คอลัมนิสต์

เถระรูปใดจะเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 8 แห่งวัดบวรนิเวศฯ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ขณะนี้ ผู้ที่สนใจเรื่องวัดวาอาราม กำลังจับตามองไปที่วัดบวรนิเวศวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอก ว่าพระเถระรูปใดจะได้เป็นเจ้าอาวาส หลังจากสมเด็จพระวันรัต (จุนท์) อดีตเจ้าอาวาสมรณภาพ และออกเมรุ เมื่อ 1 ธันวาคม 2565

ปัจจุบัน พระธรรมวชิรญาณ(จิระพล อธิจิตฺโต) ในฐานะผู้ช่วยเจ้าอาวาส และเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส หลังจากสมเด็จพระวันรัต(จุนท์ พรหมคุตฺโต) เจ้าอาวาส ลำดับที่ 7 อายุ 85 ปี มรณภาพเมื่อ 15 มีนาคม 2565
ผู้ที่ติดตามเรื่องวัด คาดการณ์ว่าคณะสงฆ์ธรรมยุต คงไม่ดองเค็ม ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศไว้นาน เหมือนที่เคยดองเค็ม ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยาราม ที่อดีตสมเด็จพระวันรัต (จุนท์) รักษาการณ์แทนเจ้าอาวาสนานกว่า 10 ปี จนกระทั่งมรณภาพ เพราะวัดบวรนิเวศฯเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 9 และเป็นวัดที่กุลบุตร จากส่วนราชการและเอกชน เข้าอุปสมบทระยะสั้น 15 วันและ  1 เดือน ครั้งละหลาย ๆ รูปเป็นประจำ
แปลว่า คณะธรรมยุตอาจเสนอพระเถระในวัดบวรนิเวศรูปใด รูปหนึ่งให้มหาเถรสมาคมพิจารณา อนุมัติให้ขึ้นดำรงตำแหน่งสำคัญนี้ อย่างเงียบๆ ก็ได้

 


ถึงแม้ว่า มหาเถรสมาคมจะเห็นชอบตามที่คณะสงฆ์ธรรมยุตเสนอมาตามลำดับขั้นตอนแล้ว ก็ยังเป็นเจ้าอาวาสพระอารามหลวงไม่ได้ เพราะกฎมหาเถรสมาคมฉบับที 24 ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ  ได้แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ พ.ศ.2563 ว่าการแต่งตั้งพระสังฆาธิการให้ดำรงตำแหน่งทางปกครอง ตั้งแต่เจ้าคณะใหญ่จนถึงเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ให้สมเด็จพระสังฆราชในฐานะประธานมหาเถรสมาคม เสนอไปยังราชเลขานุการในพระองค์ เพื่อนำความกราบบังคมทูลพระกรุณา ทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท เมื่อมีพระราชดำริประการใด ให้มหาเถรสมาคมมีมติ ให้มีพระบัญชาตั้ง หรือตราตั้ง แล้วแต่กรณี และให้เลขาธิการรายงานนายกรัฐมนตรี เพื่อทราบต่อไป

ในการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการนั้น ให้ดำเนินการตามกฏ มส. แต่ถ้ามีพระราชดำริประการใด ให้ผู้มีอำนาจแต่งตั้ง หรือถอดถอน ดำเนินการ อนุวัต ตามพระราชดำรินั้น


ส่วนรายนามพระเถระวัดบวรนิเวศวิหาร ที่มีโอกาสขึ้นดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส  ที่ดำรงสมณศักดิ์ชั้นธรรม มี 3 รูป คือ 1.พระธรรมวชิรญาณ(จิรพล) 2.พระธรรมวิสุทธาจารย์(แสวง) และ 3.พระธรรมศากยวงศ์วิสุทธ์(อนิลมาน)
พระราชาคณะชั้นเทพ มี 2 รูป คือ 1.พระเทพวชิรมุนี(มล.คิวปิค) และ 2.พระเทพวิสุทธิกวี(ถาวร) 
ใครเป็นใคร อีกไม่นาน สาธุชน และคณะศิษย์ คงได้อนุโมทนา
วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นวัดที่สำคัญมาก คือเป็นที่ประทับพระเจ้าอยู่หัวเมื่อทรงผนวช ในอดีตพระราชวงศ์ชั้นสูง อุปสมบท หรือบรรพชา ได้ประทับที่วัดนี้ จนอาจเรียกว่าเป็นวัดประจำพระราชวงศ์ก็ได้

พระธรรมศากยวงศ์วิสุทธิ์(อนิล)

 


วัดนี้ได้รับการสถาปนาในรัชกาลที่ 3 เจ้าอาวาสรูปแรก คือ พระวชิญาณภิกขุ หรือพระเจ้าฟ้ามงกุฏ เมื่อพระองค์ทรงลาสิกขา ขึ้นครองราชย์ เป็นพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 เป็นวัด ที่มีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงเป็นเจ้าอาวาสถึง 4 พระองค์ 
เป็นที่บัญชาการคณะสงฆ์ และคณะพระธรรมยุต เป็นที่ตั้งหน่วยงานปฏิรูปการศึกษาสงฆ์ ทั้งภาคธรรมและภาษาบาลี ที่เคยสอบปากเปล่ามาเป็นข้อเขียน

เป็นวัดที่มี 2 วัดรวมกัน คือพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ทรงให้ยุบวัดรังษีสุทธาวาส อันเป็นวัดมหานิกาย มารวมกับวัดบวรนิเวศวิหาร ส่วนที่เคยเป็นวัดรังษี ยังหลงเหลือถึงปัจจุบันคือ พระอุโบสถ ที่อยู่หน้าตึกมหามกุฏ และคณะเหลืองรังษี
 ที่มีแปลกกว่าวัดอื่น คือ มีพระประธาน 2 องค์ในพระอุโบสถ 1.หลวงพ่อโตหรือหลวงพ่อสุวรรณเขต ที่อัญเชิญมาจากวัดสระสะพาน จังหวัดเพชรบุรี และ 2.พระพุทธชินสีห์ ที่อัญเชิญจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก

 


ส่วนกุฏิที่ประทับเรียกว่าพระตำหนักนั้นมี 2 คือตำหนักจันท์ และตำหนักเพชร ปัจจุบันตำหนักเพชร เป็นที่ประชุมกรรมการมหาเถรสมาคม
นี่คือความสำคัญของวัดที่ตั้งในย่านบางลำพู เขตพระนคร ด้านหน้าวัดคือถนนพระสุเมรุ

ตำหนักเพชร วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

พระประธาน 2 องค์ในพระอุโบสถ หลวงพ่อสุวรรณเขตและพระพุทธชินสีห์

เรื่อง : เปรียญ12

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ