สังคมเข้มแข็ง

อ้อย-มันสำปะหลัง พืชเศรษฐกิจตัวช่วยซับ 'คาร์บอน' ลดอุณหภูมิให้โลกหายร้อน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

อ้อย-มันสำปะหลัง พืชเศรษฐกิจตัวช่วยซับ 'ซับคาร์บอน' ในชั้นบรรยากาศ พืชไร่ฮีโร่ช่วยลดอุณหภูมิให้โลกหายร้อนแต่ละลดปริมาณได้หลายล้านตันคาร์บอน

การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Cimate change) คือ การเปลี่ยนแปลงลักษณะสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นลักษณะที่เกี่ยวข้องกับอากาศ เช่น อุณหภูมิ ปริมาณฝน ลม เป็นต้นจากการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งได้มีความพยายามคงเป้าหมายในการจำกัดอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส เพื่อที่จะป้องกันหายนะภัยทางด้านสภาพภูมิอากาศ

 

 

 

โดยมีผู้แทนจากกว่า 100 ประเทศ เห็นชอบกับโครงการตัดลดการปล่อยก๊าซมีเทนลง 30% ภายในปี 2030 และผู้นำจาก กว่า 100 ประเทศทั่วโลก ซึ่งมีพื้นที่ป่ารวมกันคิดเป็น 85% ของป่าไม้ในโลก จะยุติการตัดไม้ทำลายป่าภายในปี 2030 รวมถึงเป้าหมายการตัดลดการปล่อย "คาร์บอน" จนกระทั่งถึงเป้าหมายปริมาณคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2050 

ในธรรมชาติพบว่าพื้นที่ป่าไม้และต้นไม้สามารถช่วยลดปริมาณ "คาร์บอน" ในชั้นบรรยากาศได้ เพราะต้นไม้จะดูดชับ CO2 ไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสงแล้วเก็บไว้ในรูปของเนื้อไม้ และสามารถกักเก็บปริมาณ "คาร์บอน" ได้ในปริมาณมาก แต่ในปัจจุบันพื้นที่ป่าไม้ลดลงอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของ ก๊าซคาร์บอน ในบรรยากาศ โดยพื้นที่ลำไม้ซึ่งเป็นแหล่งดูดชับก๊าซคาร์บอน และเก็บกักคาร์บอนที่สำคัญเพราะต้นไม้ใหญ่ 1 ต้น สามารถดูดชับคาร์บอน ได้ประมาณ 9-15 กิโลกรัมต่อปี (กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, 2563) ในปี 2562 ประเทศไทยมีพื้นที่ป่ไม้ 102.484,073 ไร่ คิดเป็น 31. 95% ของพื้นที่ทั้งหมด ส่วนพื้นที่ใช้ประโยชน์ ที่ดินเพื่อการเกษตร 149,252,451 ไร่ คิดเป็น 46.54%

นอกจากต้นไม้ใหญ่แล้วพื้นที่เกษตรของประเทศไทยมีพื้นที่โดยรวมจำนวนมาก มีส่วนสำคัญในการช่วยลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก ช่วยดูดชับและกักเก็บคาร์บอนในต้นพืชและภายในดิน โดยดูดซับคาร์บอน และการกักเก็บ "คาร์บอน" ในส่วนต่าง ๆ ของพืช ผลผลิต และในดิน ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่จะไม่ทำให้คาร์บอน ในชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจที่มีพื้นที่เพาะปลูกมากและสร้างมวลชีวภาพในรูปสารประกอบคาร์บอนต่อไร่สูง ไม่ว่าจะเป็นอ้อย และ มันสำปะหลัง ซึ่งทั้งสอง เป็นพืชไร่เศรษฐกิจสำคัญชนิดหนึ่งของประเทศไทย 

 

 

-มันสำปะหลัง ในปีการผลิต 2563/64 มีเนื้อที่เพาะปลูกทั้งประเทศ 9,439,009 ไร่ ผลผลิตรวม 28,999,122 ตัน ผลผลิตหัวสดเฉลี่ย 3.25 ตันต่อไร่ (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2564) ในผลผลิตหัวสดมันสำะหลังซึ่งเป็นรากสะสมอาหาร จะสะสมคาโบไฮเดรตประมาณ 20-35% และในส่วนของลำต้นและใบยังมีกรสะสมแป้งหรือคาร์โบไฮเดรต เมื่อนำมาคำนวณเป็นผลผลิต คาร์โบไฮเดรตจะได้มากกว่า 1 ล้านตันต่อปี 

 

 

-อ้อย โดยข้อมูลในปี 2563/2564 ที่มีพื้นที่ปลูกอ้อยรวม 10.8 ล้านไร่ มีโอกาสที่จะสามารถดูดซับ คาร์บอนไดออกไซด์  จากบรรยากาศ โดยกระบวนการสังเคราะห์แสงและนำมาสะสมในรูปของมวลชีวภาพในส่วนต่าง ๆ ของอ้อย จากการประเมินศักยภาพการดูดซับก๊าซเรือนกระจกและการกักเก็บคาร์บอนในพืช พบว่า อ้อยแต่ละพันธุ์มีศักยภาพการดูดซับก๊าซเรือนกระจกและการกักเก็บคาร์บอนแตกต่างกัน

 

 

  • ปริมาณการดูดซับ "คาร์บอน" ของ พืชสะสมชีวมวล 2 ชนิด อ้อย-มันสำปะหลัง

 

อ้อย 1 ไร่ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 18.1 ตัน สามารถดูซับ "คาร์บอน" ในรูปส่วนเหนือดินอ้อยเฉลี่ย 3,698 กก.CO2 หรือช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศได้ 13,559 กก.คาร์บอน โดยอ้อย 1 ตันสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 581 กก.คาร์บอน ดังนั้น ในปีการผลิต 2563/2564 ที่มีพื้นที่ปลูก 10.8 ล้านไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 7.21 ตัน/ไร่จะสามารถช่วยดูดซับคาร์บอนในบรรยากาศมาอยู่ในรูปของลำอ้อยทั้งหมดได้ 215.1 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม การเลือกพันธุ์อ้อยและการจัดการแปลงปลูกที่เหมาะสมนอกจากจะช่วยเพิ่มผลผลิตของอ้อยแล้วยังสามารถเพิ่มการกักเก็บคาร์บอนในพืชได้อีกด้วย

 

อ้อย

 

 

-มันสำปะหลัง ในการดูดชับคาร์บอน พบว่า มันสำปะหลังแต่ละพันธุ์มีศักยภาพการดูดชับ C02 ที่แตกต่างกัน แม้ว่าในพันธุ์เดียวกันแต่มี โดยขึ้นอยู่กับอายุ การเจริญเติบโต โดยพบว่าการดูดซับคาร์บอน (ตันคาร์บอนต่อไร่) ในส่วนของผลผลิตหัวสดของพันธุ์มันสำปะหลังมี งพันธุ์ระยอง 11 สามารถดูดชับ CO2 ได้สูงสุด 4.643 ตัน  อย่างไรก็ตามในปีการผลิต 2563/64 ซึ่งมีพื้นที่ปลูกทั้งประเทศ 9,439,009 ไร่ ผลผลิตรวม 28,999 , 122 ตัน (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2564) ผลการดำเนินงานวิจัยของมันสำปะหลัง จำนวน 26 สายพันธุ์/พันธุ์ พบว่า ผลผลิตหัวสดสามารถกักเก็บคาร์บอนเฉลี่ย 0.870 ตันคาร์บอนต่อไร่ และดูดชับ CO2 เฉลี่ย 3.190 ตัน CO2 ต่อไร่ ทำให้มันสำปะหลังสามารถดูดชับคาร์บอนในพื้นที่ปลูกทั้งประเทศต่อปี รวมประมาณ 30.11 ล้านตันคาร์บอน ต่อปี หากนำส่วนต่าง ๆ ของมันสำปะหลังที่เหลือ ได้แก่ ลำต้น เหง้า ใบและก้านใบ มาคำนวณรวมกับรากสะสมอาหาร จะทำให้มันสำปะหลังเป็นพืชที่มีศักยภาพสูงในการดูดชับคาร์บอน ซึ่งเป็นก๊าซชนิดหนึ่งของก๊าซเรือนกระจก และทำให้การผลิตมันสำปะหลังเป็นมิตรกับสภาพภูมิอากาศต่อไป

 

มันสำปะหลัง
 

logoline