เช็กที่นี่ อาการ "ตากระตุก" ที่ไม่ใช่ลางร้าย แต่เป็นสัญญาณบอกภัยบางอย่าง
รู้ไหมอาการ“ตากระตุก” ไม่ใช่แค่เรื่องของโชคลาง แต่เป็น"สัญญาณ"ของร่างกายที่บอกว่ามีอาการบางอย่างซ่อนอยู่
ตากระตุก (Eye Twitching) คือการที่เปลือกตามีการขยับเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว เป็นได้ทั้งเล็กน้อยหรือเป็นถี่ๆ จนทำให้รำคาญได้ ส่วนใหญ่มักมีอาการไม่รุนแรง ไม่เจ็บปวด ไม่เป็นอันตราย เกิดขึ้นไม่นานก็หายได้เอง แต่ในบางครั้งการที่ตากระตุกอาจเป็นสัญญาณเตือนของอาการบางอย่างได้ด้วย
สาเหตุของตากระตุก
- นอนหลับไม่เป็นเวลา พักผ่อนไม่เพียงพอ มีความเครียดสะสม
- ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมาก
- การสูบบุหรี่
- ตาจ้องมองแสงสว่าง หรือแสงจ้า
- ตาล้า ตาแห้ง ตาโดนลม หรือมลพิษทางอากาศ
- เปลือกตาด้านในระคายเคือง เป็นโรคภูมิแพ้
- ขาดวิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารบางชนิด
- ผลข้างเคียงจากยา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ลูทีนตัวช่วยดีๆ สำหรับดวงตา
- เทคนิคแก้ตาแห้ง ตาล้า ดูแล“สายตา” เวลาเรียนออนไลน์และWork from Home
- 8 วิธีดูแลดวงตา เมื่อต้องอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ และสมาร์ทโฟน
บรรเทาอาการตากระตุก
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ สิ่งที่ผ่อนคลาย ไม่เครียด
- ลดและงดการใช้ Smart phone จ้องมองคอมพิวเตอร์ หรือแทบเล็ต
- ลด/หลีกเลี่ยง ชา กาแฟ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- งดสูบบุหรี่
- หมั่นนวดกล้ามเนื้อรอบดวงตา
- ประคบร้อน/อุ่นบริเวณดวงตา ประมาณ 10 นาที
- หากเกิดอาการตาแห้ง หรือเกิดอาการระคายเคืองตา สามารถหยอดน้ำตาเทียมได้
ตากระตุกแบบนี้ ต้องรีบไปพบแพทย์
- มีอาการตากระตุกติดต่อกันนาน 2 สัปดาห์ขึ้นไป
- ตากระตุกทั้งสองข้าง หรือมีอาการหลายตำแหน่งบนใบหน้า
- บริเวณที่เกิดตากระตุกมีอาการอ่อนแรงหรือหดเกร็ง
- ตาบวม แดง มีน้ำตาหรือสารคัดหลั่งไหลออกมามาก
- เปลือกตาด้านบนห้อยย้อยลงมา รบกวนการมองเห็น
- เปลือกตาปิดสนิททุกครั้งที่มีอาการกระตุก
การรักษาอาการตากระตุก
หากมีอาการดังกล่าวข้างต้น และดูแลตัวเองเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบพบแพทย์เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายแรงบางอย่าง เช่น โรคอัมพาตใบหน้า (Bell’s Palsy) โรคกล้ามเนื้อบิดเกร็ง (Dystonia) เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมกับอาการ ซึ่งการรักษานั้นจะเป็นไปตามความรุนแรงและดุลยพินิจของแพทย์ ดังนี้
ขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลสมิติเวช https://www.samitivejhospitals.com, ภาพจาก Unsplash