วันนี้ในอดีต

4 มิ.ย.2544 เรื่องเศร้าแดนหิมาลัย!

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เมื่อมกุฎราชกุมารทิเพนทรา ขณะพระชนมายุเพียง 30 ปี ได้ทรงชุดทหาร และแอบพกปืนกลเข้ามาในงานเลี้ยงโดยไม่มีใครสังเกตเห็น

          บางคนอาจนึกไม่ออกว่า วันนี้เมื่อ 17 ปีก่อน เกิดอะไรที่เกิดขึ้นในประเทศเนปาล

          หากแต่ถ้าพูดถึงเหตุการณ์สำคัญที่ทำเอาคนทั่วโลกต้องตะตะลึง ช่วง 4วันก่อนหน้านั้น หรือตรงกับวันที่ 1 มิ.ย.2544ที่สมเด็จพระราชาธิบดีทิเปนทระแห่งเนปาล ขณะเป็นมกุฎราชกุมาร ได้ลงมือสังหารหมู่พระราชวงศ์ ทั้งพระราชชนก ซึ่งเป็นกษัตริย์ขณะนั้น และพระราชชนนีของพระองค์เอง เสด็จสวรรคตพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์อีก 7 พระองค์

          และสุดท้ายพระองค์เองก็ทรงพยายามกระทำอัตวินิบาตกรรม แต่ไม่สำเร็จในทันที ส่งผลให้ทรงพระทุพพลภาพ มีพระอาการเข้าขั้นโคม่า ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจพยุงพระชนม์ไว้

          ซึ่งสิ่งมีอีกเหตุการณ์ที่ ใครได้ยินก็ต้องสะเทือนใจ นั่นคือ เนื่องด้วยพระราชชนกเสด็จสวรรคตก่อน พระองค์ซึ่งดำรงตำแหน่งมกุฎราชกุมาร จึงเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ขณะที่พระอาการเพียบหนักจนในท้ายที่สุดพระองค์เสด็จสวรรคตในอีก 3 วันต่อมา หรือตรงกับวันที่ 4 มิ.ย.2544 นั่นเอง

          หรือจะกล่าวได้ว่า สมเด็จพระราชาธิบดีทิเปนทระแห่งเนปาลเสด็จสวรรคต หลังจากครองราชย์ได้เพียง 4 วัน เท่านั้น!

          สำหรับ สมเด็จพระราชาธิบดีทิเปนทรพีรพิกรมศาหเทวะ หรือที่สื่อในไทยมักเขียนเป็น ทิเพนทรา ประสูติเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2514 ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระราชาธิบดีพีเรนทรพีรพิกรมศาหเทวะ และสมเด็จพระราชินีไอศวรรยาราชยลักษมีเทวีศาหะ

          ย้อนรอยไปในวันเกิดเหตุ ใครจะคาดคิดว่า เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.2544 ซึ่งควรจะเต็มไปด้วยความสุขสดชื่นของงานเลี้ยงพระกระยาหารค่ำภายในวังอันแสนงดงาม หรือ พระราชวังนารายันฮิติ ในกรุงกาฐมาณฑุ ซึ่งเป็นที่อยู่ของราชวงศ์เนปาลสืบต่อกันมาเป็นเวลาถึง 240 ปี กลับกลายมาเป็นสถานที่ที่เกิดเหตุการณ์สะเทือนโลก และสร้างความตื่นตะลึงอย่างสุดขีด !!

          เมื่อมกุฎราชกุมารทิเพนทรา ขณะพระชนมายุเพียง 30 ปี ได้ทรงชุดทหาร และแอบพกปืนกลเข้ามาในงานเลี้ยงโดยไม่มีใครสังเกตเห็น จู่ๆ พะองค์ก็จัดการชักอาวุธออกมา แล้วกราดยิงพระญาติหลายพระองค์จนสิ้นพระชนม์ในงาน ก่อนจะปลิดพระชนม์ชีพพระองค์เองตาม

 4 มิ.ย.2544 เรื่องเศร้าแดนหิมาลัย!

          ทั้งนี้ ข้อมูลจากบางแหล่งเล่าว่า มกุฎราชกุมารทิเพนทรา ทรงดื่มน้ำจัณฑ์จนเมามาย กระทั่งพระราชบิดารับสั่งให้ทรงกลับไปบรรทมพักผ่อน ซึ่งเดิมทีได้ทรงกลับไปยังห้องพระบรรทมแล้ว แต่กลับทรงเสด็จกลับมาในงานเลี้ยงอีกครั้ง พร้อมกับอาวุธปืน 4 กระบอก ทั้งอาวุธปืนลูกซอง SPAS-12 และปืนกล M16, MP5 แล้วทรงกราดยิงไปยังทุกพระองค์ที่ประทัยอยู่ตรงหน้า

          การก่อเหตุสังหารหมู่ราชวงศ์ในงานเลี้ยงดังกล่าว ได้ปลงพระชนม์ชีพสมาชิกองค์สำคัญในราชวงศ์เนปาลทั้งสิ้น โดยเฉพาะสมเด็จพระราชาธิบดีพีเรนทระ พระราชบิดา พระราชินีไอศวรรยา พระราชมารดา และพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่นๆ รวมทั้งสิ้น 12 พระองค์ ก่อนจะใช้ปืนปลิดพระชนม์ชีพพระองค์เอง

          โดยมีผู้เสียชีวิต คือ 1.สมเด็จพระราชาธิบดีพิเรนทระ (พระมหากษัตริย์; พระชนกของผู้ต้องหา) 2. สมเด็จพระราชินีไอศวรรยา (พระราชินี; พระชนนีของผู้ต้องหา) 3. มกุฎราชกุมารดิเพนทรา (ผู้ต้องหา, ภายหลังถูกยกเป็นพระมหากษัตริย์ และได้สวรรคตในเวลา 3 วันหลังก่อเหตุ) 4. เจ้าชายนิรชัน (พระราชโอรส; พระอนุชาของผู้ต้องหา) 5. เจ้าหญิงศรุติ (พระราชธิดา; พระขนิษฐาของผู้ต้องหา)

          6. นายธีเปนทระ ศาหะ (พระอนุชาในสมเด็จพระราชาธิบดีพิเรนทระ ซึ่งถูกถอดพระอิสริยยศ) 7. เจ้าหญิงชยันตี (พระญาติในสมเด็จพระราชาธิบดีพิเรนทระ) 8.เจ้าหญิงศานติ (พระพี่นางในสมเด็จพระราชาธิบดีพิเรนทระ) 9.เจ้าหญิงศารทะ (พระพี่นางในสมเด็จพระราชาธิบดีพิเรนทระ) 10. นายกุมาร ขัทคะ (พระสวามีในเจ้าหญิงศารทะ)

          ผู้ได้รับบาดเจ็บ คือ 1.เจ้าหญิงโศภา (พระขนิษฐาในสมเด็จพระราชาธิบดีพิเรนทระ) 2.นายกุมาร โครัข (พระสวามีในเจ้าหญิงศรุติ) 3. เจ้าหญิงโกมล (พระชายาในเจ้าชายชญาเนนทระ; ภายหลังได้ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระราชินีแห่งเนปาลคนสุดท้าย) 4.นางเคตากี เชสเตอร์ (พระญาติในสมเด็จพระราชาธิบดีพิเรนทระ ซึ่งลาออกจากฐานันดรศักดิ์) 5.เจ้าชายปารัส (พระโอรสในเจ้าชายชญาเนนทระ; ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็นมกุฎราชกุมาร)

 4 มิ.ย.2544 เรื่องเศร้าแดนหิมาลัย!

          ซึ่งสาเหตุของเหตุการณ์ก็มีหลายกระแส แต่ที่กล่าวถึงมากที่สุดคือ มกุฎราชกุมารทิเพนทราทรงผิดหวังที่พระราชบิดาและพระราชมารดา รวมทั้งพระญาติคนอื่นๆ ไม่เห็นด้วยกับการที่พระองค์จะทรงเสกสมรสกับหญิงที่พระองค์ทรงรัก ซึ่งคบมาตั้งแต่สมัยศึกษาด้วยกันที่อังกฤษ

          ในขณะที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสำนักพระราชวัง และแหล่งข่าวหลายกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่าแท้จริงโศกนาฏกรรมครั้งนี้เกิดจากการที่องค์มกุฏราชกุมารทรงบันดาลโทสะในขณะทรงวิวาทกับพระราชมารดาเรื่องการที่องค์มกุฎราชกุมารทรงต้องการจะอภิเษกกับสตรีจากตระกูลรานา (Rana) ซึ่งเป็นคู่แข่งทางการเมือง

          แต่สำนักพระราชวังได้ประกาศสาเหตุของโศกนาฏกรรมว่า เกิดจากอุบัติเหตุพระแสงปืนลั่นโดยมกุฎราชกุมารดิเพนทรา เป็นผู้ทำพระแสงปืนลั่นในขณะที่สมาชิกพระราชวงศ์กำลังร่วมเสวยพระกระยาหารค่ำ ก่อนที่องค์มกุฎราชกุมารจะทำพระแสงปืนลั่นถูกพระองค์เอง

          หลังจากจัดงานพระบรมศพเรียบร้อย ในวันที่ 3 มิถุนายน ทางการเนปาลก็ได้อัญเชิญให้มงกุฎราชกุมารดิเพนทรา ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดา แต่ในวันเดียวกัน พระองค์ก็สวรรคตลง หรืออีกทางหนึ่ง ที่จริงพระองค์ทรงเป็กษัตริย์นับแต่วันที่ 1 มิถุนายน หรือเพียง 4 วันก่อนสิ้นพระชนม์ตามพระราชบิดานั่นเอง

          ที่สุด ทางการเนปาลต้องถวายการแต่งตั้งให้เจ้าชาย ชญาเนนทรพระอนุชาของกษัตริย์พิเรนทรา (อาของมงกุฎราชกุมารดิเพนทรา) ซึ่งมิได้ประทับในพระราชวังกาฐมาณฑุขณะเกิดโศกนาฏกรรม ขึ้นเป็นกษัตริย์ทันที กลายเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีชญาเนนทระแห่งเนปาล

 4 มิ.ย.2544 เรื่องเศร้าแดนหิมาลัย!

สมเด็จพระราชาธิบดีชญาเนนทระแห่งเนปาล

          หลังจากนั้น การเมืองในเนปาลก็ปั่นป่วน ประชาชนประท้วง ให้รัฐบาลสืบหาความจริงของโศกนาฏกรรมโดยด่วน ประชาชนที่กำลังโกรธแค้นได้ทำลายสาธารณสมบัติ และต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจจนมีผู้เสียชีวิตหลายราย

          มากไปกว่านั้น 7 ปีต่อมาสมเด็จพระราชาธิบดีชญาเนนทระแห่งเนปาล ก็ต้องสละราชย์สมบัติกลายเป็นสามัญชน เปิดให้มีการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย เนื่องจากกระแสความนิยมในราชวงศ์ที่ตกต่ำลง เป็นอันสิ้นสุดระบบกษัตริย์ในที่สุด

          โดยเมื่อมีการฟื้นฟูรัฐสภาตามระบอบประชาธิปไตยอีกครั้งในเดือนเมษายน พ.ศ. 2549 พระองค์จึงทรงถูกลดพระราชอำนาจและพระราชสถานะลง โดยก่อนการสละราชบัลลังก์ ก็ได้มีกระแสข่าวเกี่ยวการสละราชบัลลังก์และเสด็จไปประทับต่างประเทศ โดยจะยกราชสมบัติแก่เจ้าชายหริทเยนทรา พระราชนัดดา เนื่องจากทรงไม่พอพระทัยในตัวมกุฎราชกุมารมากนัก และทรงสละราชสมบัติอย่างเป็นทางการในวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เนื่องจากสภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งเนปาล (Constituent Assembly of Nepal) ได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศจากรูปแบบราชอาณาจักรมาเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตย

////////////////

ขอบคุณข้อมูลจากวิกิพีเดีย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ