วันนี้ในอดีต

 รำลึก 'ทูลกระหม่อมหญิงใหญ่' ต้นกำเนิดนามถนน 'พาหุรัด'

รำลึก 'ทูลกระหม่อมหญิงใหญ่' ต้นกำเนิดนามถนน 'พาหุรัด'

19 ธ.ค. 2562

วันนี้ในอดีต เรื่องราวของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัตมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

 

 

****************************

 

วันนี้เมื่อ 141 ปีก่อน คือวันที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัตมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติกาล

 

สำหรับพระประวัติมีว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัตมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ ทรงเป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งประสูติแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

 

แรกเริ่มพระองค์ยังไม่ได้รับพระราชทานพระนาม ชาววังจึงออกพระนามว่า "ทูลกระหม่อมหญิงใหญ่" ทั้งนี้เพราะทรงเป็นพระราชธิดาพระองค์แรกซึ่งงประสูติแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

 

 

 

รำลึก \'ทูลกระหม่อมหญิงใหญ่\' ต้นกำเนิดนามถนน \'พาหุรัด\'

 

 

โดย สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงมีพระราชโอรสพระราชธิดาทั้งสิ้น 14 พระองค์ โดยเป็นพระราชโอรส 7 พระองค์ พระราชธิดา 2 พระองค์ และตกเสีย 5 พระองค์ คือ

 

 

รำลึก \'ทูลกระหม่อมหญิงใหญ่\' ต้นกำเนิดนามถนน \'พาหุรัด\'

สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

 

 

 

1.สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ (พ.ศ. 2421-2430)

2.ตกเสียเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2422

3.พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2423-2468)

4.สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพชรุตม์ธำรง (พ.ศ. 2424-2430)

5.จอมพลสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ (พ.ศ. 2425-2463)

6.ตกเสียเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2426

7.สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ (พ.ศ. 2428-2430)

8.ตกเสียเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2429

9.สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าหญิง (ประสูติเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2430 แต่สิ้นพระชนม์ในวันประสูติ)

10.พลเรือเอกสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา (พ.ศ. 2432-2467)

11.ตกเสียเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2433

12.ตกเสียเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2435

13.สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย (พ.ศ. 2435-2466

14.พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2436-2484)

 

 

 

รำลึก \'ทูลกระหม่อมหญิงใหญ่\' ต้นกำเนิดนามถนน \'พาหุรัด\'

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จเจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย (ภาพจากhttp://valuablebook2.tkpark.or.th/2015/15/gallery2.html)

 

 

 

แต่น่าเศร้าใจยิ่ง "ทูลกระหม่อมหญิงใหญ่" เมื่อพระองค์ตามเสด็จพระบิดาประพาสเมืองเพชรบุรีได้ 3-4 วัน ก็ประชวรไข้ จนเสด็จกลับพระนครก็ไม่หาย มีพระอาการเสวยไม่ได้ พระกายซูบผอมและร้อนบ้าง มีพระบังคนปนเสมหะ และมีพระยอดขึ้นที่พระศอบ้างพระกรรณบ้าง

 

 

จนกระทั่งสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2430 เวลา 12:42 น. ขณะพระชันษา 8 ปี 8 เดือน 11 วัน โดยสิ้นพระชนม์หลังประชวรได้ 8 เดือนเศษ 

 

 

 

รำลึก \'ทูลกระหม่อมหญิงใหญ่\' ต้นกำเนิดนามถนน \'พาหุรัด\'
 

 

ทั้งนี้ในประกาศราชกิจจานุเบกษา ระบุว่า พระยาอมรสาตประสิทธสิลป และหมอจ๋าย เป็นแพทย์ถวายพระโอสถ และสำหรับพระโรคที่ทำให้สิ้นพระชนม์ กล่าวเป็นคำสามัญน่าจะเป็น ฝีปะคำร้อย หรือวัณโรคผิวหนังที่คอ

 

ถึงเวลา 5 โมงเย็นเศษ เชิญพระศพไปยังพระที่นั่งจักรีมหาประสาทองค์ตะวันออกสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารพระราชทานน้ำหลวงสรงพระศพ

 

ต่อมาย้ายไปประดิษฐาน ณหอธรรมสังเวชเคียงข้างพระโกศพระศพสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์แล้วโปรดให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทอดผ้าบังสุกุล พระสงฆ์ 160 รูปมีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรสเป็นประธานสวดสดับปกรณ์

 

 

 

รำลึก \'ทูลกระหม่อมหญิงใหญ่\' ต้นกำเนิดนามถนน \'พาหุรัด\'

สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถทรงอุ้มสมเด็จเจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย

 

 

 

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เฉลิมพระนามหลังสิ้นพระชนม์ว่าสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพาหุรัตมณีมัย ประไพพรรณพิจิตร์ นริศรราชกุมารี ในปี 2431

 

ส่วนสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงจึงทรงนำทรัพย์สินส่วนพระองค์ของพระราชธิดามาสร้างเป็นถนนโดยพระราชทานนามว่า “พาหุรัด” เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระราชธิดาอันเป็นที่รัก

 

 

 

รำลึก \'ทูลกระหม่อมหญิงใหญ่\' ต้นกำเนิดนามถนน \'พาหุรัด\'

ภาพจากผู้ใช้เวบไซต์พันทิป : NickyNick

 

 

 

ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชโองการสถาปนาพระอัฐิสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ เป็นเจ้าฟ้าต่างกรมฝ่ายในที่ “กรมพระ” มีพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้าพาหุรัตมณีมัย ประไพพรรณพิจิตร์ นริศรราชกุมารี กรมพระเทพนารีรัตน์

 

เจ้าฟ้าพาหุรัตมณีมัยนั้น เมื่อยังเสด็จดำรงพระชนม์อยู่ ทรงมีมารยาทเรียบร้อยเป็นอันดีสมควรกับขัตติยราชกุมารี เป็นที่เสน่หาปราโมทย์แห่งพระประยูรญาติทั้งปวงยิ่งนัก

 

ทั้งนี้ ทรงมีพระอิสริยยศ เรียงลำดับดังนี้

1.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิง (19 ธันวาคม 2421-2431)

 

ภายหลังการสิ้นพระชนม์

2.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพาหุรัตมณีมัย ประไพพรรณพิจิตร์ นริศรราชกุมารี (ปี 2431-23 ตุลาคม 2453)

3.สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้าพาหุรัตมณีมัย ประไพพรรณพิจิตร์ นริศรราชกุมารี (23 ตุลาคม 2453 - 9 พฤศจิกายน 2458)

4.สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้าพาหุรัตมณีมัย ประไพพรรณพิจิตร์ นริศรราชกุมารี กรมพระเทพนารีรัตน์ (9 พฤศจิกายน 2458-10 กรกฎาคม 2478)

5.สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัตมณีมัย ประไพพรรณพิจิตร์ นริศรราชกุมารี กรมพระเทพนารีรัตน์ (10 กรกฎาคม 2478 - ปัจจุบัน)

 

 

อนึ่ง สำหรับ ถนนพาหุรัด นั้น เป็นถนนในท้องที่แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนครกรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ถนนบ้านหม้อ(สี่แยกบ้านหม้อ) ไปทางทิศตะวันออก ตัดกับถนนตรีเพชร(สี่แยกพาหุรัด) จนถึงถนนจักรเพชร

 

 

 

รำลึก \'ทูลกระหม่อมหญิงใหญ่\' ต้นกำเนิดนามถนน \'พาหุรัด\'

 

 

ถนนพาหุรัดเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นโดยทรงใช้ทรัพย์ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์พระราชธิดาซึ่งประสูติจากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงและสิ้นพระชนม์ขณะพระชันษา 8 พรรษา

 

จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลพระราชทานและพระราชทานนามถนนว่า “ถนนพาหุรัด”

 

 

รำลึก \'ทูลกระหม่อมหญิงใหญ่\' ต้นกำเนิดนามถนน \'พาหุรัด\'

 

 

ทุกวันนี้ถนนพาหุรัด เป็นย่านที่มีสินค้าที่มีให้เลือกสรรอย่างมากมายและหลากหลายทั้งผ้าตัด อุปกรณ์ตัดเย็บ รวมไปถึงเสื้อผ้าสำเร็จรูปสารพัดชาติ ทั้งชุดไทย-การแสดงนาฏศิลป์ชุดจีน โดยเฉพาะส่าหรี นอกจากนี้พาหุรัดยังมีชุมชนเล็กๆที่ยังคงดำเนินวิถีแบบภารตะอยู่ จนทำให้หลายๆคน ขนานนามย่านพาหุรัด ว่าเป็น “ลิตเติ้ล อินเดีย”เมืองไทย

 

สถานที่สำคัญในบริเวณนั้น มีวัดคุรุดวาราศรีคุรุสิงห์สภา(วัดซิกข์) เป็นวัดซิกข์แห่งแรกของไทย และยังมีห้างดิโอลด์สยามพลาซ่าห้างไชน่า เวิลด์ (เดิมชื่อห้างเซ็นทรัลวังบูรพา) และย่านการค้าอีกมากมาย

 

 

**************************