วันนี้ในอดีต

6 เม.ย.2491  อะไรจะง่ายดายปานนี้?  "จี้" นายกฯ ให้ลาออก

6 เม.ย.2491 อะไรจะง่ายดายปานนี้? "จี้" นายกฯ ให้ลาออก

06 เม.ย. 2561

คนที่เคยทำให้ได้นั่งเก้าอี้นายกฯ กลับมาขอให้ลงจากเก้าอี้!! การรัฐประหารครั้งนั้น จึงเรียกว่า "รัฐประหารเงียบ"แล ะง่ายดายที่สุดแล้วก็ว่าได้!!

          บ่อยครั้งยิ่งกว่าชาติไหน ก็รัฐประหารในประเทศไทยนี่กระมัง

          บ้านเมืองเราในวันนี้เมื่อ 70 ปีก่อน น้อยคนจะจำได้ว่าเกิดอะไรขึ้น แต่อีกหลายคนจะรู้ดีว่า วันนี้ในอดีต หรือตรงกับ วันที่ 6 เม..2491 คือวันที่ หลวงกาจสงคราม (กาจ กาจสงคราม) ก่อรัฐประหารขึ้น

 

6 เม.ย.2491  อะไรจะง่ายดายปานนี้?  \"จี้\" นายกฯ ให้ลาออก

หลวงกาจสงคราม

 

          และยังเป็นการทำรัฐประหารโดยบุคคลกลุ่มเดียวกันกับที่ทำรัฐประหารรัฐบาล พล...ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.. 2490

          ทั้งนี้ ข้อมูลจากสถาบันพระปกเกล้า ซึ่งเรียบเรียงโดย ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร ระบุไว้โดยประมวลมาพอให้เข้าใจ ได้ดังนี้

          วันที่ 6 เมษายน พ.. 2491 เป็นวันที่รัฐบาลซึ่งมี ควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ถูกคณะรัฐประหารที่ยึดอำนาจล้มรัฐบาลหลวงธำรงค์นาวาสวัสดิ์ และมาขอให้นายควง อภัยวงศ์ จัดตั้งรัฐบาลนั่นเอง “แจ้งให้ออก” จากตำแหน่ง

          พูดง่ายๆ ว่า คนที่เคยทำให้ได้นั่งเก้าอี้นายกฯ กลับมาขอให้ลงจากเก้าอี้!!

          แต่การก่อการครั้งนี้ สื่อมวลชนเรียกกันทั่วไปว่า ถือเป็นการ “จี้”ให้ลาออกมากกว่า

        อย่างไรก็ดี บทความยังอธิบายต่อว่า เรื่องนี้จำเป็นที่จะต้องย้อนเรื่องไปดูกันตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.. 2490 หรือก่อนหน้านั้น ราว 5 เดือนก่อน หรือตรงกับวันที่ วันที่ 8 .. 2490

          คณะนายทหารทั้งนอกและในราชการ ที่นำโดย พลโทผิน ชุณหะวัณ ได้นำกำลังทหารเข้ายึดอำนาจล้มรัฐบาลของ นายกรัฐมนตรี หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ยกเลิกรัฐธรรมนูญ และประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อให้มีฐานรองรับ จากนั้น เชิญ ควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านที่ได้อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลของหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ให้มาเป็นนายกรัฐมนตรีจัดตั้งรัฐบาล

 

6 เม.ย.2491  อะไรจะง่ายดายปานนี้?  \"จี้\" นายกฯ ให้ลาออก

ควง อภัยวงศ์

          เหตุผลที่คณะรัฐประหารเชิญควง มาเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น ก็เพื่อให้มาจัดการเลือกตั้งใหม่ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และเมื่อมีรัฐบาลใหม่ที่จะอ้างได้ว่ามาจากผลการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแล้ว

          ในการจัดการเลือกตั้งใหม่ก็ไม่มีอะไรน่าวิตกนัก เพราะพรรคของรัฐบาลเก่าตกที่นั่งลำบาก เดือดร้อน นักการเมืองสำคัญถูกเล่นงาน ผู้สมัครฝ่ายตรงข้ามกับคณะรัฐบาลอาจถอนตัวบ้าง

          พอเลือกตั้งเสร็จ ผลการเลือกตั้งของพรรคประชาธิปัตย์เป็นเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร ควง อภัยวงศ์ ก็จัดตั้งรัฐบาลใหม่ที่มีนายกรัฐมนตรีคนเก่าคือเขานั่นเอง และคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่มีคนหน้าเก่าอยู่จำนวนมาก

          ทว่า รัฐบาลบริหารประเทศได้เพียง 1 เดือนกับ 1 วัน พอถึงวันที่ 6 เมษายน พ.. 2491 คณะนายทหาร 4 คนคือ พันโทก้าน จำนงภูมิเวท พันเอกศิลปศิลปศรชัย รัตนวราหะ พลตรีสวัสดิ์ สวัสดิเกียรติ และ พันโทลม้าย อุทยานานนท์ ได้ไปพบนายกรัฐมนตรี ควง อภัยวงศ์ ที่บ้านและแจ้งในนามของ คณะรัฐประหาร ให้นายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีภายใน 24 ชั่วโมง

        โดยอ้างเหตุผลว่าเพราะรัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาของแพงได้!!!

          อย่างไรก็ดี ข้อมูลแหล่งอื่นระบุว่า ผู้ที่นำคณะทหารทั้ง 4 นายเข้าพบควง คือ “หลวงกาจสงคราม” ซึ่งที่สุด การจี้ครั้งนั้น นายกฯ ควงก็ลาออกแต่โดยดี ดังนั้น การรัฐประหารครั้งนั้น จึงเรียกว่า “รัฐประหารเงียบ” เนื่องจากไม่มีการใช้กำลังทหาร และเสียเลือดเนื้อแต่อย่างใด และตั้งจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี

          อย่างไรก็ดี บทความนี้ได้อ้างข้อมูลจากงานเขียนของ ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพานิช ที่เขียนเล่าไว้ว่า

          เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อคณะรัฐประหารได้ทำการรัฐประหารสำเร็จใหม่ๆ ได้ขออำนาจจากคณะรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ให้ทหารมีอำนาจเช่นเดียว กับ ตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา คือการค้นและจับกุมผู้ที่สงสัยว่าเป็นอาชญากร ซึ่งมีข่าวอยู่เนื่องๆ ว่าอดีตรัฐบาลที่เสียอำนาจไป กำลังจะต่อต้านคณะรัฐประหาร ซึ่งรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ก็เห็นว่า ในยามหัวเลี้ยวหัวต่อเช่นนั้น ควรมอบอำนาจให้ทหารปฏิบัติการโดยร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่เมื่อคณะรัฐประหารปฏิบัติการเข้าจริง กลับกระทำการโดยพลการ ถืออำนาจของการที่ได้รัฐประหารเป็นใหญ่ เช่น สงสัยใครก็จับกุมเอามาสอบสวน เมื่อไม่ได้ความก็ปล่อยตัวไป สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนผู้บริสุทธิ์เป็นอย่างมาก”

          ถึงขั้นนี้เขาว่ากันว่ารัฐบาลของควง อภัยวงศ์ ก็ถอนอำนาจที่ให้แก่คณะรัฐประหาร คืนมา และทำให้คณะรัฐประหารไม่พอใจ

          ทางด้านนายกฯ ควง อภัยวงศ์ นั้นเมื่อถูกทหารมาจี้ให้ออกเช่นนั้นก็สอบถามไปทางผู้นำของคณะทหารที่ทำรัฐประหารว่าส่งนายทหารมาจริงหรือไม่ เมื่อทราบคำตอบว่าเป็นความต้องการจริงของคณะรัฐประหาร ควง อภัยวงศ์ ก็ได้นำเรื่องมาหารือกับพรรคพวกและท่านยินยอมลาออก แม้จะมีเพื่อนนักการเมืองบอกให้รัฐบาลสู้ก็ตาม

          ที่สุด ควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ที่ชนะเลือกตั้งได้เสียงข้างมากถึง 53 เสียงจาก 100 ถูกนายทหาร 4 คนมาจี้ให้ลาออก ก็ต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 8 เมษายน พ.. 2491 ทิ้งตำนานเรื่องรัฐบาลถูก “จี้” ให้เล่ากันมาจนทุกวันนี้ว่า วันที่ 6 เม.. .. 2491 เป็นวันที่นายกรัฐมนตรีถูก “จี้” ให้ลาออก

          อนึ่งสำหรับผู้นำการจี้ครั้งนี้ ซึ่งหมายถึง พลโท หลวง กาจ กาจสงคราม นั้น มีฉายาอีกชื่อหนึ่งว่า นายพลตุ่มแดง นั่นก็เพราะช่วงที่มีก่อรัฐประหาร 8 .. .. 2490 ขณะที่ท่านเป็นรองหัวหน้าคณะรัฐประหาร ซึ่งประกอบด้วยนายทหารนอกราชการที่นำโดย พล.. ผิน ชุณหะวัณ พ... เผ่า ศรียานนท์ พ.. สฤษดิ์ ธนะรัชต์ พ.. ถนอม กิตติขจร พ.. ประภาส จารุเสถียร และ ร.. สมบูรณ์ (ชาติชาย) ชุณหะวัณ ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ จากรัฐบาลของหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ และตั้งนายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น

          เวลานั้น หลวงกาจสงครามมีส่วนอย่างสำคัญในการยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.. 2490 และเก็บซ่อนไว้ใต้ตุ่ม จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ารัฐธรรมนูญฉบับ “ใต้ตุ่ม” หรือ “ตุ่มแดง” และ หลวงกาจสงคราม ได้รับฉายาจากการรัฐประหารครั้งนี้ว่า “นายพลตุ่มแดง” นั่นเอง

///////////

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก วิกิพีเดีย

และ ฐานข้อมูลการเมืองสถาบันพระปกเกล้า http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=6_%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99_%E0%B8%9E.%E0%B8%A8._2491