28 มิ.ย.2524 ไมล์สุดท้ายของ "เทร์รี่ ฟอกซ์"
วันนี้ในอดีต 28 มิถุนายน 2562
***********
สำหรับคนไทยบางคน การวิ่งมาราธอน เพิ่งมานิยมเอาตอนที่พี่ตูนออกวิ่งแล้วเป็นข่าวใหญ่โต แต่อีกหลายคนคือ สุขภาพ ชัยชนะ และการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์
การวิ่งของ “แซม - ณัฐพล เสมสุวรรณ”หนุ่มวัย 32 ที่ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว เขาก็เข้าสู่โครงการ “ก้าวคนละก้าว” ฮึดสู้ เพราะมี “พี่ตูน” เป็นไอดอล!!!
แต่การวิ่งของ สแตนลีย์ เทร์รี ฟอกซ์ นอกจากที่เขาจะวิ่งเพื่อรณรงค์เรียกร้องให้มีการเร่งวิจัยเพื่อหาหนทางรักษามะเร็งแล้ว หลายคนเชื่อว่ามีมากกว่านั้น นั่นคือการสร้างความหวังให้ตนเองไปด้วย
นั่นเพราะเขาเองก็เป็นหนึ่งในผู้ป่วยมะเร็งกระดูก ที่โชคร้ายถึงขนาดต้องตัดขาออกข้างหนึ่ง แต่เขาก็ลุกขึ้นวิ่งด้วยขาข้างเดียวกับขาเทียมอีกข้าง เพื่อให้ชาวโลกได้เห๋น และตัวเองได้ตระหนัก ว่าพลังใจสามารถสร้างขึ้นได้ด้วยตนเองเหมือนกัน
แต่น่าเศร้าที่ วันนี้เมื่อ 38 ปีก่อน วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2524 "เทร์รี่ ฟอกซ์" จบไมล์สุดท้ายของชีวิตไว้ที่วัย 23 ระหว่างทางวิ่ง
แต่เรื่องราวของเขายังดำเนินต่อไปเรื่อยๆ อย่างน้อยกในคนที่มีชะตากรรมเดียกวับคนอีกหลายล้านคนบนโลกใบนี้
สแตนลีย์ เทร์รี ฟอกซ์ เกิดเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2501 ที่เมืองซึ่งตั้งอยู่บริเวณที่แม่น้ำอัสซินิบอยน์และแม่น้ำเรดไหลมาบรรจบกัน "วินนิเพก" รัฐแมนิโทบา ประเทศแคนาดา
https://www.timetoast.com/timelines/terry-fox
ชีวิตที่เริ่มต้นมาด้วยดีด้วยการเป็นนักกรีฑา ทำตามความรัก แต่แล้ว ช่วงปี 2520 ที่เทร์รี่ในวัย 19 ปี เกิดป่วยเป็นมะเร็งกระดูก กระทั่งมันลุกลามจนต้องตัดขาออกข้างหนึ่งซึ่งเป็นข้างขวา
เขารักษาตัวและสวมขาเทียม จนผ่านมาถึงปี พ.ศ. 2523 ฟอกซ์ตัดสินใจออกวิ่ง ทั้งที่สวมขาเทียม โดยประกาศทำกิจกรรมรณรงค์วิ่งข้ามประเทศแคนาดา เพื่อระดมทุนและกระตุ้นสังคมต่อการวิจัยการรักษามะเร็ง และยังนำเงินทั้งหมดที่ได้ มอบให้กับสถาบันวิจัยโรคมะเร็งเพื่อใช้เป็นประโยชน์ในอนาคตข้างหน้า
และระหว่างที่ใครๆ พากันบอกว่ามันเป็นไปไม่ได้ แต่เจ้าตัวไม่เคยย่อท้อ และออกวิ่งในวันที่ 12 เมษายน 2523 เส้นทางคือ เริ่มวิ่งจากเมืองเซนต์จอห์น รัฐนิวฟาวด์แลนด์ ทางทิศตะวันออกของประเทศ มุ่งหน้าไปยังเมืองวิคตอเรีย รัฐบริติชโคลัมเบีย ทางทิศตะวันตกของแคนาดาโดยมีทุนที่ตั้งเป้าไว้จำนวน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 33.16 ล้านบาท)
ในโปรแกรมการวิ่ง วันหนึ่งฟอกซ์วิ่ง 41 กิโลเมตร ท่ามกลางอุปสรรคมากมาย ไม่ใช่แค่คำสบประมาท แต่สภาพอากาศยังโหดอีกด้วย ดังที่รู้ว่าแคนาดานั้นถ้าไม่หนาวเหน็บก็ร้อนอบอ้าวไปเลย
อย่างไรก็ดี มีผู้คนและคนดังเข้ามาบริจากกันจำนวนมาก จนกระทั่งเมื่อฟอกซ์วิ่งมาได้ 143 วัน ร่างกายของเขาก็ไปต่อไม่ไหวอีกแล้ว
ระยะทางของมาราธอนที่เขาทำได้ตอนนั้น 5,373 กิโลเมตร หรือ 3,339 ไมล์ แต่ระยะทางของชีวิตเขาในโลกนี้ มันกำลังหมดลง
ฟอกซ์ถูกนำตัวส่งเข้าโรงพยาบาล และหน่วยแพทย์ได้รายงานว่าเชื้อมะเร็งได้ลามไปสู่ปอดของเขาเสียแล้ว จนกระทั่งเสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2524 หลังเข้ารักษาตัวด้วยเคมีบำบัด
ที่สุด สิ่งที่ฟอกซ์ทำไว้ ก็กลายเป็นตำนานและแรงบันดาลใจให้ผู้คน และการวิ่งรณรงค์ของฟอกซ์ได้รับการขนานนามว่า ‘มาราธอนแห่งความหวัง’ (Marathone of Hope)
ฟอกซ์ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ Companion of the Order of Canada หลังเสียชีวิต มีรูปปั้นเพื่อการรำลึกถึงในหลากหลายสถานที่
มีเรื่องราวเล่าขานไม่จบ และกิจกรรมการวิ่ง เทอร์รี ฟอกซ์ ก็ยังมีการจัดต่อมาอีกหลายครั้งจนถึงปัจจุบัน
***************//***************