คอลัมนิสต์

เปิดหนังสือ สมเด็จพระวันรัต องค์ที่ 24 สุดท้าย ในงานพระราชทานเพลิงศพ 1 ธ.ค.65

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ และสมเด็จพระบรมราชินี จะเสด็จพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พรหมคุตฺโต) อดีตเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร วันที่ 1 ธันวาคม 2565  ณ เมรุหลวง หน้าพลับพลาพระราชอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร

ประวัติศาสตร์ไว้ในวงการพระสงฆ์ "สถาปนาเป็นสมเด็จพระวันรัต"

สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ )ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระวันรัต องค์ ที่ 24 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2552
การได้รับการสถาปนา หนนี้ สร้างประวัติศาสตร์ไว้ในวงการพระสงฆ์ กล่าวคือ
เป็นสมเด็จองค์แรก ที่ไม่ได้เป็นเจ้าอาวาส (เป็นผู้ช่วย เจ้าอาวาส) และเป็นองค์แรก ที่ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จซ้อน 2 องค์ ในวัดเดียวกัน (คู่กับสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ที่ทรงดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส)
และน่าจะเป็นองค์สุดท้าย ที่ได้รับการสถาปนาในราชทินนาม สมเด็จพระวันรัต 
จะเห็นได้จากพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าสถาปนาสมเด็จพระราชาคณะ 2 รูป เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2565 นั้น ไม่มีราชทินนาม สมเด็จพระวันรัต
 1 พระพรหมจริยาจารย์ (สงัด) วัดกะพังสุรินทร์ จังหวัดตรัง ได้รับราชทินนามว่า สมเด็จพระมหาวชิรมังคลาจารย์ (แทนสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง ) วัดปากน้ำ)
และพระพรหมวิสุทธาจารย์ วัดเครือวัลย์ กทม. ได้รับราชทินนามว่า สมเด็จพระพุทธพจนวชิรมุนี (แทนสมเด็จพระวันรัต)

 


ประวัติสมเด็จพระวันรัต(จุนท์) เป็นพระนวกะรุ่นเดียวกับรัชกาลที่ 9

เกิดเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2479 ที่จังหวัดตราด อยู่ในอ้อมอกบิดามารดา ช่วงเยาว์วัย เรียนชั้นประถมจบบริบูรณ์ จึงบรรพชาเป็นสามเณรในสำนักวัดคีรีวิหาร จังหวัดตราด โดยเป็นสัทธิวิหาริกของพระวินัยบัณฑิต เมื่อ พ.ศ. 2491
 เนื่องด้วยพระวินัยบัณฑิต เป็นศิษย์เก่าวัดบวรนิเวศ มาก่อน จึงนำสามเณรจุนท์ มาฝากอาจารย์ที่วัดบวร เมื่อ พ.ศ. 2494 เพื่อจะได้ร่ำเรียนในชั้นสูงขึ้นไป ก็สมปรารถนาเมื่อสามเณรจุนท์ เรียนได้ดี สามารถสอบ ป.ธ 3 ได้มื่อ พ.ศ. 2498

เมื่ออุปสมบท พ.ศ.2499  ณ พัทธสีมาวัดบวร เป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงผนวช จึงเป็นพระนวกะ รุ่นเดียวกับ ภูมิพโล ภิกขุ หรือพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
 ส่วนการเรียนบาลีนั้น เจริญก้าวหน้า จนสามารถสอบ ป.ธ. 9 ได้ เมื่อ พ.ศ. 2515 ปีนั้น มีภิกษุสอบป.ธ. 9 ได้มากถึง 16 รูป แต่ละรูปที่ดำรงในสมณเพศ ได้รับการเพิ่มอิสรยยศ มีสมณศักดิ์ เป็นสมเด็จพระราชาคณะ 2 รูป นอกจากสมเด็จพระวันรัต องค์ที่ 24 นี้ อีกองค์หนึ่งได้แก่สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม) อดีตเจ้าคณะใหญ่หนกลาง อดีตเจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการาม นอกจากนั้นก็เป็นพระราชคณะรับราชการทุกองค์ ส่วนที่ลาสิกขาก็มีความเจริญในอาชีพการงาน  มีชื่อ
เสียงในสังคม

 

 

ทำงานในหน้าที่ดีต้องได้รับการยกย่องเกียรติยศ 

ท่านเคยพูดให้ฟังว่า พระสอบป.ธ.9 ได้รุ่นเดียวกับท่าน รับราชการ รับใช้พระศาสนา เป็นพระราชาคณะทุกองค์ ที่ลาสิกขาก็มีงานในราชการให้รับผิดชอบทุกคนเช่นกัน
ในฐานะแม่กองธรรมสนามหลวง ท่านแสดงความรับผิดชอบสูง เมื่อผู้แทนแม่กองธรรม นำข้อสอบไปเปิดสอบต่างประเทศ เกิดอาพาธ แล้วถึงแก่มรณภาพในเวลาต่อมา
ท่านขอให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เลื่อนเครื่องประกอบศพ จากหีบทอง เป็นโกศไม้ 12 เพราะพระเถระรูปนี้มรณภาพในหน้าที่ จึงสมควรได้รับการยกย่องเกียรติยศให้สูงขึ้น

และในฐานะเจ้าคณะจังหวัดกรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ (ธ) ท่านรับอาสา รักษาการแทนเจ้าอาวาสพระอารามหลวง พร้อมๆ กันถึง 2 วัด ได้แก่วัดมกุฏกษัตริยาราม พระอารามหลวง และวัดตรีทศเทพ พระอารามหลวง

โดยเฉพาะวัดมกุฏกษัตริยาราม นั้น ท่านรักษาการนาน 10 ก่วาปี จนกระทั่งสมเด็จท่านมรณภาพ 

  

อ่าน "พระอภิธรรม" ในการเชิญ พระศพและพระบรมศพ 

หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์ รายวัน เคยเขียนสดุดีในคอลัมน์สว่าง ณ กลางใจว่า ท่านเป็นพระเถระที่หาได้ยาก ยกตัวอย่างการได้รับนิมนต์ให้อ่านพระอภิธรรม ในการเชิญ พระศพสมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อ 15 พ.ย. 2551
สุดท้าย  อ่านพระอภิธรรม ในการอัญเชิญ
พระบรมศพสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช ซึ่งไม่มีพระเถระรูปใดได้รับเกียรติยศดังกล่าว

 

 

สมเด็จพระวันรัต(จุนท์) มรณภาพ วันที่ 15 มีนาคม 2565 เพราะมะเร็งในถุงน้ำดี ที่โรงพยาบาล จุฬาลงกรณ๋ สภากาชาดไทย สิริอายุ 85 ปี
การบำเพ็ญกุศลออกเมรุ เริ่มวันที่ 28 พฤศจิกายน 2565 ถึงวันที่ 2 ธันวาคม 2565
อนึ่งในการบำเพ็ญกุศลออกเมรุ ครั้ง นี้ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดพิมพ์หนังสือที่ระลึก  รวม 10 เล่ม และหนังสือ e-book สมเด็จพระวันรัต(จุนท์) ด้วยกันครับ

การบำเพ็ญกุศลออกเมรุ ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร หนังสือที่รำลึก งานพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พรหมคุตฺโต) หนังสือที่รำลึก งานพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พรหมคุตฺโต) หนังสือที่รำลึก งานพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พรหมคุตฺโต) หนังสือที่รำลึก งานพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พรหมคุตฺโต) หนังสือชาดก น้ำมนต์นั้น ไม่ศักสิทธิ์หรอก จะศักสิทธิ์ได้ต้องทำเอง หนังสือชาดก นกยางเจ้าเล่ห์ หนังสือชาดก มาณพชุบเสือ หนังสือสมเด็จพระวันรัต อาหารเรียกน้ำย่อย สูตรอาหารบำรุงชีวิต หนังสือสมเด็จพระวันรัต

อ่านรายละเอียดหนังสือ e-book ที่ระลึกเพิ่มเติมที่นี่  
คลิ๊ก..  ชีวิตและงาน สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พรหมคุตฺโต) อดีตเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร 

คลิ๊ก..  อาหารบำรุงชีวิต สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พรหมคุตฺโต) อดีตเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

คลิ๊ก..  ศีลไม่ได้อยู่ที่วัด สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พรหมคุตฺโต) อดีตเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

คลิ๊ก..  คติชีวิตจากจากชาดก สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พรหมคุตฺโต) อดีตเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

เรื่อง : เปรียญ12

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ