ลอยเท้งเต้ง “ณัฐพงษ์” แก้เกมพ่าย อบจ. “บ้านใหญ่” โฟกัสเวทีอุดร-สุโขทัย
เท้งทั่วไทย “ณัฐพงษ์” แก้เกมค่ายส้มพ่าย “อบจ.บ้านใหญ่” โฟกัสสนาม อบจ.อุดร-สุโขทัย หวังชนะกู้หน้า ปลุกความหวังปี 2570
ลอยเท้งเต้ง ณัฐพงษ์ แก้เกมค่ายส้มพ่าย อบจ.บ้านใหญ่ จับตาสมรภูมิท้องถิ่น 9 จังหวัด ปลายปีนี้ ล้างตาหรือย้ำแค้น
แคมเปญ เท้ง ทั่ว ไทย โฟกัสสนาม อบจ.สุโขทัย-อุดรฯ ส้มขอสู้กู้ศักดิ์ศรี หวังชนะบ้านใหญ่ ปลุกความหวังปี 2570
พักนี้ หัวหน้าเท้ง-ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคประชาชน และศรายุทธ ใจหลัก เลขาธิการพรรค เดินสายพบสื่อหลายสำนัก พร้อมเปิดตัวโครงการ “เท้ง ทั่ว ไทย” ลงพื้นที่ทั้ง 77 จังหวัด ภายในเวลา 1 ปี เพื่อรับฟังปัญหาจากประชาชน
เฉพาะหน้านี้ จากกลางเดือน ต.ค.นี้ ไปจนถึงสิ้นปี 2567 โครงการ “เท้ง ทั่ว ไทย” จะสัญจรไป 20 จังหวัด ซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายของ “นายก อบจ.” สีส้ม โดยเริ่มต้นที่ภูเก็ต เป็นจังหวัดแรก
นับแต่ปลายเดือน ก.พ. จนมาถึงต้นเดือน ต.ค.2567 มีนายก อบจ. ลาออกก่อนครบวาระ 20 จังหวัด และจัดการเลือกตั้งไปแล้ว 11 จังหวัด
สำหรับสนามนายก อบจ. 11 จังหวัด มีผู้สมัครในนามตัวแทนพรรคประชาชนและสมาชิกพรรค ลงแข่งขัน 6 จังหวัด ภายใต้การนำของ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์และณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ปรากฏว่า ประสบความพ่ายแพ้ทุกสนาม
ทำไมแพ้บ้านใหญ่
สาเหตุที่นักการเมืองท้องถิ่น “บ้านใหญ่” เอาชนะผู้สมัครสายสีส้มแบบเบ็ดเสร็จทุกสนาม
1.นายก อบจ.สายบ้านใหญ่ ชิงลาออกก่อน เพื่อความได้เปรียบทางการเมือง และเลี่ยงข้อจำกัดในกฎหมายเลือกตั้ง
2.อาศัยความไม่ตื่นตัวของประชาชน การเลือกตั้งนายก อบจ. ไม่พร้อมกันทั้งประเทศ ทำให้การแข่งขันไม่สูง และประชาชนก็ตื่นตัวน้อย
3.กติกาเอื้อบ้านใหญ่ เนื่องจากการเลือกตั้งท้องถิ่น ไม่มีเลือกตั้งล่วงหน้า ทั้งในเขตและนอกเขต รวมถึงการใช้สิทธินอกราชอาณาจักร
4.ใช้ตัวบุคคลเป็นจุดขาย การเลือกตั้งท้องถิ่น ปัจจัยส่วนบุคคลมีความสำคัญที่สุด ในการตัดสินใจของประชาชน รองลงมาคือพรรคการเมือง
5.พันธมิตรบ้านใหญ่ ผนึกกำลังเครือข่ายนักการเมืองระดับชาติต่างพรรค สู้พรรคสีส้ม อย่างกรณี อบจ.ราชบุรี
สมรภูมิอุดร-สุโขทัย
ช่วงเดือน ก.ย.-ต.ค.นี้ มีนายก อบจ.ลาออกก่อนครบวาระอีก 9 จังหวัด และในวันอาทิตย์ 6 ต.ค.2567 จะมีการเลือกตั้งนายก อบจ. 3 จังหวัด
นายก อบจ.อุทัยธานี : เผด็จ นุ้ยปรี อดีตนายก อบจ.อุทัยธานี ลงสมัครคนเดียว ในนามกลุ่มคุณธรรม ของ ชาดา ไทยเศรษฐ์ สส.อุทัยฯ
นายก อบจ.ยโสธร : วิเชียร สมวงษ์ อดีตนายก อบจ.ยโสธร พรรคเพื่อไทย เจอคู่แข่ง 3 คน ประเภทไม้ประดับ
นายก อบจ.ระนอง : “นายกอิทธิ์” ธนกร บริสุทธิญาณี อดีตนายก อบจ.ระนอง ทีมรวมพลังระนอง ปะทะ สีหราช สรรพกุล ทีมระนองก้าวหน้า ของ คงกฤษ ฉัตรมาลีรัตน์ สส.ระนอง พรรคภูมิใจไทย
สนามนี้ มีผู้สมัครแนวสีส้มลงสมัครด้วยคือ คุณัญญา สองสมุทร ในนามทีมระนองก้าวไกล
ส่วนวันอาทิตย์ที่ 3 พ.ย.2567 จะมีการเลือกตั้งนายก อบจ.อีก 2 จังหวัด และมีพรรคประชาชน ลงลุยท้องถิ่นด้วย
นายก อบจ.ขอนแก่น : พงษ์ศักดิ์ ตั้งวานิชกพงษ์ อดีตนายก อบจ.ขอนแก่น ชน วัฒนา ช่างเหลา อดีต สส.ขอนแก่น ทายาท เอกราช ช่างเหลา สส.ขอนแก่น พรรคภูมิใจไทย
นายก อบจ.สุโขทัย : มนู พุกประเสริฐ อดีตนายก อบจ.สุโขทัย บ้านใหญ่ศรีสำโรง โดย สมศักดิ์ เทพสุทิน แข่งกับผู้สมัครจากพรรคประชาชน ที่รอการเปิดตัวในเร็ววันนี้
ที่เหลืออีก 4 จังหวัดยังไม่ได้กำหนดวันเลือกตั้ง เพราะนายก อบจ.คนเก่าเพิ่งลาออกช่วงปลายเดือน ก.ย.นี้
นายก อบจ.อุดรธานี : ศราวุธ เพชรพนมพร อดีต สส.อุดรธานี พรรคเพื่อไทย เจอสายแข็ง คณิศร ขุริรัง อดีตรองนายก อบจ.อุดรธานี พรรคประชาชน
อุดรธานี จะเป็นเวทีนายก อบจ.แห่งที่ 2 ที่มีผู้สมัครนายก อบจ.ในนามพรรคลงสนาม ต่อจาก อบจ.ราชบุรี
นายก อบจ.เพชรบุรี : ชัยยะ อังกินันทน์ อดีตนายก อบจ.เพชรบุรี กลุ่มรวมใจเพชร แนวโน้มจะลงสมัครคนเดียวอีกสมัย
นายก อบจ.สุรินทร์ : พรชัย มุ่งเจริญพร อดีตนายก อบจ.สุรินทร์ กลุ่มสุรินทร์รวมใจ และพรรคภูมิใจไทย ยังไม่มีคู่แข่ง
นายก อบจ.นครศรีธรรมราช : กนกพร เดชเดโช อดีตนายก อบจ. มารดา ชัยชนะ เดชเดโช ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรค ปชป. น่าจะมีคู่แข่ง 2-3 คน
สรุปว่า ปลายปีนี้ หัวหน้าเท้ง และพรรคประชาชน มีภารกิจในสมรภูมินายก อบจ. 2 จังหวัดคือ อุดรธานี และสุโขทัย