คอลัมนิสต์

สนาม ‘เพชรบูรณ์’ มีหนาว ‘พปชร.’ เสี่ยงเพื่อไทยแลนด์สไลด์

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

‘เพชรบูรณ์’ ถูกมองว่าเป็นจังหวัดที่มี บ้านใหญ่ ภายใต้การนำของ สันติ พร้อมพัฒน์ เลือกตั้งปี62 ครองแชมป์ สส.ยกจังหวัด แต่เลือกตั้ง66 พปชร. มีหนาวเสี่ยงเพื่อไทยแลนด์สไลด์

เพชรบูรณ์ ถูกมองว่าเป็นจังหวัดที่มี บ้านใหญ่ ภายใต้การนำของ สันติ พร้อมพัฒน์ เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา พปชร. ครองแชมป์ สส.เพชรบูรณ์ ยกจังหวัดทั้ง 5 เขต และการเลือกตั้ง 2566 พลังประชารัฐ คาดหวังป้องกันแชมป์เอาไว้เหมือนเดิม

เมื่อ 4 ปีที่แล้ว ผลการเลือกตั้งปี 2562 จ.เพชรบูรณ์ พรรคพลังประชารัฐ ครองแชมป์กวาด สส. ยกทั้งจังหวัด จำนวน 5 เขตเลือกตั้ง ได้แก่

 

  • เขต 1 น.ส.พิมพ์พร พฤฒิพันธุ์ ได้ 37,011 คะแนน
  • เขต 2 นายจักรัตน์ พั้วช่วย ได้ 49,741 คะแนน
  • เขต 3 นางวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ ได้ 43,120 คะแนน
  • เขต 4 นายสุรศักดิ์ อนรรฆพันธ์ ได้ 33,225 คะแนน
  • เขต 5 นายเอี่ยม ทองใจสด ได้ 36,034 คะแนน

 

เลือกตั้ง2566 ‘เพชรบูรณ์’ อยู่ในกลุ่มจังหวัดที่มีจำนวนเขตเลือกตั้ง 6 เขต เหมือนจังหวัด กาฬสินธุ์, นครปฐม, นครสวรรค์ และ มหาสารคาม

นายสันติ พร้อมพัฒน์  เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ

สันติ พร้อมพัฒน์ บ้านใหญ่เพชรบูรณ์ ประกาศผู้สมัครชุดเดิมซึ่งเป็นอดีต สส. เป็นว่าที่ผู้สมัครเลือกตั้ง66 พร้อมผู้สมัครหน้าใหม่ จากสนามเล็ก (อบจ.) ขยับขึ้นมาลงการเมืองระดับชาติ ในเขตเลือกตั้งที่ 3 ซึ่งมองกันว่า เป็นพื้นที่ของ พรรคประชาธิปัตย์

 

ขณะที่ พรรคเพื่อไทย ประกาศรายชื่อว่าที่ผู้สมัคร สส. ซึ่งมีดาวเด่น ของพรรค ได้แก่ ‘ตรีชฎา ศรีธาดา’ คาดว่าจะลงสมัครในแบบเขตเลือกตั้งในเขต 2 จ.เพชรบูรณ์ แต่ถูเปลี่ยนไปเป็นผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อในภายหลัง

 

รายชื่อว่าที่ผู้สมัคร สส. เพชรบูรณ์ ในรอบแรก มีกระแสออกมาว่าเป็นการสมยอมของว่าที่ผู้สมัครและพรรคการเมืองในจ.เพชรบูรณ์ โดย พรรคพลังประชารัฐ ค่อนข้างมั่นใจและส่งผู้สมัครตัวจริงที่เป็นอดีต สส. ลำดับตามเขตเลือกตั้ง ได้แก่

 

  • เขต 1 เป็นของ ตระกูล พรพฤฒิพันธุ์ 
  • เขต 2 เป็นของ ตระกูล พั้วช่วย 
  • เขต 3 คาดว่าจะเป็นของ พรรคประชาธิปัตย์ที่ิกำลังมาแรง ได้แก่ นายยุพราช บัวอินทร์ 
  • เขต 4 เป็นความหวังของ พรรคเพื่อไทย จากตระกูล อนรรฆพันธ์
  • เขต 5 เป็นของบ้านใหญ่พรรคพลังประชารัฐ นางวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ 
  • เขต 6 พรรคพลังประชารัฐ ใส่ชื่อ ของ นายเอี่ยม ทองใจสด อดีต สส. หลายสมัยไว้ในรายชื่อ แต่ ว่าที่ผู้สมัครที่เคลื่อนไหว ในพื้นที่ กลับเป็น นายอัคร ทองใจสด หลายชายของ นายเอี่ยม ทองใจสด ซึ่งยังไม่ประกาศว่าสังกัดพรรคการเมืองใด

 

ภายหลังวันที่ 13 มีนาคม 2566 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายในการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการแบ่งเขตการเลือกตั้ง ซึ่งประกาศในวันที่ 3 มีนาคม 2566 โดย สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดเพชรบูรณ์ การแบ่งเขตการเลือกตั้งที่ประกาศมีด้วยกันทั้งหมด 4 รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบไหนการแย่งชิงพื้นที่ก็ยังคงเป็น 2 พรรคใหญ่ เจ้าถิ่นเดิม และอาจจะเป็นความหวังของพรรคพลังประชารัฐที่จะได้ สส.ยกจังหวัดอีกรอบก็เป็นได้

 

ส่อง 6 เขตเลือกตั้งเพชรบูรณ์

เขตเลือกตั้งที่ 1 เป็นพื้นที่เดิม ของ นางสาวพิมพ์พร พรพฤฒิพันธุ์ จาก พรรคพลังประชารัฐ และมี นายสุทัศน์ จันทร์แสงศรี จากพรรคเพื่อไทยลงชิงชัย

 

เขตเลือกตั้งที่ 2 เป็นพื้นที่เดิม ของ นายจักรัตน์ พั้วช่วย จาก พรรคพลังประชารัฐ มีผู้สมัครหน้าใหม่หลายรายเป็นคู่แข่ง ซึ่งไม่น่าจะสร้างปัญหาอะไรมากนัก

 

เขตเลือกตั้งที่ 3 มี นายยุพราช บัวอินทร์ อดีต สส. จากพรรคประชาธิปัตย์ เป็นตัวเต็งที่กำลังมาแรง เนื่องจากเจ้าตัวลงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และมีสนามการเมืองท้องถิ่นคอยเป็นกองหนุน สำหรับคู่แข่ง เป็นผู้สมัครหน้าใหม่ จาก พรรคพลังประชารัฐ ได้แก่ บุญชัย กิตติธาราทรัพย์ ที่ขยับจากการเมืองสนามเล็ก (สจ.) มาท้าชิงในระดับชาติ หากมีการต่อสู้กันเต็มกำลังอาจจะเป็นม้ามืดของพรรคพลังประชารัฐก็เป็นได้

 

เขตเลือกตั้งที่ 4 เป็นพื้นที่ ที่พรรคเพื่อไทย คาดหวังและส่ง นายทวีศักดิ์ อนรรฆพันธ์ ซึ่งเป็นน้องชายของ นายสุรศักดิ์ อนรรฆพันธ์ สส. พรรคพลังประชารัฐ เป็นตัวแทน แต่ทางฝั่งพรรคพลังประชารัฐก็ปรับแผน ส่ง นายวรโชติ สุคนธ์ขจร” ประธานสภา อบจ.เพชรบูรณ์ และสจ.เพชรบูรณ์ เขต อ.ชนแดน ซึ่งถือคนสนิทของ นางวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ ลงเป็นคู่ต่อสู้และตัว นางวันเพ็ญ ขยับไปลงเลือกตั้งในเขต 5 ในเรื่องของความได้เปรียบในพื้นที่ อาจทำให้พรรคเพื่อไทย น้ำตาตกก็เป็นได้

 

เขตเลือกตั้งที่ 5 เป็นพื้นที่ของ นายสุรศักดิ์ อนรรฆพันธ์ สส. พรรคพลังประชารัฐ แต่เจ้าตัวอาจจะวางมือทางการเมือง พรรคพลังประชารัฐ จึงส่ง นางวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ เบอร์ใหญ่สุดของบ้านใหญ่พร้อมพัฒน์ ขยับมาลงในเขตเลือกตั้งนี้ แต่ทางพรรคเพื่อไทย ก็สร้างเซอร์ไพรส์ ด้วยการ ส่ง สุประวีณ์ อนรรฆพันธ์ (สจ.) หลานชายของ นายสุรศักดิ์ อนรรฆพันธ์ ลงประกบเบอร์ใหญ่แบบไม่คาดคิด ก็คงต้องตามกันต่อไปว่างานนี้จะจบแบบไหน

 

เขตเลือกตั้งที่ 6 เจ้าของพื้นที่เดิม ได้แก่ นายเอี่ยม ทองใจสด และได้รับการประกาศเป็นว่าที่ผู้สมัครพรรคพลังประชารัฐ ในครั้งนี้ด้วย แต่การเคลื่อนไหวในพื้นที่กลับเป็นนักการเมืองหน้าใหม่ ชื่อว่า นายอัคร ทองใจสด หลานชายของ นายเอี่ยม ทองใจสด และเป็นบุตรชาย ของ นายอัครเดช ทองใจสด นายก อบจ.เพชรบูรณ์ บ้านใหญ่ในสนามเลือกตั้งระดับจังหวัด ที่เดินสายหาเสียงหามรุ่งหามค่ำ แต่ ไม่บอกว่า สังกัดพรรคอะไร แม้แต่ป้ายหาเสียงก็ยังไม่ปรากฏชื่อพรรค หรือมีรูปแบบคล้ายพรรคใด 

อุ๊งอิ๊ง แพทองธาร ชินวัตร  หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย

 

ส่วนพรรคเพื่อไทย ส่ง นายเกรียงไกร ปานสีทอง อดีตผู้สมัครพรรคอนาคตใหม่ ที่เกือบจะล้มแชมป์ในการเลือกตั้งที่ผ่านมา หลังพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบก็ย้ายมาสังกัดพรรคเพื่อไทย และลงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมีกระแส ‘อุ๊งอิ๊ง แพทองธาร ชินวัตร’ หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย มาช่วยเขย่าคู่แข่งอีกแรง โอกาสเป็น สส. อยู่ไม่ไกล

 

เลือกตั้ง66 มีความเสี่ยงสูงที่ พปชร. อาจจะถูกโค่นแชมป์กวาดสส.ยกจังหวัดเช่นในอดีต ถ้า สันติ พร้อมพัฒน์ ขยับฐานที่มั่นจากเพชรบูรณ์ เป็นสนามเลือกตั้งกรุงเทพมหานคร เป็นจังหวะเดียวกันกับ สมศักดิ์ เทพสุทิน อดีตกลุ่มสามมิตรคืนรังเพื่อไทย เดินสายภาคเหนือตอนล่าง โอกาสพรรคเพื่อไทยแลนด์สไลด์เป็นไปได้สูง.

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ