Lifestyle

ศึกษาสถานการณ์ในอดีต เหตุ กบฏ เจ้าฟ้าเหม็น ทำจริง หรือ เหตุผลอื่น?

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ท่องไปในหน้าประวัติศาสตร์ วิเคราะห์สถานการณ์คราวผลัดแผ่นดิน รัชกาลที่ 1 "ไม่มีการล้างโคตรในกรณีเจ้าฟ้าเหม็น " 

วันนี้ 13 ก.ย. กว่า 213ปี ของเหตุการณ์ ปราบกบฏ ครั้งประวัติศาสตร์ ของกรุงรัตนโกสินทร์ มาจนถึงวันนี้ ขอสรุปที่ยังหาคำตอบไม่ได้ ของเหตุการณ์ในวันนั้น ก็ยังคงลอยอยู่บนหน้าประวัติศาสตร์ 

หากเอ่ยชื่อ กรมขุนกษัตรานุชิต หลายคนคงขมวดคิ้ว ตั้งข้อสงสัยและพยายามขบคิดว่า นามนี้คือใคร?
ในอีกมุมหากเอ่ยนาม "เจ้าฟ้าเหม็น" กลุ่มคนที่สนใจใคร่รู้ในประวัติศาสตร์ ย่อมนึกออกอย่างรวดเร็วและง่ายดาย รวมทั้งอาจจะรู้ถึงเหตุการณ์ สถานการณ์ ในขณะการเกิดเหตุกบฏครั้งสำคัญในรอยต่อ 2รัชกาล  ระหว่าง ร.1 กับ ร.2    หากแต่เมื่อกอบรวมข้อมูลที่กระจัดกระจาย อันปลิวว่อนในหน้ากระดาษพงศาวดารนั้น 
มันจะเป็นอย่างที่เราๆคนสนใจประวัติศาสตร์ เข้าใจกันหรือไม่?
หากข้ามช่วงชีวิตอันสั้นกระชับและไม่ได้มีความโดดเด่น ของเจ้าฟ้าเหม็น ออกไป ประเด็นที่น่าสนใจต่อความตายที่ไม่ได้สมัครใจของพระองค์นั้น เป็นสิ่งที่หลายคนอาจจะมองข้าม


แม้เป็นที่รับรู้กันกว้างขวางและแน่นอนว่า สถานะของเจ้าฟ้าเหม็นนั้น หากไม่ต้องตกอยู่สถานะบุตรกำพร้าของ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์ พระนามแรกของเจ้าฟ้าเหม็น
ท่านมีพระยศพระรัชทายาทรออยู่ 

สำหรับพระประวัติของ หม่อมเหม็น ที่จารจารึกในพระราชพงศาวดารนั้น ระบุว่า ประสูติเมื่อวันศุกร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 11 จ.ศ. 1141 หรือวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2322 ได้รับพระนามเมื่อประสูติว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์ แต่คนทั่วไปเรียกว่า เจ้าฟ้าเหม็น เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี กับเจ้าครอกฉิมใหญ่ ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฉิมใหญ่ พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ใน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ดังปรากฏใน จดหมายเหตุความทรงจำกรมหลวงนรินทรเทวี ซึ่งได้บันทึกเรื่องราวดังกล่าวไว้ ความว่า
 


"เจ้าฟ้ากษัตริย์ศึกเข้าเมืองได้ ณ วันจันทร์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 10 เจ้าเมืองหนี ได้พระแก้วพระบาง พระไอยกาเข้าเมืองได้ 3 วัน เจ้าลูกทรงครรภ์ประสูตร์เจ้า ณ วันศุกร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 10 ประสูตร์เปนพระราชกุมาร ประโคมแตรสังข์ลั่นฆ้องไชย แมงมุมทั้งไข่จิ้งจกตกพร้อมกัน แมงมุมอนิจกรรม จิ้งจกไปได้ 12 วัน เจ้าแม่สิ้นพระชนม์ ส่วนเจ้าลูกให้พระพี่นางเธอเอาไปเลี้ยง ให้นามเจ้าสุพันทวงษ์"

เมื่อแผ่นดินเปลี่ยนข้ามฟากมาฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา และสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ขึ้น
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงรับหลานรัก อันเป็นลูกคนเดียวของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฉิมใหญ่ พระธิดาองค์ใหญ่ที่ทรงรักอย่างมาก มาดูแล   ทำให้เจ้าฟ้าเหม็น ได้รับความเอ็นดูจาก พระเจ้าตา อย่างถึงที่สุด

เมื่อขึ้นแผ่นดินใหม่ รัชกาลที่ 1 ไม่โปรดนามที่พระเจ้าตากสิน ตั้งให้ลูก ด้วยเหตุผลว่า เป็นชื่อติดแผ่นดินเก่า จึงได้รับการเฉลิมพระนามใหม่เป็น เจ้าฟ้าอภัยธิเบศ และเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ ก่อนทรงกรมเป็น กรมขุนกษัตรานุชิต
 

และจุดนี้เอง หากวิเคราะห์ตามยศนั้น ตามปกติ ลูกกษัตริย์แต่ประสูตินั้น จะเป็นกรมหมื่น เป็นพื้นฐาน การจะขึ้นทรงกรมถึงที่ กรมขุน จะต้องทำงานทำราชการมากมาย กว่าจะได้ขึ้นยศนี้ 
แต่เจ้าฟ้าเหม็น ทรงได้รับแต่งตั้งโดยไม่เคยทำงานใดๆ นอกจากดูแลใกล้ชิดพระองค์พระเจ้าตา
และในกรณีการผลัดแผ่นดิน กลุ่มคนที่ร่วมก่อการตามการอ้างจากหนังสือที่อีกาแสนรู้ คาบเอามาทิ้งข้างพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท อ้างว่าจะยกราชสมบัติคืนให้กับเชื้อสายพระเจ้าตากสิน 
แต่คนที่ตายส่วนหนึ่ง คือคนร่วมก่อการขิงแผ่นดินกับรัชกาลที่ 1 ? หรือไม่ก็เป็นเชื้อสายคนร่วมก่อการ?
ทำให้ภาพที่ฉายออกมา ทำให้ไม่สามารถเชื่อได้ว่า การตายของเจ้าฟ้าเหม็น คือการล้างโคตรวงศ์พระเจ้าตาก อย่างที่เขากล่าวอ้าง
แต่ทิศทางมันคือ ความอิจฉาริษยา บวกกับความหมั่นไส้ ในความเป็นหลานรักมากกว่า....

ภายหลังสถานการณ์เลือดกรณีนี้ จดหมายเหตุรัชกาลที่ 2 จุลศักราช 1171 - 1174.-- กรุงเทพฯ : สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, 2562, หน้า 16 ระบุเหตุการณ์หลังจากนั้นไว้ว่า หลังจากการประหารกลุ่มที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏแล้วนั้น อีกาที่คาบข่าวมาแจ้ง ได้รับรางวัลตอบแทนเป็นข้าว"..ดำรัสว่ากามีความชอบ โปรดให้พระราชทานข้าวกา ตั้งแต่นั้นมาจนทุกวันนี้.."
 

logoline