัดวินิจฉัยได้เลย 

ในอดีตที่ผ่านมามีพรรคการเมืองใด ที่เคยโดยยุบไปแล้วบ้าง?

     3 บก. ระบุว่า ในอดีตที่ผ่านมาเคยมีพรรคการเมืองโดนยุบมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็น พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน พรรคมัชฌิมาธิปไตย พรรคชาติไทย ต่างก็ไม่เคยมีการเรียกเบิกความพยานมาไต่สวน มีเพียงการพิจารณาจากเอกสาร และข้อเท็จจริง เพราะศาลรัฐธรรมนูญถือว่า เรื่องนี้มีโทษเป็นเพียงการตัดสิทธิทางการเมือง ไม่ได้มีโทษใดในทางอื่นๆ และถ้าถามถึงโทษทางอาญาที่ทางศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้มีหน้าที่ตัดสิน เรื่องนี้หากทางกกต. เห็นว่ามีความผิดในทางอาญา หลังจากเห็นคำพิพากษายุบพรรคทษช. ก็สามารถไปยื่นเรื่องร้องเรียนต่อศาลอาญาได้ อย่างที่เคยได้บอกไว้ก่อนหน้านี้ ต้องดูด้วยว่ามีความผิดทางอาญาหรือไม่? ซึ่งที่ดูไว้ก็มีอยู่ 2 มาตราที่อาจจะผิดทางอาญา ก็คือ มาตรา 112 และมาตรา 116 

   ตามกระบวนการหลังจากนี้ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยจากเอกสารข้อเท็จจริงที่มีว่าควรยุบทษช. หรือไม่ 

       นายสมชาย ระบุว่า ในวันที่ 7 มีนาฯ ศาลรัฐธรรมนูญมี 2 เรื่องที่จะวินิจฉัย คือ 1.ความผิดที่มีสมควรยุบพรรคตามที่กกต.ร้องมาหรือไม่ 2.ถ้ายุบแล้วจะตัดสิทธิทางการเมืองของกรรมการบริหารพรรค ทั้ง 14 คนกี่ปี จะเป็น 5 ปี 10 ปี หรือว่าตลอดชีพ 

3 บก.ใหญ่ทุบโต๊ะ\"เข้าสู่โหมดสกรัม ลุงตู่ ระทึก..ยุบ ทษช.\"        ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญไม่เคยวินิจฉัยตัดสิทธิทางการเมืองเป็นรายบุคคล แต่มีการตัดสิทธิรวม โดยในที่นี้คือ กรรมการบริหารพรรคทษช.ทั้งหมด และจากกรณีของ ศ.ดร.รุ่งเรือง พิทยศิริ กรรมการบริหารพรรคไทยรักษาชาติ ที่ได้ยืนยันว่าตนลาออกจากการเป็นกรรมการบริหารพรรค รวมทั้งสมาชิกพรรคไทยรักษาชาติไปแล้ว ตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาฯ ที่บอกว่าจะตัดสิทธิของตนไปด้วยไม่ได้ เพราะลาออกแล้วนั้น ศ.ดร.รุ่งเรือง ต้องไปทำการยื่นเรื่องร้องเรียนเพื่อพิสูจน์ตนกับทางศาลฎีกาแผนกเลือกตั้งเอาเอง เพื่อทำการร้องคืนสิทธิ หลังจากที่คดียุบพรรคทษช.ได้มีมติออกมาเรียบร้อยแล้ว โดยหลังจากความพลิกผันทางการเมืองเมื่อวันที่ 8 กุมภาฯ ในวันที่ 7 มีนาฯ จะเป็นอีกจุดพลิกผันสำคัญ ที่กำหนดทิศทางการเมืองต่อไป เพราะ จากการฮั้วกันส่งส.ส.ลงสมัครของพรรคเพื่อไทยกับพรรคไทยรักษาชาติ ซึ่งการเลือกตั้งครั้งนี้มีเขตเลือกตั้งให้ส.ส.ลงสมัครได้ทั้งหมด 350 เขต และทางเพื่อไทยก็ส่งส.ส.มาลงสมัครเพียง 250 เขต ทั้งที่เป็นพรรคอันดับหนึ่ง ซึ่งในเขตที่ไม่ได้ส่ง ทางพรรคไทยรักษาชาติก็ได้ส่งส.ส.ลงในเขตเลือกตั้งนั้นพอดี โดยไม่ซ้ำกันกับเพื่อไทย ดังนั้น หากพรรคทษช.ถูกยุบ ในเขตที่เพื่อไทยไม่ได้ส่งส.ส.ลง ก็จะว่างเปล่าทันที 

 

เลือกตั้ง 62 ไม่ใช่แค่ทษช. ที่โดนร้องยุบพรรค 

      3 บก. ระบุว่า นายนพดล อมรเวช หัวหน้าพรรครวมใจไทย ได้ไปยื่นร้องเรียนให้กกต.ยุบพรรคการเมืองมากถึง 12 พรรค จึงอาจเรียกได้ว่าเป็น “นักร้องยื่นยุบพรรค” โดยให้เหตุผลคือ ทั้ง 12 พรรคนี้ ได้ทำการเข้าไปแก้ไขข้อมูลระยะเวลาการเข้าเป็นสมาชิกพรรคของผู้สมัครในระบบฐานข้อมูล เพื่อให้คุณสมบัติในการลงสมัครครบถ้วน เช่น การที่มี ส.ส.ในพรรคหลายคนเป็นสมาชิกพรรคไม่ครบ 90 วัน แล้วไปแก้ให้ครบ และไม่ได้มีแค่นายนพดลที่ไปยื่นเรื่องยุบพรรค แต่ยังมีนักร้องยุบพรรคอีกหลายคน อย่างเช่น นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ที่ได้ไปยื่นเรื่องร้องเรียน ขอให้ยุบพรรคอนาคตใหม่ เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ประเด็นในการร้องยุบพรรคอยู่ที่ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ได้ลงประวัติส่วนตนผิดลนเว็บไซต์ของพรรค โดยได้ลงประวัติว่า ธนาธร เป็นประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ระหว่างปี 2551-2555 โดยลงข้อมูลที่ผิดนี้บนเว็บไซต์นานกว่า 5 เดือน นายศรีสุวรรณ เชื่อว่าอาจเป็นการจงใจหรือเจตนาที่จะหลอกลวงผู้มีสิทธิเลือกตั้งหรือจูงใจให้เข้าใจผิด ให้ได้รับคะแนนนิยม ซึ่งเข้าข่ายข้อห้ามตามมาตรา 73 ของ พ.ร.ป.การเลือกตั้ง 2561 

3 บก.ใหญ่ทุบโต๊ะ\"เข้าสู่โหมดสกรัม ลุงตู่ ระทึก..ยุบ ทษช.\"

      ทั้งนี้นายสมชาย ได้ระบุว่า หากตนเป็นบริษัทที่ต้องบริหารการจดทะเบียน หรือการยื่นเรื่องเข้าตลาดหลักทรัพย์ ตนต้องตรวจทุกอย่างให้หมด ถ้าผิดตนก็ต้องแก้ บาคนอาจจะบอกว่าเป็นเรื่องเล็กๆ แต่คนอยากจะบอกว่า ถ้าแค่ประวัติของตนเอง นายธนาธร ยังทำผิด ไม่แก้ หรือไม่พิจารณา เรื่องใหญ่ๆของประเทศ นายธนาธร จะไม่ผิดพลาดหรือ และถ้าบอกว่าเป็นความผิดที่เกิดมาจากแอดมิน ตนมองว่า การรับผิดนั้นอยู่ที่ตัวคน ถ้าประวัติของตนเองยังรับผิดชอบไม่ได้ คุณจะรับผิดชอบบ้านเมืองอย่างไร 

       และก็มีอีกคนที่ได้ไปยื่นยุบพรรคพลังประชารัฐ ก็คือ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย ที่ไปร้องเรียนต่อกกต. ว่าพรรคพลังประชารัฐ เป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย ถึงกรณีที่มีการเสนอชื่อ พล.อ. ประยุทธ์ ขันทร์โอชา เป็นนายกฯของพรรค ซึ่งพล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ให้เหตุผลว่า พล.อ. ประยุทธ์ มาจากการยึดอำนาจ จึงอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งตนมองว่าฟังไม่ขึ้น เพราะ คนที่ยึดอำนาจได้ เรียกว่า ถืออำนาจรัฏฐาธิปัตย์ ถูกต้องตามกฎหมาย ส่วนคนที่ยึดอำนาจไม่สำเร็จ เรียกว่า กบฎ

ทำไมลุงตู่ไม่ยอมดีเบต?  

      ซึ่งพล.อ. ประยุทธ์ ขันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้เหตุผลที่ไม่ไปร่วมการดีเบตว่า ไม่ได้เป็นเพราะกลัวการดีเบต แต่เห็นว่าเป็นเวทีที่เอาแต่โจมตีกัน ไร้สาระ เสียเวลา มีแต่การประดิษฐ์ประดอยคำพูด สร้างวาทกรรม 

       3 บก. ระบุว่า ทางเราสนับสนุนการดีเบต แต่ถ้าไปดูเวทีดีเบตในทุกเวทีที่ผ่านมา จะเห็นว่าไม่ได้แข่งกันเรื่องนโยบาย แต่เป็นเรื่องของวาทกรรมมล้วนๆ 

3 บก.ใหญ่ทุบโต๊ะ\"เข้าสู่โหมดสกรัม ลุงตู่ ระทึก..ยุบ ทษช.\"

    จากประวัติศาสตร์การเลือกตั้งที่ผ่านมานายกคนใดไม่เคยผ่านการดีเบตบ้าง? 

       นายสมชาย ระบุว่า อย่างในการเลือกตั้งปี 2544 และปี 2548 “ทักษิณ ชินวัตร” ก็ไม่เคยไปร่วมดีเบต  และไม่ได้มีการแสดงเหตุผลด้วยว่าเพราะอะไรจึงไม่ไปดีเบต ในการเลือกตั้งปี 2550 “สมัคร สุนทรเวช” ก็ไม่ได้ไปดีเบต เนื่องจากมองว่า เวทีการเมืองในขณะนั้น มีการแบ่งขั้วชัดเจน ทั้งที่นายสมัคร เป็นอีกหนึ่งคนที่ดีเบตได้เก่ง และในการเลือกตั้งปี 2554 “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” น้องสาวของทักษิณ ที่ถูกนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ท้าไปดีเบต ก็ได้ตอบนายอภิสิทธิ์กลับไปว่า ดิฉันพูดไม่เก่ง ขอโอกาสลงพื้นที่หาเสียงดีกว่า ซึ่งช่วงนั้นก็ใช้เวลาหาเสียงประมาณ 47 วัน 

3 บก.ใหญ่ทุบโต๊ะ\"เข้าสู่โหมดสกรัม ลุงตู่ ระทึก..ยุบ ทษช.\"

เมื่อ “ลุงตู่” ไม่ไปดีเบต จะเจอกระแสโจมตีอะไรบ้าง

       จะโดนโจมตีเรื่องความเป็นเผด็จการ การสืบทอดอำนาจของคสช. ความย่ำแย่ทางเศรษฐกิจ ใช้อำนาจรัฐในการเอารัดเอาเปรียบคนอื่น และในช่วงนี้ “ลุงตู่” จะถูกจับตามองเรื่องการประมูล การอนุมัติโครงการต่างๆ ก่อนจะหมดรัฐบาล เป็นการทิ้งทวน ปกติเวลาเลือกตั้งในอดีต ต้องหยุดการประมูล การอนุมัติโครงการต่างๆก่อน เพราะถือว่าเป็นรัฐบาลรักษาการเลยประมูลไม่ได้ แต่ตอนนี้คสช.ยังคงมีอำนาจเต็ม จึงยังสามารถทำการประมูล หรืออนุมัติโครงการต่างๆได้อยู่ ซึ่งในวันที่ 8 มีนาฯนี้ สภาจะหยุดทำการแล้วไม่พิจารณากฎหมาย แต่ก็ยังคงมีอำนาจเต็มอยู่ 

3 บก.ใหญ่ทุบโต๊ะ\"เข้าสู่โหมดสกรัม ลุงตู่ ระทึก..ยุบ ทษช.\"

ทำไมพรรคการเมืองสนใจเรื่องข้าวกันมาก การเมืองเรื่องข้าว? 

       ที่การเมืองเป็นเรื่องข้าวเพราะประเทศเรามีชาวนาสูงถึง 4.5 ล้านครัวเรือน ซึ่งเท่ากับคนมากถึง 15 ล้านคน และเป็นกลุ่มที่มีสิทธิ์ออกเสียงประมาณ 10 ล้านเสียง ถือว่าเป็นกลุ่มที่มีเสียงเยอะมาก และมีความสำคัญยิ่ง ถ้า 10 ล้านเสียงลงไปทางเดียวกัน พรรคการเมืองนั้น จะได้ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อถึง 120 คน จึงไม่แปลกใจเลยว่า ทำไมทุกพรรคการเมืองถึงได้สนใจ และมีนโยบายเรื่องข้าวออกมา เช่น 3 พรรคตัวเต็งรัฐบาลอย่างพรรคพลังประชารัฐที่มีนโยบาย “3 ลด 3 เพิ่ม” พรรคเพื่อไทยที่มีนโยบาย “คืนความสุขให้เกษตรกรไทย” และนโยบาย “ประกันรายได้” จากพรรคประชาธิปัตย์ ที่แตกต่างจากโครงการรับจำนำข้าว เนื่องจากไม่จำเป็นต้องมีโกดังเก็บ และดีกว่าโครงการจำนำข้าว ในแง่ของการทำลายระบบ ความเสียหาย หรือความสูญเสียต่างๆจะไม่เท่ากับจำนำข้าว 

3 บก.ใหญ่ทุบโต๊ะ\"เข้าสู่โหมดสกรัม ลุงตู่ ระทึก..ยุบ ทษช.\" 3 บก.ใหญ่ทุบโต๊ะ\"เข้าสู่โหมดสกรัม ลุงตู่ ระทึก..ยุบ ทษช.\" 3 บก.ใหญ่ทุบโต๊ะ\"เข้าสู่โหมดสกรัม ลุงตู่ ระทึก..ยุบ ทษช.\" 3 บก.ใหญ่ทุบโต๊ะ\"เข้าสู่โหมดสกรัม ลุงตู่ ระทึก..ยุบ ทษช.\"

       ทั้งนี้ นายสมชายได้ถามด้วยว่า ทำไมพรรคเพื่อไทยถึงยังกล้าเสนอนโยบายเรื่องข้าว ทั้งที่จำนำข้าวขาดทุนมากถึง 6 แสนล้านกว่าบาท ซึ่งมีข้าวค้างสต็อกอยู่มากถึง 17 ล้านตัน มีการทุจริตสวมสิทธิชาวนา ซึ่งก่อนหน้า ปปช. ได้เตือนแล้วว่าโครงการจำนำข้าวเสี่ยงต่อการทุจริต รวมถึงทาง สตง. ก็ออกมาเตือนด้วย หลังจากขาดทุน รัฐบาลล่าสุดจึงต้องทำการระบายข้าวออกแบบขาดทุน และจากราคาจำนำราคา 15,000 บาท คิดเป็นต้นทุนการขายอยู่ที่ 24,000 บาท ซึ่งจากการขาดทุนต้องมีการจ่ายดอกเบี้ยคืนนาน 15 ปี ปีละ 30,000 ล้านบาท เฉพาะดอกเบี้ย ซึ่งเราจ่ายมาเป็นเวลา 2 ปีแล้ว ต้องจ่ายไปอีก 13  ปี ซึ่งคนที่ทุจริตก็มีทั้งที่ถูกจับไปแล้ว และหนีออกนอกประเทศไป

3 บก.ใหญ่ทุบโต๊ะ\"เข้าสู่โหมดสกรัม ลุงตู่ ระทึก..ยุบ ทษช.\" 3 บก.ใหญ่ทุบโต๊ะ\"เข้าสู่โหมดสกรัม ลุงตู่ ระทึก..ยุบ ทษช.\"

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ