คอลัมนิสต์

วิกฤติธรรมาภิบาล ความวุ่นวายใน “มสธ.” 5ปี ยังแต่งตั้ง “อธิการบดี” ไม่ได้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

“มสธ.” ย่างเข้าสู่ปีที่ 45 ในวันที่ 5 กันยายน 2566 มหาวิทยาลัยเปิดแห่งที่2 ของไทย เปิดกว้าง ให้โอกาสและความเท่าเทียมกับทุกคน พิสูจน์ได้จากแผนการเรียน ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ แต่วันนี้สังคมมีคำถามกับระบบบริหารทำไม 5ปีแล้วยังแต่งตั้ง “อธิการบดี” ไม่ได้

ชื่อชั้น ศ.ดร.วิจิตร  ศรีสอ้าน  กลายเป็นความโชคดีของ “มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช” หรือ “มสธ.” อธิการบดีผู้ก่อตั้ง ผู้มากด้วยความรู้ ความสามารถ ที่คนในแวดวงการศึกษาทั้งในและต่างประเทศยกมือย่องเชิดชู คนไทยยกมือไหว้ได้สุดแขน ส่งผลให้สถาบันอุดมศึกษาของรัฐแห่งนี้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าแบบก้าวกระโดด ท่ามกลางศรัทธาอันแรงกล้าของคนไทยค่อนประเทศ

วันเวลาเปลี่ยน กลับเกิดเรื่องวุ่นวายใน“มสธ.”5ปียังตั้ง“อธิการบดี”ไม่ได้

 

จุดกำเนิดของปัญหา ว่ากันว่า เมื่อปี 2560 มีการถอดถอนอธิการบดีมสธ.คนเดิม แต่เรื่องยังอยู่ในศาลปกครองสูงสุด มีการร้องเรียนถึงกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสภามหาวิทยาลัยว่า “ลาออก” แล้ว แต่ไม่ชัดเจนว่าลาออกจริงหรือไม่ เพราะเรื่องอยู่ศาลปกครองสูงสุด และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิคนนี้ ก็ได้รับความไว้วางใจมานั่ง “รักษาการอธิการบดีมสธ.” แต่หลายเดือนต่อมาศาลไม่คุ้มครอง อีกทั้งหมดวาระ4 ปี สภามหาวิทยาลัยได้สรรหาอธิการบดีคนใหม่ 

 

ที่น่าตกใจ“ประธานคณะกรรมการสรรหาอธิการบดี” เป็นคนเดียวกับ “รักษาการอธิการบดี” ตลกร้ายกว่านั้นสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษ(สกอ.)ในยุคนั้น ไม่ทักท้วงในเรื่องนี้ ปล่อยให้ทำหน้าที่ประธานถึง 5 ครั้ง

 

ทว่าในการประชุมครั้งที่ 6 “รักษาการอธิการบดี”ได้ลาออกจากประธานคณะกรรมการสรรหาฯ จนกระทั่งมีการเสนอชื่อ 3 คนสุดท้ายเพื่อให้สภามหาวิทยาลัย และคัดเลือกเหลือเพียงคนเดียวที่ได้รับการสรรหาเป็น “อธิการบดีมสธ.”

 

โดยสภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช มีมติเห็นชอบให้ “รศ.ดร.วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ” อาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ เป็นผู้สมควรเป็นอธิการบดีมสธ. ตั้งแต่ปี 2560 แต่ถึงทุกวันนี้(9ม.ค.2566) ยังไม่มีการเสนอขอโปรดเกล้าฯ

รศ.ดร.วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ

สรุปให้ ทำไม 5ปี ยังแต่งตั้ง“อธิการบดีมสธ.”ไม่ได้

  1. การจงใจชะลอการโปรดเกล้าตำแหน่งอธิการบดีมสธ.
  2. ปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนในมสธ.หรือไม่
  3. การไม่ปฏิบัติตามแนวหลักธรรมาภิบาลของกระทรวงอว.โดยการดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยเกิน 8 ปีและการสรรหารอบใหม่เพื่อให้ได้นายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัย ที่กรรมการเลือกกันเองลงคะแนนให้กันเอง ได้ชุดเดิมทั้งหมด

 

เหล่านี้สะท้อน วิกฤติธรรมบาลในมสธ.เข้าขั้นโคม่า ทั้งที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.)ได้ออกแนวปฏิบัติ ปลดล็อกทุกข้อจำกัดเพื่อให้มหาวิทยาลัยเดินหน้าได้ หากการฟ้องร้องที่ศาลไม่คุ้มครองสามารถขอเสนอโปรดเกล้าได้ ทั้งนี้มีมาตั้งแต่ปี2561 ยุค ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอว.

 

ว่ากันว่า กระทรวงอว.ยุค "ศ.พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์" เคยมีหนังสือท้วงติงมายังสภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เพื่อให้ดำเนินการในเรื่องนี้ถึง 2 ครั้ง แต่ทุกอย่างเงียบ

 

งานนี้ “ครูแจ่ม” เชียร์สุดใจ ขอให้  “ศ.พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์” รมว.กระทรวงอว.โชว์ฟอร์ม เร่งเข้ามาแก้ไขปัญหาเรื่องวุ่นวายในมสธ.อย่าให้สังคมมองเป็นการ "จงใจละเว้น" การปฏิบัติหน้าที่ ทั้งนี้เพื่อเรียกศรัทธาสังคมไทยที่มีต่อ "มสธ."กลับคืนมา  

 

ฝากถึง “ใคร?” ที่ยึดมั่น ถือมั่น ขอให้ลดละลงบ้าง ปูนนี้แล้วนะ การศึกษาที่ดีและมีคุณภาพควรได้รับการส่งต่อให้คนรุ่นใหม่เข้ามาดูแล แทน แต่คนรุ่นเก่า ควรปรับบทบาทเป็นลมใต้ปีก นะขอบอกๆ

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ