คอลัมนิสต์

นับถอยหลัง 'ประชุมสภา' โหวต 'เลือกนายกฯ'

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สัปดาห์สุดท้าย การเมืองไทย เผยกำหนด 'ประชุมสภา' ลุ้นระทึก ตั้งแต่นัดแรก เลือกประธานสภา กำหนดเกมโหวต 'เลือกนายกฯ'

รัฐพิธี เปิดประชุมรัฐสภา วันที่ 3 ก.ค. 2566 เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา121 ที่กำหนดให้ต้องเปิดประชุมรัฐสภา ภายใน 15 วัน หลังประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง สส.  พระมหากษัตริย์ จะเสด็จพระราชดำเนินมาทรงทำรัฐพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญประจำปีครั้งแรกด้วยพระองค์เอง  หรือจะทรงโปรดเกล้าฯให้พระรัชทายาทซึ่งทรงบรรลุนิติภาวะแล้วหรือผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นผู้แทนพระองค์ มาทำรัฐพิธีก็ได้ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 122 วรรค 2  

 

หลังจากนั้นจะมีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกประธานสภา ซึ่งจะเป็นผู้กำหนดวันประชุมรัฐสภา โหวตเลือกนายกฯ ในลำดับถัดไป

การประชุมสภาผู้แทนราษฎร กำหนดขึ้นในวันที่ 4 กรกฎาคม 2566

 

พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ สส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย จะเป็นผู้ทำหน้าที่ ประธานในที่ประชุม ชั่วคราว เพราะมีอาวุโสสูงสุด ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ เป็นเงื่อนไขในการประชุมสภาครั้งแรก หลังเลือกตั้ง  เพื่อเลือกประธานสภา มีการตั้งข้อสังเกตว่า หากพรรคเพื่อไทย ตกลงกับพรรคก้าวไกล ไม่ได้  ปล่อยให้มีการฟรีโหวต  จะเป็นโจทย์ยาก ในการจัดตั้งรัฐบาลที่มีพรรคก้าวไกลเป็นแกนนำ

 

เพราะหากมีการเสนอชื่อแข่ง ที่การลงคะแนนเลือกประธานสภา รัฐธรรมนูญมาตรา 120 วรรคท้ายกำหนดให้เป็นการลงคะแนนลับ   15 ก.ค. 2566  (คาดการ) ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะ ประธานรัฐสภา จะเรียกประชุมรัฐสภา เพื่อโหวตเลือกนายกฯ ตามบทเฉพาะกาลรัฐธรรมนูญมาตรา 272 (ไม่มีกำหนดระยะเวลาต้องเลือกนายกฯภายในกี่วัน )

 

ผู้ชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต้องมีชื่อในบัญชีรายชื่อนายกฯที่แต่ละพรรคการเมือง ยื่นไว้ตอนสมัครรับเลือกตั้ง สส. ไม่เกิน 3 ราย  ต้องมี สส. 1 ใน 10 รับรอง การเสนอชื่อแคนดิเดตนายกฯในที่ประชุมรัฐสภา  หมายความว่า พรรคการเมืองที่มีลิสต์รายชื่อแคนดิเดตนายกฯ ตอนที่สมัครรับเลือกตั้ง สส. สามารถเสนอชื่อเข้าที่ประชุมเพื่อเลือกได้

 

การลงคะแนนโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ต้องกระทำโดยเปิดเผย

 

ผู้ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี ต้องได้รับคะแนนเกินกึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภา ( บทเฉพาะกาล ม.272 ) หรือ 376 เสียง โดยการเลือกนายกฯตามบทเฉพาะการนี้เอง ที่ทำให้มีความ สมาชิกวุฒิสภา ออกมา แสดงความเห็นว่า เสียงข้างมากต้องไปดูกันในวันโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี  ไม่ได้หมายความว่า พรรคที่ชนะการเลือกตั้งเป็นเสียงข้างมาก

 

หากมีการเสนอชื่อ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ  หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ หรือ นาย อนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย แล้วเข้าเงื่อนไขที่ สว.ใช้เป็นดุลยพินิจในการโหวตก็ไม่ต้องกังวลเรื่องรัฐบาลเสียงข้างน้อย เพราะเมื่อเลือกนายกรัฐมนตรีได้แล้ว  จะมีพรรคการเมืองและ สส. มาเติมให้เป็นเสียงข้างมากเอง

 

เพราะเชื่อว่า MOU ที่ 8 พรรคร่วมลงนามกันไว้ ถูกฉีกได้ตลอดเวลา เนื่องจากไม่มีสภาพบังคับตามกฎหมาย

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ