วันนี้ในอดีต

15 พ.ค.2475  โหดจัด! รัฐประหารยุ่น  สังหารนายกฯ ดับคาบ้านพัก

15 พ.ค.2475 โหดจัด! รัฐประหารยุ่น สังหารนายกฯ ดับคาบ้านพัก

15 พ.ค. 2561

  ว่ากันว่า นายกรัฐมนตรีปรากฏตัวออกมาต้อนรับกลุ่มทหารที่จะมาสังหารตน ด้วยความสุภาพเรียบร้อย และปราศจากความหวาดกลัวใดๆ ทั้งสิ้น!!

          เหตุการณ์ของวันนี้ เมื่อ 86 ปีก่อน ซึ่งเกิดขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่น หรือเหตุการณ์ที่เรียกว่า เหตุการณ์ “โกะชิโกะ จิเก็น” ไม่ใช่เพียงการก่อเหตุสังหารผู้นำธรรมดา หากแต่เป็นเรื่องราวที่มีฉากหลังทางการเมืองอย่างซับซ้อน

     

          วันที่ 15 .. 2475 ขณะที่นายกรัฐมนตรีประเทศญี่ปุ่น อินุไค สึโยชิ กำลังจะพักผ่อนในบ้านพักของเขา (ทำเนียบ) จู่ๆ นายทหารเรือ 12 นาย และนายทหารบก 6 นาย ก็เข้าบุกยิงเขาอย่างเลือดเย็น จนเสียชีวิตท่ามกลางกองเลือด

          เหตุการณ์ในวันนั้น มีผู้เล่าไว้อย่างน่าติดตาม จาก http://www.adisai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=17498&Ntype=3

          เล่าว่า ช่วงปี 2475 มีการสังหารผู้นำญี่ปุ่นหลายรายจากปมปัญหาสำคัญทางการเมืองและสงคราม โดยนอกจากอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จันโนสุเกะ อินนูเย ที่ถูกยิงทิ้งริมถนนในกรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2475 แล้ว

          ถัดจากนั้น วันที่ 15 .. 2475 มีทหารจำนวน 9 นาย (บางแหล่งระบุ 12 นาย) ได้ทำพิธี “อธิษฐานต่อองค์สุริยเทพ” แล้วพากันบุกเข้าไปในบ้านของนายกรัฐมนตรี อินุไค สึโยชิ วัย 75 ซึ่งว่ากันว่า เขานั้นนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีด้วยความจำเป็น

 

15 พ.ค.2475  โหดจัด! รัฐประหารยุ่น  สังหารนายกฯ ดับคาบ้านพัก

          เหตุการณ์วันนั้น ว่ากันว่า นายกรัฐมนตรีปรากฏตัวออกมาต้อนรับกลุ่มทหารดังกล่าวด้วยความสุภาพเรียบร้อย และปราศจากความหวาดกลัวใดๆ ทั้งสิ้น

          ทหารเหล่านั้นก็ถอดรองเท้าเข้าไปในบ้านของท่านนายกรัฐมนตรี ตามประเพณีญี่ปุ่นด้วยความสุภาพเช่นกัน ภายในห้องรับแขกที่เรียบง่ายตามแบบฉบับญี่ปุ่น

          แต่แล้วเมื่อการเจรจาก็เริ่มขึ้น นายกฯ อินุไกพยายามหยุดกลุ่มทหารโดยกล่าวว่า

          "ค่อยพูดค่อยจาและต้องฟังความคิดเห็นอีกฝ่าย" ปรากฏว่านายทหารคนหนึ่งในที่นั้น อดรนทนไม่ได้ จึงตะโกนขี้นว่า

          ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะเจรจา...ยิงเลย”

          นาทีนั้น คนทั้ง 9 ปล่อยกระสุนจนหมดลำกล้องเข้าใส่นายกรัฐมนตรีชรา จนร่างพรุนไปด้วยคมกระสุน

          อย่างไรก็ดี เหตุการณ์ที่ทำให้ชาวโลกสงสัยยิ่งนักคือ แทนที่การกระทำครั้งนั้นจะถูกตัดสินโทษไปตามกฎหมาย แต่ปรากฏว่าสาธารณชนกลับรู้สึกเห็นอกเห็นใจทหารกลุ่มที่กระทำการดังกล่าวมาก ว่ากันว่ามีการประดับดอกไม้แห่งการเป็นวีรบุรุษอีกด้วย

          ขณะที่ยังมีกระแสเล่าว่า นายกรัฐมนตรี อินุไค สึโยชิ ได้ถูกบูชายันต์อยู่บนแท่นแห่งการปฏิรูปประเทศชาติขึ้นมาใหม่

 

15 พ.ค.2475  โหดจัด! รัฐประหารยุ่น  สังหารนายกฯ ดับคาบ้านพัก

          เรื่องนี้ จึงถือว่าเป็นประวัติศาสตร์ที่สุดจะบรรยาย หากแต่มีผู้อธิบายภาพของประเทศญี่ปุ่นในยุคนั้นไว้มากมาย หนึ่งในมีบทความในกรุงเทพธุรกิจ http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/507027 ระบุว่า

          ลักษณะของการเมืองญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 1927 จนถึงการผ่านแพ้สงครามของญี่ปุ่นเริ่มสะท้อนอิทธิพลของฝ่ายทหารที่มีต่อรัฐบาลที่สูงขึ้น

          นายทหารในกองทัพส่วนใหญ่ มีที่มาจากนักรบแคว้นต่างๆ และส่วนใหญ่กลายเป็นข้าราชการในพระองค์ของพระจักรพรรดิ

          3-4 ปีแรก สภาล่างที่ส่วนใหญ่มาจากชาวนา เผชิญหน้ากับรัฐบาลด้วยเรื่องภาระภาษีที่นา หลังจากนั้นพรรคการเมืองใหญ่ๆ ก็มีทหารเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย

          สิ่งสำคัญที่เกิดขึ้นคือ การขึ้นภาษีเพื่อรองรับการขยายกองทัพและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเอาใจประชาชน ประชาชนจึงรักและสนับสนุนทหารเป็นอันมาก

          ช่วงระยะเวลา 35 ปีที่ใช้รัฐธรรมนูญนี้ ปรากฏว่า ผู้ที่เป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นคือ อิโต ฮิโรบุมิ ยิยูโต ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น ริคเคนเซอิยูไค เป็นรัฐบาล มีการแทรกแซงจากขุนนางอาวุโสของพระจักรพรรดิในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีเกิดขึ้นหลายครั้ง

          ส่วนการเปลี่ยนแปลงนายกรัฐมนตรีอื่นๆ เป็นไปตามสถานการณ์ของบ้านเมือง แต่ส่วนใหญ่มีอายุสั้น แต่ที่สำคัญคือ ฝ่ายทหารค่อนข้างมีอิทธิพลต่อรัฐบาลมาก

          ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 1927 หรือ รัฐบาลของทานากะ งิอิจิ นโยบายต่างประเทศ ของเซอิยูไคได้เปลี่ยนแปลง 180 องศา เป็นนโยบายแข็งกร้าวหรือรุกรานจีนแทน

          แต่ต่อมาเคนเซอิไค เปลี่ยนชื่อเป็น มินเซอิโต กลับมาเป็นพรรครัฐบาลอีกครั้งในปี 1929 และดำเนินนโยบายต่างจากเซอิยูไคโดยสิ้นเชิง คือ ใช้นโยบายผ่อนปรนต่อจีน กลับไประบบอัตราแลกเปลี่ยนที่อิงกับทองคำ และ ยอมรับข้อตกลงระหว่างประเทศปี 1930 ที่ให้กองทัพเรือมีสัดส่วนเรือรบ เป็น 60% ของอังกฤษและสหรัฐอเมริกา

 

15 พ.ค.2475  โหดจัด! รัฐประหารยุ่น  สังหารนายกฯ ดับคาบ้านพัก

          แน่นอนเรื่องนี้ สร้างความไม่พอใจให้แก่กองทัพเป็นอย่างมาก ฝ่ายกองทัพอ้างว่า กองทัพขึ้นตรงต่อพระจักรพรรดิ ฝ่ายรัฐบาลจึงมายุ่งเยี่ยวกับเรื่องของกองทัพไม่ได้

          ส่วนรัฐบาลอ้างว่า การบังคับบัญชากองทัพเป็นเรื่องของการรบเท่านั้น ส่วนการใช้ระบบทองคำทำให้ สินค้าญี่ปุ่นแพงขึ้นมากเมื่อเทียบกับสินค้าประเทศอื่น ทำให้ส่งออกไม่ได้ เศรษฐกิจซบเซาอย่างหนัก

          ที่สุดปี 1931 เกิดเหตุการณ์แมนจูเรีย ซึ่งรถไฟของญี่ปุ่นถูกระเบิด ประวัติศาสตร์ของจีนเรียกว่า “กรณี 18 กันยายน” และอ้างว่าเป็นการสร้างสถานการณ์ของกองทัพญี่ปุ่นเอง เพราะว่าหลังจากนั้น กองทัพญี่ปุ่นมีการบุกอย่างขนานใหญ่

          แต่ฝ่ายญี่ปุ่นอ้างว่าชาวจีนเป็นฝ่ายก่อวินาศกรรม แต่ที่น่าสังเกตคือ เหตุการณ์เกิดในจีนและญี่ปุ่นไปทำอะไรในจีนที่ไม่ใช่ประเทศของตนเองในปีเดียวกันนั้น ยังมีการถกเถียงกันเรื่องระบบอัตราแลกเปลี่ยนทองคำกันมาก

         จนกระทั่ง ไซออนยิ คินโมจิ ขุนนางอาวุโสเข้ามาแทรกแซง แล้วทำการตั้งนายกรัฐมนตรีโดยให้ "อินุไค สึโยชิ" หัวหน้าพรรคเสียงข้างน้อยรับตำแหน่งไป

            กระทั่งเกิดความไม่พอใจของกองทัพนำไปสู่เหตุการณ์ 15 พฤษภาคม 1932 (2475) ที่มีนายทหารเรือ 12 นายและนายทหารบก 6 นาย บุกยิงนายกรัฐมนตรี อินุไค สึโยชิ นั่นเอง

 

15 พ.ค.2475  โหดจัด! รัฐประหารยุ่น  สังหารนายกฯ ดับคาบ้านพัก

          มีเกร็ดเล่าว่า เพราะความที่ นายกอินุไก นั้นเป็นหัวเสรีนิยม ไม่ยอมทำสงครามยึดครองแมนจูเรียคืน และการที่เขาพยายามหยุดกลุ่มทหารโดยกล่าวว่า

          "ค่อยพูดค่อยจาและต้องฟังความคิดเห็นอีกฝ่าย" ซึ่งคำพูดนี้ สะท้อนถึงแนวคิดประชาธิปไตย ซึ่งไม่เข้าทางกลุ่มทหารอย่างแรง เพราะพวกเขาเป็นพวกมีแนวคิดของอุดมการณ์ฟาสซิสต์ พวกเขาจึงตัดสินใจปล่อยกระสุนไปหมดแม็ค!

          และที่สุดแล้ว ต่อมากลุ่มทหารกลุ่มนี้ ยังได้รับการปล่อยตัวอย่างรวดเร็ว ก็ถือเป็นความอ่อนแอของประชาธิปไตย และสะท้อนถึงความเข้มแข็งของลัทธิทหารในยุคสมัยหนึ่งของดินแดนอาทิตย์อุทัยเป็นอันมาก

//////

ขอบคุณข้อมูลจาก

http://www.adisai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=17498&Ntype=3

http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/507027

ขอบคุณภาพจาก วิกิพีเดีย