สังคมเข้มแข็ง

มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำรับมือ 'ภาวะโลกเดือด' เดินหน้าใช้พลังงานทดแทนเพิ่ม

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

นายกฯ มั่นใจพาไทยมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ รับมือ 'ภาวะโลกเดือด' ให้ความสำคัญกับพลังงานสะอาด ศึกษาการซื้อขายไฟฟ้าจาก Renewable Source สร้างความเชื่อมั่นต่างชาติ

"ภาวะโลกเดือด" (Global Boiling) เริ่มส่งสัญญาณมายังโลกอย่างต่อเนื่องและเริ่มส่งผลกระทบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม ทั้งยังส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศอย่างสุดขั้วทั้งวิกฤตน้ำแล้ง พายุที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงผลกระทบความมั่นคงทางด้านอาหาร ผลกระทบด้านสุขภาพ และผลกระทบที่จะเกิดต่อภาวะเศรษฐกิจอย่างเลี่ยงไม่ได้ โดยล่าสุดนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวในกิจกรรม  ร่วม เร่ง เปลี่ยน สู่สังคมคาร์บอนต่ำ ภายในงาน ESG Symposium 2023: Accelerating Changes towards Low Carbon Society เพื่อแสดงเจตนารมย์ว่ารัฐบาลได้ให้ความสำคัญที่จะสร้างประเทศให้กลายเป็นประเทศสังคมคาร์บอนต่ำ และสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2030 


 

นายเศรษฐา ทวีสิน

โดยนายเศรษฐา กล่าวบนเวที  ESG Symposium 2023 ว่า ปัจจุบัน "ภาวะโลกเดือด" ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ขอคนทั่วโลก ภัยแล้งรุนแรง อาหารขาดแคลนส่งผลกระทบไปทั่วทุกภาค หากทุกฝ่ายเดินหน้าไปตามกลยุทธ์ ESG ที่เน้นสร้างเศรษฐกิจ ควบคู่กับสมดุลทางสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างโปร่งใส มุ่งสู่เป้าหมาย Sustainable Development Goals (SDGs) ของสหประชาชาติ เราช่วยกันจะกู้โลกให้กลับมาดีขึ้นได้  เราช่วยกันจะกู้โลกให้กลับมาดีขึ้นได้ เราจะสามารถกู้โลกให้หลุดพ้นจาก "ภาวะโลกเดือด" ไปได้ ที่ผ่านมารัฐบาลได้เดินทางไปร่วมประชุม UN พร้อมกับประกาศแนวทางที่จะขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำผ่านมาตรการต่างๆ ไม่ว่าเป็นมาตรการทางการเงินที่มีการลงทุนไปจำนวนกว่ารัฐบาลได้ออกมาตรการทางการเงินกว่า 450,000 ล้านบาท เพื่อลงทุนในเศรษฐกิจสีเขียว และ Thailand Green Taxonomy เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนเพื่อความยั่งยืน ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจากภาคธุรกิจไทย โดย Global Compact Network Thailand กว่า 100 บริษัททั่วประเทศ พร้อมขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน และตั้งเป้าลงทุน 1.6 ล้านล้านบาท ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ SDGs ภายในปี พ.ศ.2573 
 

โดยการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนนั้นจะต้องถูกทำให้เกิดความชัดเจน และมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาที่ยั่งยืนโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ส่งเสริมองค์ความรู้ และความเท่าเทียมของประชาชน พร้อมกับให้ความสำคัญกับสุขภาพของคนในประเทศ สร้าองค์ความรู้ให้แก่ประชาชนเพื่อให้เกิดการแก้ปัญหารับมือ "ภาวะโลกเดือด" และมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2030 เหล่านี้ถือว่าเป็นแนวทางที่ที่จะช่วยสร้าสังคมที่ยั่งยืนให้แก่ประเทศไทยได้อย่างแท้จริง  

 

 

 

นายเศรษฐา กล่าวต่อไปว่า  เพื่อให้การแก้ปัญหาวิกฤต "ภาวะโลกเดือด" เป็นไปอย่างเป็นรูปธรรมดังนั้นรัฐบาลจึงได้บรรจุการลดก๊าซเรือนกระจกในแผนของประเทศ เพื่อขับเคลื่อนไทยไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำในอนาคต การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นเอกชน หน่วยงานรัฐ และภาคประชาชน ถือว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ SCG ได้เริ่มขยับและลุกขึ้นแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยการกำหนดให้ จ. สระบุรี เป็นพื้นที่แซนด์บ็อกซ์  เพราะ สระบุรีถือว่าเป็นพื้นที่ที่มีความท้าทายอย่างมาก เพราะมีโรงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ค่อนข้างเยอะ อย่างไรก็ตามรัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะผลักดันเศรษฐกิจหมุนเวียนให้เป็นวาระแห่งชาติ รวมไปถึงการให้ความสำคัญกับระบบบริหารจัดการขยะ การจัดหาสินค้ากรีนเพื่อสร้างระบบ ECOSYSTEM อีกทั้งรัฐบาลจะให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานสะอาดให้เต็มประสิทธิภาพ และศึกษาการเปิดให้สามารถซื้อ-ขายไฟฟ้าจาก Renewable Source หรือ แหล่งพลังงานทดแทน ได้มากขึ้น ซึ่งจะเป็นจุดแข็งของประเทศไทยในการดึงดูดนักลงทุน และบริษัทต่างชาติในอนาคต

 

 

"คัญมากคือการเปลี่ยนสู่สังคมคาร์บอนต่ำ โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (Leave no one behind)  ต้องยอมรับว่ายังมีประชาชนอีกมาก โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็ก เกษตรกร และชุมชน ที่ยังไม่ตระหนักถึงวิกฤตนี้ หรือยังไม่พบทางออกเพื่อรับมือ  ดังนั้นควรสนับสนุนการเข้าถึงความรู้ เทคโนโลยี และการเข้าถึงเงินทุน แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ให้สามารถปรับตัวอยู่รอดได้" นายกฯกล่างสรุป 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ