สุวรรณภูมิบอบช้ำ แต่ใครกัน...ที่อ่วมกว่า?
ต้องพูดว่า “พีคสุด!!” เมื่อย่างเข้าสู่วันที่ 24 พฤศจิกายน 2551 ดาวกระจายของพธม. ลุกลามไปถึงยกกำลังยึดสนามบิน เพื่อกดดันให้รัฐบาลสมชายลาออกไปเสียให้จงได้!
ดาวกระจาย!!!!
วันนี้ เมื่อ 9 ปีก่อน กรุ่นกลิ่นไอร้อนแห่งความขัดแย้งทางการเมืองของบ้านเราระอุขึ้นตามขวบปี
แน่นอนจุดเริ่มมาจากกลุ่มที่คนไทยรู้กันดี มีชื่อว่า กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่หลังจากโค่นรัฐบาลไทยรักไทยได้แล้ว ก็ลุยต่อกับ รัฐบาลพรรคพลังประชาชน ยุคของ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ หลังจาก นาย สมัคร สุนทรเวช ถูกตัดสินให้พ้นจากตำแหน่ง ที่ไปจัดรายการอาหาร
จากนั้นรัฐสภามีมติให้เลือกนาย สมชาย วงษ์สวัสดิ์ จากพรรคพลังประชาชนดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 26 ของประเทศไทย
สำหรับการบุกยึดท่าอากาศยานในประเทศไทย พ.ศ. 2551 นั้นเริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน - 3 ธันวาคม พ.ศ. 2551 โดยเหตุการณ์นี้เริ่มตึงเครียดมาตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2551 ที่ สมชาย วงษ์สวัสดิ์พยายามเข้าไปแถลงนโยบายเพื่อเปิดสมัยประชุม แต่เกิดการขัดขวางโดยกลุ่มพธม.จนมีเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย
กลุ่มพธม.ที่ยึดทำเนียบอยู่แล้วได้เริ่มเคลื่อนไหว ด้วยในยุทธศาสตร์ “ดาวกระจาย” มาสู่การยกระดับการชุมนุมอย่างต่อเนื่อง
ภาษาวัยรุ่น ต้องพูดว่า “พีคสุด!!” คือ เมื่อย่างเข้าสู่วันที่ 24 พฤศจิกายน 2551 ดาวกระจายของพธม. ลุกลามกระจายเข้าไปถึงยกกำลังยึดสนามบิน เพื่อกดดันให้รัฐบาลสมชายลาออกจากตำแหน่งให้ได้
โดยช่วงเย็นของวันดังกล่าว พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพธม.แจ้งหลังจากเข้าปิดล้อมสนามบินดอนเมืองว่า นายสมศักดิ์ โกศัยสุข 1 ใน 5 แกนนำจะเป็นผู้ควบคุมเข้ายึดสนามบินแห่งนี้
กระทั่งวันรุ่งขึ้น (25 พ.ย. 51) กลุ่มพธม.ยังกระจาไปยังสนามบินสุวรรณภูมิมีการกีดกันไม่ให้ประชาชนสามารถเข้าใช้บริการได้ และตามรายงานข่าวยังระบุว่า มีการทำร้ายการ์ดของสนามบินอีกด้วย
ที่สุดก่อนที่ 19.30 น. พธม.ประกาศชัยชนะยึดสนามบินสุวรรณภูมิได้เบ็ดเสร็จ!!!!
รัฐบาลเวลานั้นจึงได้สั่งการให้ฝ่ายความมั่นคงเข้าควบคุมสถานการณ์ แต่ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2551 พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ.ในขณะนั้นได้นำผู้นำเหล่าทัพได้ประชุมกัน และ "ขอร้องให้รัฐบาลยุบสภา" เพื่อให้ พธม.ยุติการชุมนุมท่ามกลางข่าวลือการปลด ผบ.ทบ. และการทำรัฐประหารตลอดทั้งวัน
จนกระทั่งวันที่ 27 พ.ย.นายกรัฐมนตรี แถลงผ่านประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่บริเวณเพื่อป้องปรามการชุมนุมในเขตพื้นที่สนามบินทั้ง 2 แห่ง
แต่ในที่สุด เหมือนกับว่า กลุ่มพันธมิตรจะทำสำเร็จอีกครั้ง เพราะเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2551 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคพลังประชาชน โดยระบุว่า นาย ยงยุทธ ติยะไพรัช กรรมการบริหารพรรคทุจริตการเลือกตั้ง และในครั้งนั้นมีการยุบอีกสองพรรคด้วย คือ พรรคชาติไทยและพรรคมัชฌิมาธิปไตย เป็นผลให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคทั้งสามต้องพ้นจากตำแหน่ง
แน่นอน ที่ฝ่ายพธม. จะประกาศชัยชนะตามสูตร ในวันที่ 3 ธันวาคม รวมแล้วชุมนุมยืดเยื้อมาถึง 193 วัน มีการปิดสนามบินตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน- 3 ธันวาคม 2551
อย่างไรก็ดี การยึดสนามบินเป็นเรื่องผิดกฎหมาย แต่ในการดำเนินคดีกับกลุ่มพันธมิตรมีการตัง้คำถามไปทั่วว่า หากเปรียบเทียบกับคดีของ นปช. ที่รวบรัดเสร็จสรรพลงทัณฑ์อย่างรวดเร็ว
แต่กับคดีดาวกระจายนี้ช้ามาก เพราะพนักงายอัยการใช้เวลาทำคดีนานถึง 4 ปี 5 เดือน เลื่อนฟ้องไปถึง 18 ครั้ง และกว่าจะส่งฟ้องคือวันที่ 14 มีนาคม 2556
กระทั่งวันที่ 21 ก.ย. 2560 ศาลฎีกา มีคำสั่งให้ 13 แกนนำพันธมิตรฯ ประกอบด้วย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง, นายสนธิ ลิ้มทองกุล, นายพิภพ ธงไชย, นายสุริยะใส กตะศิลา, นายสมศักดิ์ โกศัยสุข, นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์, นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์, นายอมร อมรรัตนานนท์, นายนรัญยู หรือศรัณยู วงษ์กระจ่าง, นายสำราญ รอดเพชร, นายศิริชัย ไม้งาม, นางมาลีรัตน์ แก้วก่า และนายเทิดภูมิ ใจดี ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เป็นเงิน 522,160,947.31 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 3 ธันวาคม 51 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ จากกรณีร่วมกันปิดสนามบินดอนเมืองและสนามบินสุวรรณภูมิ เมื่อปี 2551
อย่างไรก็ดี ส่วนคดีอาญาปิดสนามบินดอนเมืองและสุวรรณภูมิ ที่อัยการ เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง พล.ต.จำลอง, นายสนธิ และแกนนำ พธม. กับผู้ชุมนุม รวม 98 รายต่อศาลอาญานั้น คดีอยู่ระหว่างการสืบพยานโจทก์ โดยรอสืบพยานอีกครั้งเดือน มีนาคม 2561 ซึ่งพวกเราต้องรอดูกันต่อไป!!
cแต่ในส่วนคดีแพ่งที่ต้องจ่ายคืนนั้น มีขั้นตอนในทางปฏิบัติหลังจากนี้คือ จำเลยก็จะขอเจรจาประนอมหนี้กับทางโจทก์ คือ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด เพื่อขอชดใช้ตามกำลังทรัพย์ของแต่ละคน หรือขอผ่อนจ่าย
แต่นั่นขึ้นกับว่า หากสามารถประนอมหนี้กันได้ ก็จะไม่เข้าสู่กระบวนการบังคับคดี แต่ถ้าหากทางโจทก์ ไม่พอใจในข้อเสนอประนอมหนี้ของทางจำเลย ทางบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด ก็จะยื่นคำร้องให้กรมบังคับคดี ดำเนินการยึดทรัพย์จำเลยต่อไป นั่นเอง
ทีนี้รู้หรือยังว่าใครอ่วม!!