วันนี้ในอดีต

18 เม.ย.2398 รู้จัก พระยาสยามมานุกูลกิจผู้ที่ทำได้ทุกอย่าง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ผู้ชายคนนี้ เชื่อเลยว่าทำได้ทุกอย่างหมด ครบ จบสากล!! จนบางคนเรียกว่าเขาเป็น "มนุษย์มหัศจรรย์ของยุคสมัยจักรวรรดินิยมล่าอาณานิคม"

          ท่องกันมาแต่เด็ก กับวันที่ 18 เม..2398 หรือวันนี้ เมื่อ 163 ปีก่อน คือวันที่ไทยได้ทำการลงนามใน "สนธิสัญญาเบาว์ริ่ง"

          และสนธิสัญญาฉบับนี้ เป็นสนธิสัญญาที่ราชอาณาจักรสยามทำกับสหราชอาณาจักร หรือ ประเทศอังกฤษโดยมีสาระสำคัญ เปิดการค้าเสรีกับต่างประเทศในสยาม โดยอนุญาตให้ชาวต่างชาติเข้ามาทำการค้าเสรีในกรุงเทพ

          และที่ท่องกันประจำ เพราะออกข้อสอบคือ สนธิสัญญานี้อนุญาตให้จัดตั้งกงสุลอังกฤษในกรุงเทพและรับประกันสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ตลอดจนอนุญาตให้ชาวอังกฤษสามารถถือครองที่ดินในสยามได้  แปลง่ายๆ ว่า ไทยได้สูญสิ้นสิทธิสภาพนอกอาณาเขตนั่นเอง เพราะในเนื้อหาระบุไว้ว่า

 

18 เม.ย.2398  รู้จัก พระยาสยามมานุกูลกิจผู้ที่ทำได้ทุกอย่าง

ภาพวาดวัยหนุ่มของ เซอร์ จอห์น เบาว์ริ่ง

          1. คนในบังคับอังกฤษจะอยู่ภายใต้อำนาจควบคุมของกงสุลอังกฤษ นับเป็นครั้งแรกที่สยามมอบสิทธิสภาพนอกอาณาเขตแก่ประชากรต่างด้าว

          2.คนในบังคับอังกฤษได้รับสิทธิในการค้าขายอย่างเสรีในเมืองท่าทุกแห่งของสยาม และสามารถพำนักอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครเป็นการถาวรได้ ภายในอาณาเขตสี่ไมล์ (สองร้อยเส้น) แต่ไม่เกินกำลังเรือแจวเดินทางในยี่สิบสี่ชั่วโมงจากกำแพงพระนคร คนในบังคับอังกฤษสามารถซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ในบริเวณดังกล่าวได้ คนในบังคับอังกฤษยังได้รับอนุญาตให้เดินทางได้อย่างเสรีในสยามโดยมีหนังสือที่ได้รับการรับรองจากกงสุล

          3. ยกเลิกค่าธรรมเนียมปากเรือและกำหนดอัตราภาษีขาเข้าและขาออกชัดเจน

          - อัตราภาษีขาเข้าของสินค้าทุกชนิดกำหนดไว้ที่ร้อยละ 3 ยกเว้นฝิ่นที่ไม่ต้องเสียภาษี แต่ต้องขายให้กับเจ้าภาษี ส่วนเงินทองและข้าวของเครื่องใช้ของพ่อค้าไม่ต้องเสียภาษีเช่นกัน

          - สินค้าส่งออกให้มีการเก็บภาษีชั้นเดียว โดยเลือกว่าจะเก็บภาษีชั้นใน (จังกอบ ภาษีป่า ภาษีปากเรือ) หรือภาษีส่งออก

          4.พ่อค้าอังกฤษได้รับอนุญาตให้ซื้อขายโดยตรงได้กับเอกชนสยามโดยไม่มีผู้ใดผู้หนึ่งขัดขวาง

          5.รัฐบาลสยามสงวนสิทธิ์ในการห้ามส่งออกข้าว เกลือและปลา เมื่อสินค้าดังกล่าวมีทีท่าว่าจะขาดแคลนในประเทศ

 

          หลายคนที่รู้ลึกทางประวัติศาสตร์อาจเจ็บกระดองใจกับสัญญาฉบับนี้ จนอยากรู้ว่า ตัวแทนฝ่ายอังกฤษที่รู้จักในนาม เซอร์ จอห์น เบาว์ริ่ง เป็นใครมาจากไหน ทำไมถึงทำการใหญ่ได้สำเร็จ เป็นหน้าเป็นตาให้กับชาติอังกฤษ

          ปรากฏว่าในประวัติทำให้ต้องตกตะลึง เพราะบุคคลผู้นี้เรียกว่าเป็นอัจฉริยะคนหนึ่งที่เก่งไปหมดทุกด้าน

          เซอร์จอห์น เบาว์ริง เกิดเมื่อ 17 ตุลาคม พ.. 2335 (..1792) ที่นครเอ็กซิเตอร์ มณฑลเดวอน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอังกฤษ เป็นเด็กฉลาดหลักแหลม เรียนเก่ง

          ก่อนหน้าจะมาไทย เขาเคยเขียนบทความลงใน "Westminster Review” นิตยสารวิเคราะห์เศรษฐกิจ

          ต่อมาในปี 2368 ได้ขึ้นเป็นบรรณาธิการ และได้ย้ายไปเนเธอร์แลนด์ จนเรียนจบนิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Laws) จากมหาวิทยาลัยกรอนิงเกน (University of Groningen)

          จากนั้นก็เข้าเป็นสมาชิกของสภา Kilmarnock Burghs จากนั้นได้รับการแต่งตั้งไปเจรจาทางการค้ากับฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี ซีเรีย และเยอรมัน ซึ่งต่อมาได้เป็นตัวแทน การเจรจาทางการค้ากับจีนที่เมืองกวางจูในปี 2392 หลังจากนั้นอีก 5 ปี ก็ขึ้นเป็นข้าหลวงอังกฤษประจำฮ่องกง เมื่อฮ่องกงตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ หลังจีนพ่ายแพ้ในสงครามฝิ่นครั้งที่สอง และได้ขึ้นเป็นเจ้าเมืองฮ่องกง ในปี 2398

          จึงไม่น่าแปลกใจที่ว่า ผู้ชายคนนี้จะทำได้ทุกอย่างหมด ครบ จบสากล!! จนบางคนเรียกว่าเขาเป็น "มนุษย์มหัศจรรย์ของยุคสมัยจักรวรรดินิยมล่าอาณานิคม" จนกล่าวกันว่าเบาว์ริงถึงกับกล่าว "คำขวัญ” ไว้ว่า "Jesus Christ is free trade, free trade is Jesus Christ" หรือ "พระเยซู คริสต์คือการค้าเสรี และการค้าเสรีก็คือพระเยซูคริสต์” 

          นอกจากนี้ เขายังเป็นทั้ง พ่อค้า นักการทูต นักเศรษฐศาสตร์การเมือง นักการศาสนา นักแต่งเพลงสวด กวี นักประพันธ์ บรรณาธิการ และนักภาษาศาสตร์ ที่มีความสามารถทางภาษามากถึง 10 ภาษาทั้งหมด ในยุโรป รวมทั้งภาษาจีน!!!

          

18 เม.ย.2398  รู้จัก พระยาสยามมานุกูลกิจผู้ที่ทำได้ทุกอย่าง

 อีกช่วงวัยของ พระยาสยามมานุกูลกิจ สยามมิตรมหายศ

          อย่างไรก็ดี ระหว่างนั้น ช่วงปี 2398 เขาได้เดินทางมายังประเทศสยาม เพื่อทำภารกิจสำคัญ คือ การที่เขาเป็นราชทูตที่ได้รับการแต่งตั้งจาก สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งอังกฤษ เพื่อเข้ามาเจริญพระราชไมตรีและเจรจาทำสนธิสัญญากับราชสำนักไทย ในปี พ.. 2398 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ล้นเกล้ารัชกาลที่ 4

          โดยเขาได้เชิญพระราชสาสน์ในสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย พร้อมด้วยเครื่องราชบรรณาการเข้ามาทำสนธิสัญญาทางไมตรีกับสยาม ซึ่งสัญญาฉบับนั้นคือ "สนธิสัญญาเบาว์ริง” เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2398 นั้นเอง

          เซอร์จอห์นเบาว์ริ่ง อยู่สยามจนกระทั่งท้ายที่สุดสมัยปลายรัชกาลที่ 4 และต้นรัชกาลที่ 5 ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นอัครราชทูตไทยประจำกรุงลอนดอน และทวีปยุโรป ถือได้ว่าเป็น “ตัวแทนประจำคนแรกของไทย” ก็ว่าได้ โดยได้รับบรรดาศักดิ์เป็น “พระยาสยามมานุกูลกิจ สยามมิตรมหายศ”

          กระทั่งต่อมาในปี พ.. 2404 เบาว์ริงย้ายไปเป็นตัวแทนทางการค้าที่อิตาลี และอีกหลายประเทศในยุโรป

          ในบั้นปลายชีวิต เบาว์ริงเสียชีวิตเมือวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.. 2415 ที่เมือง แกลร์มงต์ ประเทศอังกฤษ ขณะมีอายุ 80 ปี

          อย่างไรก็ดี ในมุมหนึ่งที่คนไทยอาจไม่ชอบท่านเซอร์ผู้ปราดเปรื่องนี้เท่าใดนัก แต่ยังมีอีกมุมหนึ่ง ที่ข้อมูลจาก นิตยสาร “ศิลปวัฒนธรรม” 25 .. 2559 เขียนโดย หอจดหมายเหตุ ระบุว่า

          “...(ด้วยเหตุที่) สยามเป็นชุมทางการค้าและจุดเชื่อมโยงกับตลาดการค้าขนาดใหญ่ต่างๆ ของเอเชีย ทั้งยังเป็นแหล่งผลิตพืชเศรษฐกิจที่มีความต้องการอย่างมากของตลาด คือ ข้าวและน้ำตาล ความต้องการของอังกฤษก็คือ เห็นสยามเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมแทนที่จะไปยึดโยงอยู่กับประเทศจีน

          “...สนธิสัญญาเบาริ่ง” ระหว่างอังกฤษกับสยามจึงเกิดขึ้น ประกอบด้วยข้อตกลง 21 ข้อ เนื้อหาของสัญญาเป็นความเข้าใจทางพระราชไมตรีและการกำหนดระเบียบใหม่ทางเศรษฐกิจ ได้แก่ การค้าเสรี การจัดเก็บภาษี สิทธิสภาพนอกอาณาเขต และสิทธิมนุษยชน...”

          “...หลักฐานใหม่ยืนยันว่า อังกฤษส่งเรือรบประกบเข้ามาพร้อมกับ เซอร์จอห์น เบาริ่ง ด้วย และพร้อมที่จะใช้มาตรการรุนแรงกับสยามทันที ดังเช่นที่ได้ทำมาแล้วกับชาวจีน ถ้าหากสยามปฏิเสธความหวังดีของอังกฤษโดยไม่คำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนหรือความเห็นใจใดๆ ทั้งสิ้น เท่ากับสลัดทิ้งมาดสุภาพบุรุษที่คนอังกฤษเป็นต้นแบบมาช้านาน...”

 

18 เม.ย.2398  รู้จัก พระยาสยามมานุกูลกิจผู้ที่ทำได้ทุกอย่าง

ภาพจาก https://www.m-culture.go.th/young/ewt_news.php?nid=174&filename=index 

          เมื่อมาประกอบกับ ข้อมูลโดย การตีความใหม่ของบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย หรือสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงชี้แจงอุปสงค์ในครั้งนั้น ในคำอธิบายหมายรับสั่งเรื่องรับเซอร์จอห์นเบาริ่ง คัดมาตอนหนึ่งว่า

          “...การที่เซอร์จอห์นเบาริ่งเข้ามาทำครั้งนั้น เป็นการสำคัญแก่ฝ่ายไทยที่อาจจะมีผลดีหรือผลร้ายได้ทั้ง 2 สถาน คือ ถ้าหากว่าไทยแข็งขึงดึงดันไม่ยอมแก้สัญญาอย่างเมื่อครั้งเซอร์เชมสบรุกเข้า ก็คงเกิดรบกับอังกฤษ แต่ถ้าหากหวาดหวั่นเกรงอำนาจอังกฤษ ยอมแก้สัญญาด้วยความกลัวเกินไป ก็คงเสียเปรียบในกระบวนสัญญาก็เป็นผลร้ายเหมือนกัน...”

          “...พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงไตร่ตรองชั่งน้ำหนักระหว่างอันตรายอันจะเกิดจากอิทธิพลของชาวอังกฤษ กับอันตรายอันจะเกิดจากความปรารถนาจะบีบคั้นของอังกฤษอยู่ก่อนแล้ว ด้วยพระปรีชาญาณสุขุมคัมภีรภาพ และก็ทรงมั่นพระทัยว่าอันตรายประการหลังเป็นมหันตภัยยิ่งใหญ่กว่า…”

          ถึงตรงนี้ จึงนับเป็นอีกมุมมองหนึ่งของสนธิสัญญาฉบับนี้ ที่สะท้อนว่า หากไทยไม่ยอมทำสัญญาด้วย ชาติเราอาจเป็นไปอีกแบบใครจะรู้ ที่สุดต้องถือว่าด้วยพระปรีชาสามารถของกษัตริย์ไทยโดยแท้!!

          อนึ่ง สนธิสัญญาฉบับนี้ ใช้บังคับอยู่เป็นเวลา ถึง 70 กว่าปี จนกระทั่งมีการแก้ไขค่อยๆ ยกเลิกไปในสมัยรัชกาลที่ 6 ภายหลังเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลงเมื่อปี พ.. 2461 (..1918) แต่กว่าจะสิ้นสุดสมบูรณ์ ก็ล่วงมาถึงในปี พ.. 2482 (..1938) ในรัฐบาล จอมพล ป พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ที่ได้มีการแก้ไขและลงนามในสนธิสัญญาใหม่กับประเทศตะวันตก (และญี่ปุ่น) ใหม่ทั้งหมด

 

///////////////////

ขอบคุณภาพและข้อมูลจากวิกิพีเดีย

 นิตยสาร “ศิลปวัฒนธรรม”

และ https://www.m-culture.go.th/young/ewt_news.php?nid=174&filename=index 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ