วันนี้ในอดีต

19 ต.ค.2559  ประหารเจ้าชายซาอุฯ  จากคดีสังหารราษฎร 1 ศพ

19 ต.ค.2559 ประหารเจ้าชายซาอุฯ จากคดีสังหารราษฎร 1 ศพ

19 ต.ค. 2561

ในค่ำคืนก่อนวันประหาร พระองค์ตื่นละหมาดหลังเที่ยงคืน และอ่านอัลกุรอานจนถึงเข้าละหมาดศุบฮิ แบบอย่างที่กล่าวกันว่า "ผู้ผิดพลาดที่ดีที่สุดคือผู้กลับเนื้อกลับตัว"

          ต้องบอกเลยว่านี่คือ ตัวอย่างของคำว่า “ความยุติธรรมที่มีอยู่จริง”!!

          เมื่อ ซาอุดีอาระเบีย ได้ทำการประหารชีวิต หนึ่งในสมาชิกราชวงศ์ซาอูด ผู้ครอบครองซาอุดีอาระเบียซึ่งถือเป็นเจ้าชายพระองค์หนึ่ง เพราะพระองค์ทรงเป็นเชื้อพระวงศ์รุ่นที่ 6 ของกษัตริย์สะอูดผู้สถาปนาประเทศซาอุฯ ในข้อหาฆ่าคนโดยเจตนา เมื่อวันนี้ของ ปีก่อน ซึ่งตรงกับวันอังคารที่ 19 .. 2559 ในเวลาประเทศไทย ณ นครริยาร์ด

          จนใครๆ ต่างนับถือในความเที่ยงธรรมตามกฎหมายของอัลลอฮ ที่ไม่แบ่งชนชั้น!!

19 ต.ค.2559  ประหารเจ้าชายซาอุฯ  จากคดีสังหารราษฎร 1 ศพ

          สำหรับสาเหตุของเรื่องราวนี้ เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ 3-4 ปีก่อนการประหาร เมื่อเจ้าชายหนุ่มวัย 25 กำลังคะนอง นามว่า “เจ้าชายเตอร์กี บิน ซาอุด บิน เตอร์กี บิน อัล-กาบีร์” ออกไปเที่ยวประสาชายหนุ่ม

          แต่โชคไม่ดีนัก พระองค์ไปมีเรื่องชกต่อยกับกลุ่มคน ที่เขต อัล-ทูมามา ( Al Thumama) ชานเมืองกรุงริยาร์ดประเทศซาอุดิอาระเบีย จนกระทั่งเจ้าชายได้มีการชักปืนออกมายิงหนึ่งในชายกลุ่มดังกล่าวจนเสียชีวิต! เขาคือ เอเดล บิน สุไลมาน บิน อับดุลการีม อัล-มูไฮมีด

19 ต.ค.2559  ประหารเจ้าชายซาอุฯ  จากคดีสังหารราษฎร 1 ศพ

เอเดล บิน สุไลมาน บิน อับดุลการีม อัล-มูไฮมีด (คนซ้าย)

          ที่สุด เรื่องราวเกิดเป็นคดี มีการดำเนินการถึงชั้นศาล และศาลซาอุฯ ได้ตัดสินสั่งประหารชีวิตตั้งแต่ปี 2556 ด้วยการตัดคอ ซึ่งเวลานั้นข่าวได้ตีข่าวไปทั่วโลก เพราะพระองค์นับเป็นราชวงศ์องค์แรกถูกตัดสินประหารชีวิตนับตั้งแต่ปี 2518 เป็นต้นมา

19 ต.ค.2559  ประหารเจ้าชายซาอุฯ  จากคดีสังหารราษฎร 1 ศพ

ภาพประกอบ แสดงการประหารของประเทศซาอุฯ ที่เกิดขึ้นท่ามกลางฝูงชนที่จตุรัสดีรา

          แต่แล้วที่สุด คดีนี้ ยังคงไม่จบ เพราะกว่าจะมาถึงวันที่ประหารจริง มีรายงานตรงกันว่า ระหว่างนั้น ก็มีบุคคลเบื้องสูงระดับเชื้อพระวงศ์ที่ได้เข้าเจรจาหว่านล้อมให้บิดาของโจทย์ให้อภัย โดยแลกกับค่าสินไหมทดแทน แต่ฝ่ายพ่อของผู้เสียชีวิตก็ไม่ยอมตามนั้น ว่ากันว่าเงินจำนวนนั้นมากมายมหาศาลถึง 100 ล้านริยาล (1 ริยาล มีค่าเท่ากับ 8.69 บาทในปัจจุบัน)

          นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า ระหว่างที่ถูกคุมขังอยู่นั้น ฝ่ายเจ้าชายเอง จากเดิมที่ในวันเกิดเหตุเขามีอาการมึนเมา ขาดสติและคลุ้มคลั่ง แต่ภายหลังจากถูกคุมขัง พระองค์ได้กลับตัวใหม่ เป็นนักโทษชั้นดี ปฏิบัติธรรมด้วยดีมาตลอด

         และในค่ำคืนก่อนวันประหาร พระองค์ตื่นละหมาดหลังเที่ยงคืน และอ่านอัลกุรอานจนถึงเข้าละหมาดศุบฮิ แบบอย่างที่กล่าวกันว่า “ลูกหลานอาดัม (มนุษย์) ทุกคน ย่อมมีความผิด และผู้ที่ดีที่สุดในหมู่ผู้มีความผิด คือ ผู้ที่กลับเนื้อกลับตัว” (ข่าวจาก http://www.bawabatii.com/news85410.html)

          และแล้วเมื่อถึงเวลา กระทรวงมหาดไทยของซาอุดีอาระเบีย ก็ได้ประกาศประหารชีวิตเจ้าชาย นับเป็นนักโทษประหารลำดับที่ 134 ที่ถูกตัดสินรับโทษประหารชีวิตในปีนั้น

19 ต.ค.2559  ประหารเจ้าชายซาอุฯ  จากคดีสังหารราษฎร 1 ศพ

จตุรัสดีรา (Deera square)

         ที่สุดไม่กี่ชั่วโมงก่อนการประหารชีวิต เจ้าชายได้รับอนุญาตให้พบกับครอบครัวของพระองค์ ซึ่งเจ้าชายก็ได้ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมงกับครอบครัว มีการกล่าวคำขอโทษต่อทุกๆ คน ท่ามกลางน้ำตาของทุกคนตรงนั้น ไม่ว่าคนที่รักพระองค์ทั้งหมด และตัวพระองค์เอง

          ต่อมาประมาณ 11 โมง ครอบครัวของเหยื่อที่ถูกยิงตาย ฃโดยเจ้าชายซาอุผู้นี้ ก็ได้มายังพื้นที่ที่กำหนดในขณะที่กำลังเตรียมพร้อมสำหรับการประหารชีวิต

          ว่ากันว่าเวลานั้น สมาชิกคนสำคัญของซาอุดิอาระเบีย ได้มีการพูดคุยกับสมาชิกในครอบครัวของเหยื่อเพื่อให้อภัยเจ้าชายและรับเงินเป็นครั้งสุดท้ายก่อนการประหารชีวิต แต่พวกเขายังคงปฏิเสธ!!  

      ที่สุดการประหารชีวิตถูกดำเนินการในทันที หลังจากการสวดอ้อนวอน Duhr เวลา 16.13 . ทุกอย่างเกิดขึ้น ภายใต้การรักษาความปลอดภัยอย่างหนัก และแน่นอนที่ทุกคนจะได้ยินเสียงร้องไห้ของครอบครัวฝั่งผู้ถูกประหาร ที่ดังระงมไปทั่งบริเวณพิธีการ

          ซึ่งก็ไม่ใช่ที่ไหนเลย การประหารเกิดขึ้นที่ จตุรัสดีรา (Deera square) กลางเมืองหลวงริยาร์ด ซึ่งผู้คนเรียกกันทั่วไปว่า "จตุรัส ช็อพ-ช็อพ (Chop-chop square)" หรือ จตุรัสตัดหัว นักโทษประหาร นั่นเอง (คำว่า Chop แปลว่า สับ)

19 ต.ค.2559  ประหารเจ้าชายซาอุฯ  จากคดีสังหารราษฎร 1 ศพ

          อนึ่ง การลงโทษด้วยการประหารชีวิตถูกใช้เป็นบทลงโทษสำหรับการก่ออาชญากรรมอันร้ายแรงในซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นไปตามกฎระเบียบของศาสนาอิสลามในเกือบทุกก้าวเดินของชีวิต ฆาตกรรม การก่อการร้าย และความผิดที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ทั้งหมดนี้ส่วนใหญ่มักจะถูกตัดสินลงโทษด้วยการประหารชีวิต

          ทั้งนี้ การประหารชีวิตเจ้าชายเตอร์กี นับเป็นการประหารชีวิตสมาชิกในราชวงศ์คนแรกของซาอุดีอาระเบียในรอบ 40 ปี หลังจากเจ้าชายไฟซาล บิน มูซาอิด อัล ซาอุด ทรงถูกประหารชีวิตด้วยวิธีการตัดศีรษะในปี 2518 ด้วยความผิดจากการลอบสังหารกษัตริย์ไฟซาล

          และหนนี้จึงเป็นการพิสูจน์ความเที่ยงธรรมอีกครั้งโดยไม่เลือกปฏิบัติของทางการซาอุฯ เมื่อเจ้าชายพระองค์หนึ่งต้องรับโทษทัณฑ์ หลังจากได้รับการพิสูจน์ว่าเขาฆ่าพลเมืองของพระองค์เอง

           แม้เพียงชีวิตเดียว แต่ก็คือชีวิตที่เท่ากัน!

////////

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก

วิกิพีเดีย

เฟซบุค “ศาสนาอิสลามคือการตักเตือน”

https://gulfnews.com/news/gulf/saudi-arabia/final-hours-of-executed-saudi-prince-recounted-1.1916096