วันนี้ในอดีต

3 ธ.ค.2557 “กฤษณพงศ์ กีรติกร” ดัน"กระทรวงอุดมศึกษา"วืด!!

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

แค่เอ๋ยชื่อ"ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร"นักการศึกษาหัวก้าวหน้าแถวหน้าของไทย เป็นความหวัง"ครม.ประยุทธ์1"ดัน"กระทรวงอุดมศึกษา"แต่ทำไมวืด!!

 

        ปี พ.ศ.2546 กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)ภายใต้โครงสร้างใหม่ ทำให้“ทบวงมหาวิทยาลัย”ถูกยุบเหลือเป็นเพียง“สำนักงาน”แต่เป็น“1 ใน 5 เสือศธ.”ภายใต้ชื่อใหม่ว่า“สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา”หรือ สกอ.

         10 ปีหลังจากเข้าสู่โครงสร้างใหม่ศธ. ประชาคมชาวอุดมศึกษาแทบกระอักเลือด เมื่อได้พบสัจจะธรรม การอุดมศึกษาไทยไม่ได้รับการเหลียงแลจากรัฐมนตรีศึกษาหรือรัฐบาลเท่าที่ควรจะเป็น

         พลันที่รายชื่อ“ครม.ประยุทธ์1”ประกอบไปด้วย “พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย” เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มี“ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร”และ"พลเอกสุรเชษฐ์ ชัยวงศ์" เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ชาวอุดมฯเริ่มความหวังแยกตัวเป็น“อิสระ”

         ชื่อชั้น ดีกรี ผลงานระดับ“ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร”นักการศึกษาหัวก้าวหน้าแถวหน้าของไทย เป็นความหวัง“ครม.ประยุทธ์1”ในการผลักดันให้เกิด“กระทรวงอุดมศึกษา”แยกจากกระทรวงศึกษาธิการ ตามกระแสเรียกร้องของประชาคมชาวอุดมศึกษาค่อนประเทศ

         วันนี้ในอดีต 3 ธันวาคม 2557 หรือเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา "ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร"ออกมาเปิดใจกับสื่อว่าร่างพ.ร.บ.การอุดมศึกษาส่อแวววึด!!แน่ อีกทั้งยังไม่ได้หารือเรื่องดังกล่าวกับทางคณะกรรมการการอุดมศึกษา (บอร์ดกกอ.)อย่างเป็นทางการ แต่โดยหลักการจะออกกฎหมายอะไร ต้องชี้ให้เห็นชัดเจนว่าประเทศชาติบ้านเมืองจะได้ประโยชน์อย่างไร 

        กระทรวงศึกษาฯยุค"ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร"ได้มีการพิจารณาจัดตั้งกระทรวงใหม่ อาจจะเป็น“กระทรวงการอุดมศึกษา” หรืออาจจะเป็น“ทบวงการอุดมศึกษา”อาจจะหยิบข้อดีบางส่วนจากพ.ร.บ.ดังกล่าวที่เป็นประโยชน์ในภาพรวม มาใส่ไว้ในร่างพ.ร.บ.การจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา เพื่อแก้ปัญหาไปในคราวเดียว 

        “ที่สำคัญต้องทำให้ประชาชนเห็นว่าถ้ามีการแยกกระทรวง แล้วประชาชนได้อะไร นอกเหนือจากมหาวิทยาลัย“ได้อิสระ”และ“มีความคล่องตัว”ในการบริหารงาน” ดร.กฤษพงศ์ ระบุ

        ดร.กฤษณพงศ์  ย้ำว่า จำเป็นต้องมีกลไกที่จะเข้ามาช่วยจัดการมหาวิทยาลัย แต่ไม่ได้หมายความว่าจะออกพ.ร.บ.การอุดมศึกษาเท่านั้น เพราะการออกพ.ร.บ.ดังกล่าวอาจจะทำให้คนเกิดความไม่เชื่อมั่นในระบบมหาวิทยาลัย แม้ระบบส่วนรวมยังดีอยู่ แต่คนมักจะหยิบของไม่ดีขึ้นมาพูด อยากให้มหาวิทยาลัยเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน และข้อมูลการมีงานทำของบัณฑิต ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีหน่วยงานใดมีอำนาจหน้าที่จะไปขอข้อมูลดังกล่าวจากมหาวิทยาลัย 

        กระทรวงการอุดมศึกษาก็น่าจะสามารถจัดทำข้อมูลตรงนี้ เพื่อเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชนได้รับรู้ อีกทั้งข้อมูลดังกล่าวยังทำให้เห็นถึงความสามารถผลิตบุคคลกรได้คุ้มค่ากับงบประมาณแผ่นดินมากแค่ไหน นำไปสู่การกำหนดภาพรวมการผลิตและพัฒนากำลังคนได้ ซึ่งถือเป็นความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัย

        เหนืออื่นใดรัฐบาลที่ผ่านมากระจายอำนาจลงไปให้สภามหาวิทยาลัย สามารถอนุมัติหลักสูตรได้ ทำให้ไม่เห็นภาพรวมว่าบางสาขาผลิตบัณฑิตเกินความจำเป็นหรือไม่ ทำให้เกิดปัญหาบัณฑิตตกลง กระทรวงหรือทบวงอุดมศึกษาใหม่ต้องสามารถที่จะวางเป้าหมายในการผลิตกำลังคนได้

        เจอทีเด็ด“ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร” ขอดูหลักสูตร กำลังการผลิต คุณภาพบัณฑิต การมีงานทำ ฯลฯ เรียกได้ว่าขอดู“บัญชีรายรับ-รายจ่าย”ของมหาวิทยาลัย เท่านั้นแหละ บรรดาเจ้าพ่อ เจ้าแม่ ทั้งอธิการบดี นายกสภามหาวิทยาลัย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งหลายถึงกับออกแนวต่อต้านกันเงียบๆ

        ขุมทรัพย์นับร้อยล้าน-หมื่นล้านบาท จากอภิมหาหลักสูตรพิเศษ ที่แต่ละมหาวิทยาลัยสรรหามาเปิดสอน หวังล้วงกระเป๋าเศรษฐีเห่อคำนำหน้าว่า“ดร. : ดอกเตอร์”บ้างก็มี 200-500 หลักสูตร ที่ทำเงินให้“อธิการบดี”มีรายได้แต่ละเดือนมากกว่านายกรัฐมนตรี

        จวบจนปัจจุบัน "ครม.ประยุทธ์์5"ส่ง“หมออุดม”ศ.นพ.อุดม คชินทร รมช.ศึกษาฯป้ายแดง ผู้มาใหม่จะสามารถสานฝัน“บิ๊กตู”ตั้งกระทรวงอุดมศึกษา ได้หรือไม่??

------//--------

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ