วันนี้ในอดีต

 27 ก.ค.2554 สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ สิ้นพระชนม์!

27 ก.ค.2554 สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ สิ้นพระชนม์!

27 ก.ค. 2561

พระจริยาวัตรอันบริสุทธิ์สะอาด ที่ทรงได้รับการอบรมจากพระชนนี ไม่ทรงรู้จักคำหยาบคายเลยแม้แต่คำเดียว ทรงตรัสว่าโทสะก็เหมือนไฟในตะเกียง ถ้าแรงนักก็ค่อยๆ หรี่ลง

          วันนี้เมื่อ 7 ปีก่อน คืออีกวันหนึ่งที่มีความสำคัญมากสำหรับปวงชนชาวไทย คือ วันสิ้นพระชนม์ของ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี

          เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ตลอดจนพระจริยาวัตรอันงดงาม วันนี้ในอดีตจึงขออันเชิญพระประวัติมานำเสนอดังนี้

          พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดาพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 กับพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี

27 ก.ค.2554 สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ สิ้นพระชนม์!

          พระนาม เพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี นั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้ในพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ โดยมีคำนำหน้าพระนามเป็นสมเด็จพระเจ้าภาติกาเธอ (ลูกสาวของพี่ชาย) ในรัชกาลที่ 7 และเป็นพระภคินี (ลูกพี่ลูกน้อง) ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร หรือล้นเกล้ารัชการที่ 8และ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช หรือล้นเกล้ารัชการลที่ 9และโดยพระชนมายุพระองค์จึงเคยเป็นพระกุลเชษฐ์ในพระบรมราชจักรีวงศ์

          สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ประสูติเมื่อวันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.. 2468 เวลา 12 นาฬิกา 52 นาที ณ พระที่นั่งเทพสถานพิลาส ในหมู่พระมหามณเฑียร ภายในพระบรมมหาราชวัง โดยประสูติก่อนการเสด็จสวรรคตของพระราชบิดาเพียงวันเดียว

27 ก.ค.2554 สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ สิ้นพระชนม์!

สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี และพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี พระมารดา

          ก่อนการมีพระประสูติกาลนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้สถาปนา นางสาวสุวัทนา อภัยวงศ์ ขึ้นเป็นเจ้าจอมสุวัทนา และมีการสถาปนาเจ้าจอมสุวัทนา ขึ้นเป็นเจ้านายในราชวงศ์จักรี มีพระอิสริยยศที่ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ในเดือนตุลาคมปีเดียวกันนั้นเอง ทั้งนี้เพื่อ "...ผดุงพระราชอิศริยยศแห่งพระกุมารที่จะมีพระประสูติการในเบื้องหน้า"

          พระนามของสมเด็จเจ้าฟ้าพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 นั้นได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.. 2468 และมีคำนำพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าภาติกาเธอ (ภาติกา หมายถึง หลานสาวที่เป็นลูกสาวของพี่ชาย) โดยก่อนหน้านี้มีการสมโภชได้มีการคิดพระนามไว้ 3 พระนาม ได้แก่

          1. สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชอรสา สิริโสภาพัณณวดี

          2. สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนจุฬิน สิริโสภิณพัณณวดี

          3. สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี

          ท้ายที่สุด พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงเลือกพระนามสุดท้ายพระราชทาน โดยพระนาม แปลว่า เจ้าฟ้าพระราชธิดาผู้มีพระชาติกำเนิดเป็นศรีดั่งดวงแก้ว เป็นพัชรแห่งมหาวชิราวุธ มีพระฉวีพรรณสิริโฉมงามพร้อม

27 ก.ค.2554 สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ สิ้นพระชนม์!

พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี

          ในเดือนมีนาคม พ.. 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ได้เสด็จผ่านพิภพขึ้นสืบสนองพระองค์ คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีประกาศเปลี่ยนคำนำพระนามสมเด็จพระเจ้าภาติกาเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ผู้เป็นพระขนิษฐภคินีในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็น สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ

          จากนั้นในปี พ.. 2489 เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบแทน ก็ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คงคำนำพระนามของสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ ที่ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ ดังเดิม เนื่องจากคำว่า "ภคินี" หมายถึง ลูกพี่ลูกน้องหญิง          

          ย้อนกลับไปในขณะที่ยังทรงพระเยาว์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ ได้ทรงพระอักษรเบื้องต้นโดยพระอาจารย์จากโรงเรียนราชินี เช่น หม่อมเจ้าหญิงพิจิตรจิราภา เทวกุล, หม่อมเจ้าหญิงเสมอภาค โสณกุล และครูพิศ ภูมิรัตน เป็นต้น จากนั้น ได้เสด็จไปทรงศึกษา ณ โรงเรียนราชินี เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.. 2476 พระองค์มีพระสหายสนิทในขณะนั้นคือ หม่อมราชวงศ์กอบศรี เกษมสันต์, โรสลิน เศวตศิลา และงามเฉิด อนิรุทธเทวา

          ต่อมาพระองค์ได้ลาออกจากโรงเรียนราชินีในเดือนพฤศจิกายน พ.. 2478 ขณะทรงพระอักษรในชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เพื่อทรงพระอักษรต่อ ณ สวนรื่นฤดี โดยพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ทรงจ้างมิสซิสเดวีส์ อดีตครูโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัยมาถวายพระอักษรวิชาภาษาอังกฤษและวิชาการคำนวณ ยังได้นำเด็ก ๆ ชาวต่างชาติมาร่วมกิจกรรมสนทนาภาษาอังกฤษ ว่ายน้ำและดื่มน้ำชาร่วมกับพระองค์เพื่อให้ทรงคุ้นเคยกับชาวต่างชาติและฝึกการรับสั่งภาษาอังกฤษด้วย

          นอกจากนั้นยังได้ทรงศึกษากับพระอาจารย์ไทยเป็นการส่วนพระองค์ที่พระตำหนัก โดยมีหม่อมเจ้าหญิงเสมอภาค โสณกุล ถวายพระอักษรวิชาวรรณคดีไทยและพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ โดยมีการถวายพระอักษรตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการอย่างเคร่งครัด

27 ก.ค.2554 สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ สิ้นพระชนม์!

          ต่อมาใน พ.. 2480 พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี พระชนนีทรงเห็นว่าพระพลานามัยของพระธิดาไม่สู้สมบูรณ์นักจึงนำพระธิดาไปทรงพระอักษรและประทับรักษาพระอนามัย ณ ประเทศอังกฤษ ซึ่งในขณะนั้น ล้นเกล้ารัชกาลที่ 7 เสด็จไปประทับอยู่ก่อนการสละราชสมบัติแล้ว

          พระองค์ทรงย้ายที่ประทับหลายแห่งตามลำดับ กล่าวคือ ตำหนักแฟร์ฮิลล์ เมืองแคมเบอร์เลย์ มณฑลเซอร์เรย์, ตำหนักหลุยส์เครสเซนต์ เมืองไบรตัน มณฑลซัสเซค และตำหนักไดก์โรด (บ้านรื่นฤดี) เมืองไบรตัน มณฑลซัสเซค

          ทั้งสองพระองค์ต้องประสบความยากลำบากนานัปการอันเนื่องมาจากเศรษฐกิจที่ฝืดเคืองในช่วงภาวะสงครามจึงทรงประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ ซึ่งรวมไปถึงการทำงานบ้านเองเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการจ้างข้าหลวงชาวต่างประเทศ โดยผู้ที่รับใช้ภายในพระตำหนักจะเป็นสตรีทั้งหมด

          สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ ทรงศึกษาวิชาภาษาอังกฤษ, ภาษาฝรั่งเศส และเปียโนกับพระอาจารย์ชาวต่างประเทศ ครั้นในช่วงเสด็จลี้ภัยสงครามโลกครั้งที่สอง ปี พ.. 2473 พระองค์เสด็จไปทรงศึกษาในโรงเรียนประจำสตรีชื่อโรงเรียนเซเครดฮาร์ต แคว้นเวลส์

          ส่วนพระมารดาทางสถานทูตได้จัดให้ทรงพำนักในโรงแรมอิมพีเรียลในเมืองแลนดัดโน ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปีที่พระองค์ประทับ ณ ประเทศอังกฤษ พระองค์และพระชนนีมีพระกรุณาต่อชาวไทยในประเทศอังกฤษ โดยโปรดให้เข้าเฝ้า และพระราชทานพระกรุณาแก่กิจการต่างๆ ของชาวไทยอยู่เสมอ

          นอกจากนี้ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง พระองค์ยังทรงอุทิศพระองค์ช่วยเหลือกิจการสภากาชาดอังกฤษ ประทานแก่ทหารและผู้ประสบภัยสงครามด้วยการเสด็จไปทรงบำเพ็ญประโยชน์ เช่น ม้วนผ้าพันแผล จัดยา และเวชภัณฑ์ สภากาชาดอังกฤษจึงได้ถวายเกียรติบัตรประกาศพระกรุณา

          และในขณะที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวยังมีพระชนมชีพหลังการสละราชสมบัติแล้ว พระองค์และพระชนนีได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอยู่เสมอ

27 ก.ค.2554 สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ สิ้นพระชนม์!

พระนางเจ้าสุวัทนาฯ กับรัชกาลที่ 7 และพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ที่สหราชอาณาจักร

          ต่อมาเสด็จสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ ได้เสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นการถาวรในปี พ.. 2502 ประทับ ณ วังแห่งใหม่ คือ “วังรื่นฤดี” เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.. 2503 ตั้งอยู่เลขที่ 69 ซอยสุขุมวิท 38 กรุงเทพมหานคร และพระองค์ได้ประทับอยู่ตราบกระทั่งสิ้นพระชนม์ ส่วนในช่วงฤดูร้อนพระองค์จะเสด็จแปรที่ประทับไปยังตำหนักพัชราลัย ถนนเพชรเกษม อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

          สำหรับพระจริยาวัตรอันบริสุทธิ์สะอาด ที่ทรงได้รับการอบรมจากพระชนนี ไม่ทรงรู้จักคำหยาบคายเลยแม้แต่คำเดียว ถ้าจะทรงบริภาษผู้ใดอย่างรุนแรงจะรับสั่งว่า ซีด เท่านั้น แต่ส่วนมากเมื่อทรงกริ้วก็จะทรงสามารถระงับพระพิโรธไว้ได้ โดยทรงเคยแสดงธรรมประจำพระทัยแก่ท่านผู้หญิงดุษฎี มาลากุล ณ อยุธยา ความว่า โทสะก็เหมือนไฟในตะเกียง ถ้าแรงนักก็ค่อยๆ หรี่ลง แล้วโทสะจะดับหายไปเอง

27 ก.ค.2554 สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ สิ้นพระชนม์!

สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงรัดเกล้าพระราชมรดกในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

          พระองค์ทรงใช้จ่ายทรัพย์ส่วนพระองค์อย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะค่าไฟฟ้า ไม่โปรดให้ผู้ใดเปิดไฟไว้ล่วงหน้า และเมื่อเสด็จออกก็ปิดไฟด้วยพระองค์เอง เมื่อครั้งที่พระองค์ยังมีสุขภาพเอื้ออำนวย ได้มีการบันทึกรายรับรายจ่ายส่วนพระองค์ไว้อย่างรอบคอบ

          พระองค์โปรดการถักนิตติ้งมากที่สุด เมื่อครั้งที่ยังมีพระพลานามัยเอื้ออำนวย พระองค์ทรงถักไหมพรมพระราชทานแก่ข้าราชบริพาร และผ้าพันคอพระราชทานแก่ทหารและตำรวจที่ประจำการแถบภาคเหนือที่ต้องรักษาการท่ามกลางความหนาวเย็น

          นอกจากนี้ยังโปรดการเล่นเปียโน สามารถเล่นเพลงที่สดับนั้นได้โดยไม่ต้องพึ่งตัวโน้ต โปรดการจัดดอกไม้และการจัดสวน ตั้งแต่ประทับในอังกฤษ และยังทรงมีอัจฉริยภาพในเรื่องความทรงจำและการคำนวณที่แม่นยำ เวลามีผู้เข้าเฝ้าจะรับสั่งถามถึงวันเดือนปีเกิดแล้วจะทรงบอกได้ว่า ตรงกับวันอะไร

          หลังการสิ้นพระชนม์ของพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี พระราชมารดาของ เมื่อ พ.. 2528 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้องคมนตรีผลัดเปลี่ยนกันอัญเชิญดอกไม้และผลไม้ และสังเกตพระอนามัยของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯเป็นประจำทุก 2 สัปดาห์ มีการจัดตำรวจคอยอารักขาตลอดเวลา และโปรดฯให้ห้องเครื่องสวนจิตรลดาจัดเครื่องเสวยมาทุกวัน

27 ก.ค.2554 สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ สิ้นพระชนม์!

พระฉายาลักษณ์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีองค์อุปถัมภิกาคณะลูกเสือเนตรนารี

          ส่วนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชการที่ 9 ก็โปรดเกล้าฯ ให้มีท่านผู้หญิงนราวดี ชัยเฉนียน มาเฝ้าและคอยติดตามพระอนามัย และใส่ใจรายละเอียดเล็กน้อยเช่น คลุมพระบรรทมและปลอกพระเขนยที่สวยงาม รวมไปถึงการจัดดอกไม้ที่พระองค์โปรดมาไว้ที่ห้องพระบรรทม เพื่อให้ทรงชื่นพระทัย

          ต่อมาวันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.. 2554 สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ได้เสด็จประทับรักษาพระอาการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต คณะแพทย์ได้ถวายการรักษาพระอาการอย่างใกล้ชิดจนสุดความสามารถ จนกระทั่งเมื่อวันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.. 2554 พระอาการประชวรได้ทรุดลงตามลำดับ และสิ้นพระชนม์เมื่อเวลา 16.37 นาฬิกา รวมพระชันษา 85 ปี

//////////////

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก วิกิพีเดีย