Program Online

(คลิปข่าว) หาเสียงออนไลน์...อันตราย ได้(ไม่)คุ้มเสีย?

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

(คลิปข่าว) หาเสียงออนไลน์...อันตราย ได้(ไม่)คุ้มเสีย?

มีเสียงแจ้งเตือนจากผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ที่บอกว่าปัญหา "ดิจิทัลดราม่า" กำลังจะเกิดขึ้นตามมา จากการเปิดให้มีการหาเสียงในโลกออนไลน์ และจะลุกลามเป็นความขัดแย้งในโลกของความจริง เนื่องจากจะมีคดีฟ้องร้องระหว่างกันจากกองเชียร์และกองแช่งของพรรคการเมืองต่างๆ มากมายจนนับไม่ถ้วน

ข้อมูลการสำรวจของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA พบว่า คนไทยใช้เวลากับอินเทอร์เน็ตมากกว่า 10 ชั่วโมงต่อวัน โดยสื่อสังคมออนไลน์ที่คนไทยนิยมใช้มากที่สุดได้แก่ เฟสบุ๊ค อินสตาแกรม และ ทวิตเตอร์ ช่องทางเหล่านี้เป็นสื่อที่นักการเมืองจะนำมาใช้ประโยชน์ในการหาเสียงอย่างแน่นอนแม้ว่าสื่อสังคมออนไลน์จะมีประโยชน์ต่อการหาเสียงของพรรคการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มพื้นที่หาเสียงด้วยงบประมาณที่ไม่มาก สามารถทำให้ผู้สนับสนุนหรือสนใจนโยบายพรรคสร้างการมีส่วนร่วมได้ทันที หรือแม้แต่การนำข้อมูลจำนวนมหาศาลไปต่อยอด เพื่อวิเคราะห์หาเป้าหมายผู้สนับสนุนพรรคและนโยบายก็ตาม แต่หากมองอีกมุมหนึ่ง การหาเสียงผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ก็อาจส่งผลในทางลบได้เช่นกัน หากประชาชนนำไปใช้อย่างขาดสติ เพราะจะเกิดสงครามการสาดโคลนระหว่างผู้สนับสนุนพรรคการเมืองหรือผู้สมัครต่างขั้ว จนกลายเป็น "ดิจิทัลดราม่า" บนโลกออนไลน์ และอาจขยายขอบเขตออกไปจนกลายเป็นข้อขัดแย้งในโลกความเป็นจริงได้ นอกจากนั้นยังมีปัญหาการเผยแพร่ข่าวเท็จ หรือบิดเบือนข้อมูล การสร้างกระแสความนิยมหรือสนับสนุนอย่างสุดโต่ง จนอาจทำให้เกิดปรากฏการณ์ "ห้องเสียงสะท้อน" หรือ เอคโค่ แชมเบอร์ (Echo chamber) ในโลกออนไลน์ขึ้นมา นำไปสู่การฟ้องร้องหมิ่นประมาทและการกระทำความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พันธ์ศักดิ์ อาภาขจร ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการสื่อสารยังบอกอีกว่า การเลือกตั้งทั่วไปในทุกประเทศ เรียกได้ว่าเป็นการขับเคี่ยวที่มีประเทศชาติเป็นเดิมพัน ฉะนั้นทุกพรรคการเมืองจึงต้องทำทุกวิถีทางเพื่อให้สมาชิกของตัวเองเข้าไปนั่งในสภาให้มากที่สุด การเปิดช่องทางสื่อสังคมออนไลน์จึงเป็นโอกาสของทุกพรรคที่จะใช้ศักยภาพสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทุกรูปแบบ สื่อสังคมออนไลน์จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของสนามเลือกตั้งที่จะเกิดปรากฎการณ์ต่างๆ ทุกรูปแบบ จะเกิดข่าวปลอม หรือ เฟคนิวส์ (Fake News) รวมถึงการใช้เทคโนโลยีมาตัดต่อภาพเพื่อบิดเบือนความจริง หรือ ดีพเฟค (Deep Fakes) ได้อย่างง่ายดาย การเลือกตั้งในครั้งนี้ แม้ว่าจะมีนักการเมืองรุ่นใหม่เสนอตัวเข้ามาทำงานรับใช้ชาติจำนวนไม่น้อย แต่ก็ยังมีนักการเมืองรุ่นเก่าอีกมากเหมือนกันที่ยังสลัดพฤติกรรมเดิมไม่หลุด แต่จากการสำรวจความเห็นของสังคมไทยในยุคดิจิทัลพบว่า คนไทยส่วนใหญ่อยากเห็นการหาเสียงและการเลือกตั้งที่สร้างสรรค์มากกว่าการใส่ร้ายป้ายสี หรือเล่นสงครามสาดโคลนใส่กันเหมือนในอดีต ฉะนั้นสิ่งที่สังคมไทยต้องให้ความสำคัญอีกอย่าง ก็คือการตระหนักเรื่องการใช้สื่อสังคมออนไลน์ เพื่อลดความขัดแย้งขนาดใหญ่ในแบบ "น้ำผึ้งหยดเดียว"

(คลิปข่าว) หาเสียงออนไลน์...อันตราย ได้(ไม่)คุ้มเสีย? (คลิปข่าว) หาเสียงออนไลน์...อันตราย ได้(ไม่)คุ้มเสีย?

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ