สังคมเข้มแข็ง

ZERO CARBON โอกาสใหม่ภาคธุรกิจบูมตลาดซื้อ-ขาย 'คาร์บอนเครดิต' ที่ง่ายขึ้น

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำโอกาใหม่ภาคธุรกิจท่องเที่ยวอีก 2 เดือน ให้ แอปพลิเคชัน ZERO CARBON เช็กปล่อยก๊าซเรือนกระจก พร้อมซื้อ-ขาย 'คาร์บอนเดรดิต' ที่ง่ายขึ้น

กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุน ววน.) โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) แผนงานการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ร่วมกับ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO)  ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เปิดตัว แอปพลิเคชัน ZERO CARBON เพื่อใช้ในการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการชดเชย "คาร์บอนเครดิต" จากกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมใหม่ เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนหรือคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์”

สำหรับ แอปพลิเคชัน ZERO CARBON จะเปิดใช้งานในอีก 2 เดือนข้างหน้า ซึ่งต่อจากนี้การทำกิจกรรมต่างๆ ของทั้งภาคธุรกิจ และนัดท่องเที่ยวจะสามารถตรวจสอบการปริมาณปล่อยก๊าซเรือนกระจก และปริมาณ "คาร์บอนเครดิต" ที่ต้องชดเชยให้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคธุรกิจการท่องเที่ยว เป็นอีกหนึ่งแรงหนุนที่จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถทำภาระกิจการกสร้างความเป็นทางทางคาร์บอนได้ตามเป้าหมายที่เคยให้ไว้ในการประชุม COP 27

 

 

แอปพลิเคชัน ZERO CARBON

  • พัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์

ผศ.สุภาวดี โพธิยะราช ประธานอนุกรรมการแผนงานกลุ่มท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ บพข.และผู้เชี่ยวชาญอาวุโส สกสว. กล่าวว่า สกสว. ขับเคลื่อนแผนงานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม ภายใต้แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) พ.ศ.2566 – 2570 พัฒนาและเร่งแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นการบริโภคอย่างยั่งยืนและการเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ 

 

เน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีเป้าหมายความสำเร็จในกรอบ 5 ปี (ปีพ.ศ.2566-2570) มุ่งให้ประเทศไทยเป็น Carbon Neutral Tourism Destination ด้วยการสร้างนวัตกรรมหรือผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวจากการท่องเที่ยวแบบปกติให้เป็นการท่องเที่ยวที่ปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutral Tourism) ตอบโจทย์นักท่องเที่ยวคุณภาพ โดยมีการวางแผนการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ที่มีเป้าหมายราว 1,500 เส้นทาง ภายในปี 2569 และวางแผน Net Zero Emission Route ในปี 2569 – 2570 ราว 100 เส้นทาง โดยมี Carbon Neutral Tour Operator / Hotel กว่า 200 ราย รวมทั้งจะมีผู้ประกอบการ Tour Operator / Hotel ที่เป็น Net Zero

 

 

  • ตัวกลางซื้อ-ขาย "คาร์บอนเครดิต"

นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการ TGO กล่าวว่า การส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคการท่องเที่ยวมุ่งสู่คาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ และ Net Zero เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากปัจจุบันปัญหาโลกร้อนเป็นโจทย์ใหญ่ที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือในการลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อสร้างกลไกให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยมุ่งสู่ความยั่งยืน ทาง TGO จึงได้พัฒนาเครื่องมือคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์สำหรับกิจกรรมการท่องเที่ยวขึ้น เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะบริษัทนำเที่ยวนำไปใช้คำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทราบแหล่งและปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญของกิจกรรมท่องเที่ยวของตน การคำนวณคาร์บอนในกิจกรรมต่างๆ ของภาคธุรกิจการท่องเที่ยว ยังช่วยในการขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแล้ว ยังเป็นการสร้างโอกาสด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในระดับสากล อีกด้วย

 

 

ด้าน นางสาวภคมน สุภาพพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักรับรองธุรกิจคาร์บอนต่ำ TGO ให้ข้อมูลว่า  นอกจากนี้หาก แอปพลิเคชัน ZERO CARBON สมบูรณ์แบบยังจะกลายเป็นแพลตฟอร์มในการซื้อ-ขายแลกเปลี่ยน "คาร์บอนเครดิต" ระหว่างชุมชน และผู้ประกอบการ โดยรูปแบบการซื้อ-ขายจะเป็นการซื้อขายผ่านตัวแทนกลางอย่าง สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (TEATA) ซึ่งจะทำให้การซื้อ-ขายทำได้อย่างสะดวกมากขึ้น ประชาชนมีรายได้จากการปลูกต้นไม้ และนำคาร์บอนเครดิตไปขายให้แก่ภาคธุรกิจที่ต้องการชดเชยคาร์บอนที่ปล่อยออกไป

 

ซึ่งปัจจุบันอัตราแลกเปลี่ยนคาร์บอนจะขึ้นอยู่กับประเภทของแหล่งที่มา เช่น หากเป็นคาร์บอนที่มาจากภาคอุตสาหกรรมจะอยู่ที่ประมาณ 50-100 บาท/ตันคาร์บอน  แต่หากมาจากฟาร์มหมู่จะอยู่ที่ประมาณ 200 บาท/ตันคาร์บอน และมาจากภาคป่าไม้จะมีมูลค่าสูงถึง 20,000 / ตันคาร์บอน

 

แอปพลิเคชัน ZERO CARBON

  • เที่ยวแบบ Zero Carbon โอกาสทองภาคธุรกิจท่องเที่ยว

นางสาววสุมน เนตรกิจเจริญ นายกสมาคม TEATA กล่าวว่า TEATA ในฐานะผู้นำผลลัพธ์จากงานวิจัย บพข.ที่น่าสนใจในหลายพื้นที่มาต่อยอดเพื่อยกระดับให้เป็นกิจกรรม หรือ เส้นทางคาร์บอนต่ำ มุ่งสู่การเป็นท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ แอปพลิเคชัน Zero Carbon จะทำให้การชดเชยคาร์บอนขยายไปสู่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวได้อย่างกว้างขวาง เนื่องจากเป็น App ที่ผู้ประกอบการในห่วงโซ่อุปทานรายเล็กสามารถเข้าถึงคาร์บอนเครดิตได้อย่างสะดวก ง่าย และรวดเร็ว นอกจากนั้นนักท่องเที่ยวยังสามารถจัดหาคาร์บอนเครดิตมาชดเชยจนเหมือนไม่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ให้แก่การเดินทางท่องเที่ยวได้ด้วยตนเอง

 

อย่างไรก็ตามการส่งเสริมให้ภาคธุรกิจท่องเที่ยวหันมาให้ความสนใจในการลดคาร์บอน หรือลดก๊าซปล่อยเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ นั้น ไม่ได้เป็นการเพิ่มต้นทุนให้แก่ผู้ประกอบ แต่ในทางกลับกันการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ จะเป็นการสร้างโอกาสให้ภาคธุรกิจการท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น เพราะในการจองที่พัก หรือกิจกรรมของนักเที่ยวต่างชาติอันดับแรกจะมีการตรวจสอบข้อมูลก่อนเลยว่า โรงแรม ร้านอาหาร เส้นทางการท่องเที่ยว หากทำกิจกรรมไปแล้วจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปเท่าไหร่ ซึ่งตนเห็นว่าจะเป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจมากกว่า

 

 

ปัจจุบันมีพื้นที่ที่ TEATA เข้าไปส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ ด้วยการจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวสำเร็จไปแล้ว 2 พื้นที่ คือในจ.ภูเก็ต และกระบี่ โดยสามารถดึงนัดท่องเที่ยมได้มากกว่า 10,000 คน และในอนาคต TEATA จะเพิ่มเส้นทางการท่องเที่ยวในรูปแบบดังกล่าวให้มากยิ่งขึ้น

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ