วันนี้ในอดีต

30 พ.ย.57 หมดอายุความ ปรส. ต้องทำใจให้ลืม

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

แต่ในความจบ กลับไม่จบ เพราะคนไทยหลายคนยัง “เจ็บ” แทนประเทศไทย และค้างคาใจ สงสัยในเรื่องนี้มาตลอด จากความไม่ชอบมาพากลหลายอย่าง

          คดีคลาสสิกของบ้านนี้เมืองนี้ เห็นจะต้องยกให้กับ คดี ปรส. ที่ว่ากันว่าเป็น “มหากาพย์ไม่รู้จบ” ปรากฏว่า ก็มี “วันหมดอายุ”!!

          เมื่อที่สุดแล้ว วันนี้ของ  2  ปีก่อน หรือ วันที่  30  พฤศจิกายน  2557  คดี ปรส. ได้หมดอายุความอย่างเป็นทางการ คาดว่าผู้เกี่ยวข้องในคดี จะได้ปิดแฟ้มถาวร เผลอๆ โยนลงเครื่องทำลายกระดาษก็อาจเป็นได้!!

          แต่ในความจบ กลับไม่จบ เพราะคนไทยหลายคนยัง “เจ็บ” แทนประเทศไทย และค้างคาใจ สงสัยในเรื่องนี้มาตลอด จึงต้องย้อนไปว่ากันที่จุดเริ่ม

          ปรส. หรือ องค์กรเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นโดย พระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พุทธศักราช  2540  เพื่อกำกับดูแลสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดำเนินกิจการทั้ง  58  แห่ง เพื่อให้ความคุ้มครองแก่ผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้สุจริตรวมทั้งการชำระบัญชีของสถาบันการเงิน

          แต่ปัญหาคือ ในการประมูลขายทรัพย์สินและคดีความ ปรส. ไม่ได้แยกหนี้ดี และหนี้เสียออกจากกัน จนทำให้ทรัพย์สินของสถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการ มูลค่าประมาณ  851,000  ล้านบาท ถูกประมูลขายไปเพียง  190,000  ล้านบาท สร้างความเสียหายแก่ประเทศชาติมหาศาล

          เรื่องดังกล่าวนำไปสู่การสอบสวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

          เรื่องนี้เป็นที่รู้กันว่า กว่าศาลจะตัดสินว่าผิดจริง ก็ล่วงเลยมากว่า  14  ปี คือจากปี  2541  แต่มามีคำตัดสินเอาวันที่  17  ..  2555

          โดยศาลอาญาได้ตัดสินจำคุก  2  ปี ปรับ  2  หมื่นบาท อมเรศ ศิลาอ่อน อดีตประธานคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) และ วิชรัตน์ วิจิตรวาทการ อดีตเลขาธิการ ปรส. แต่ให้รอลงอาญา  3  ปี

          สำหรับคดี ปรส.ว่า นั้นเริ่มมาจากที่ไทยเรามีหนี้ต่างชาติมากเกินไป นับตั้งแต่เปิดเสรีการเงินที่เรียกว่า สินเชื่อวิเทศธนกิจกรุงเทพ BIBF (สาเหตุของเกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง)

          ที่เกิดในสมัยรัฐบาลชวน  1  ซึ่ง ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังขณะนั้น ปรากฏว่าเงินท่วมเข้ามาอย่างมาก คือ มีการกู้เงินเข้ามาเพราะดอกเบี้ยต่ำ อัตราแลกเปลี่ยนก็ไม่มีความเสี่ยง

          ที่สุดทุกอย่างเกิดเป็นฟองสบู่ โดยคนกู้เงินตราต่างประเทศเอาไปลงทุนระยะยาว เช่น อสังหาริมทรัพย์ โดยอาจลืมหรือไม่ลืมว่า เงินที่กู้เข้ามาเป็นเงินกู้ระยะสั้นแค่  5  ปี

          แต่พอครบ  5  ปีก็ต้องเรียกคืน ซึ่งสถาบันการเงินไม่มีใครเตรียมตัวมาก่อน ในที่สุดมีการโจมตีค่าเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยสู้ไม่ได้จนต้องลอยค่าเงินบาท ทำให้หนี้ท่วม ฟองสบู่แตก!!

          กลายเป็นโศกนาฏกรรมประเทศรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา จน สถาบันการเงิน  58  แห่ง ถูกปิดชั่วคราวในสมัย พล..ชวลิต ยงใจยุทธ และมาปิดถาวร  56  แห่งในสมัยชวน  2  เหลือ  2  แห่ง

          ที่สุด  56  แห่งนี้ ตัดสินใจขายสินทรัพย์ทอดตลาด ซึ่งสินทรัพย์ทางบัญชีไม่รวมดอกเบี้ย มีมูลค่า  677,645  ล้านบาท แต่ขายได้แค่  185,226  ล้านบาท ขาดทุนถึง 492,000  ล้านบาท โดยไม่นับดอกเบี้ย

          ซึ่งถือเป็นการขาดทุนครั้งประวัติศาสตร์เท่าที่ประเทศไทยเคยมีมา และเป็นการขาดทุนที่รัฐบาลค้ำประกันให้คนไทยทั้งประเทศ กลายเป็นหนี้เพิ่มขึ้นจนเจ๊งระนาวกันไปทั่ว

          แต่ในกระบวนการนี้ หลายคนที่ติดตามเรื่องราวอย่างลึกซึ่ง ได้พบความไม่ชอบมาพากลหลายอย่าง เช่น มีถามว่าในช่วงเวลาสั้นๆ ซึ่งบริษัทต่างชาติไม่เคยรู้ว่าใครเป็นใคร ทำไมเขาถึงรู้ข้อมูลได้ว่า ใครมีสินทรัพย์ราคาเท่าไหร่

          ซึ่งปัญหาสำคัญคือ การประมูลของ ปรส. คือ ใช้วิธีการดังต่อไปนี้ 1. ไม่ให้ลูกหนี้เข้าประมูล แต่ให้ประมูลผ่านช่วงจากบริษัทต่างชาติแทน  2. จัดทรัพย์สินเป็นกองใหญ่ ทำให้ผู้ที่สามารถเข้าไปประมูลมีน้อยราย

          3. จัดข้อมูลลูกหนี้ โดยผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ ทำให้มูลค่าหลักประกันและความสามารถในการชำระ การชนะประมูลราคาต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ประกอบกับเอกสารข้อมูลสินทรัพย์ ข้อมูลลูกหนี้ไม่สมบูรณ์ และ ปรส.ไม่มีการแยกทรัพย์สินดี ทรัพย์สินเสีย ทำให้ราคาทรัพย์สินดีเสียไปด้วย

          4. การประมูลสินทรัพย์ในเบื้องต้น ปรส.ไม่อนุญาตให้ บบส. ซึ่งตั้งโดยรัฐบาลเอง เข้าร่วมประมูล ทำให้มีการแข่งขันน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ต้องดิ้นรนอยู่หลายรอบ บริษัทของคนไทยถึงได้เข้าร่วมประมูล

          5. ในการประมูลตอนต้นมีนโยบายห้ามลูกหนี้ไปตกลงประนอมหนี้กับผู้ประมูล ณ ราคาคงที่ต่ำกว่าร้อยละ  80  ของยอดเงินคงคลังภายใน  6  เดือน หมายความว่าห้ามเจรจากันอย่างไร แต่ในทางปฏิบัติเขาเจรจากันทั้งนั้น

          อย่างไรก็ดี ช่วงระหว่างนั้น มีเรื่องราวต่างๆ เกิดขึ้นมากมาในทางรายละเอียดเกินกว่าที่ชาวบ้านร้านตลาดจะเข้าใจได้โดยง่าย

          แต่ สรุปง่ายๆ ว่า งานนี้ประชาชนเดือดร้อน คือ กองทุนซื้อมาถูกๆ แต่ตามทวงหนี้กันเต็มๆ ที่เป็นสินเชื่อโครงการก็สร้างตัวละครเข้ามาประนอมหนี้กันใหม่ ทำให้ทุนต่างชาติซื้อไปถูกๆ กำไรมหาศาล รัฐบาลประเทศไทยสูญเสียโอกาส ขาดรายได้จากภาษีหลายประเภท

          จนเกิดเป็นคำถามเรื่อง มาตรฐานการทำหน้าที่องค์กรตรวจสอบและปราบปรามการทุจริตจริงๆ หรือ ป... ที่ในที่สุด เรื่องราวผ่านพ้นไป ในวันที่  30  .. 2557 ไม่มีผู้ใดต้องรับผิดชอบ ไม่มีผู้ใดต้องรับโทษ!

          หลายคนถึงกับบ่นเสียดายแทนประเทศไทย ส่วนเงินที่สูญไป ต้องทำใจให้ลืมเท่านั้นเอง!

//////////////////////////

ขอขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย และเวบไซต์ผู้จัดการออนไลน์  http://www.manager.co.th/Politics/Viewnews.aspx?NewsID=9550000115714

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ