คอลัมนิสต์

"หลวงปู่สงัด" สมเด็จบ้านนอก องค์ที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ไม่มีตำแหน่ง มส.

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

มารู้จัก หลวงปู่สงัด เจ้าอาวาสวัดกะพังสุรินทร์ จังหวัดตรัง หลังได้รับโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง ขึ้นเป็น "สมเด็จพระมหาวชิรมังคลาจารย์" นับได้ว่าเป็น "สมเด็จในภูมิภาค" หรือบ้านนอก รูปแรกนับตั้งแต่รัชกาลที่ 5 และเป็นรูปที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

เมื่อการปกครองคณะสงฆ์ไทย ตาม พรบ.สงฆ์ ร.ศ. 121 พ.ศ. 2484 และ 2505 ให้มีศูนย์กลางบริหารอยู่ในกรุงเทพมหานครนั้น ทำให้คณะสงฆ์ไทย ตาม พรบ.สงฆ์ หรือบ้านนอกที่มีศักยภาพ ถูกมองข้าม จึงไม่ได้เลื่อนสมณศักดิ์ให้สูงสมกับตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง รวมทั้งไม่ได้เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม ทั้งๆ ที่ มส.มอบตำแหน่งใหญ่ให้เหมือนให้ทำแต่งาน แต่ไม่เพิ่มอิสริยยศ หรือที่นั่งใน มส.ให้เทียบกับเจ้าคณะใหญ่อื่นๆอีก 3 รูป บวกกับเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุตไม่ได้ ที่แต่ละท่านเป็นสมเด็จพระราชาคณะ

และ มส. อาทิ. สมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นเจ้าคณะใหญ่ หนตะวันออก, สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี เป็นเจ้าคณะใหญ่หนกลาง, พระพรหมโมลี รักษาการเจ้าคณะใหญ่หนเหนือ, สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เจ้าคณะใหญ่ธรรมยุต  ล้วนมีที่นั่งใน มส.

 

 

พระเถระที่อาภัพนี้ได้แก่ พระพรหมจริยาจารย์(สงัด) เจ้าอาวาสวัดกะพังสุรินทร์ จังหวัดตรัง ที่ มส.ตั้งให้เป็น "เจ้าคณะใหญ่หนใต้" เมื่อ  พ.ศ.2550  มีตำแหน่งใหญ่ อิสริยยศเป็นแค่เจ้าคณะรอง และไม่มีที่นั่งใน มส.
จนกระทั่งเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2565 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่พระบรมราชโองการ โปรดให้สถาปนาสมเด็จพระราชาคณะ 2 รูป เจ้าคณะรอง 4 รูป และให้เลื่อน และตั้งพระราชาคณะชั้นธรรม 7 รูป ชั้นเทพ 8 รูป ชั้นราช 14 รูป ชั้นสามัญ 30 รูป

 

ซึ่งสมเด็จพระราชาคณะ 1  ใน 2 รูปนั้น โปรดให้สถาปนา พระพรหมจริยาจารย์ (สงัด) เจ้าอาวาส วัดกะพังสุรินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง ขึ้นเป็นสมเด็จ มีราชทินนาม จารึกในสุพรรณบัฏ ว่า "สมเด็จพระมหาวชิรมังคลาจารย์"  จึงเป็น "สมเด็จในภูมิภาค" หรือบ้านนอก รูปแรก นับตั้งแต่รัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา

 "สมเด็จพระมหาวชิรมังคลาจารย์"  เจ้าอาวาส วัดกะพังสุรินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง  "สมเด็จพระมหาวชิรมังคลาจารย์"  สมเด็จในภูมิภาครูปแรก นับตั้งแต่รัชกาลที่ 5

สมเด็จพระมหาวชิรมังคลาจารย์ นามเดิม สงัด ปญฺญาวุโธ วุฒิป.ธ. 7 เชี่ยวชาญระบบบัญชีมาก   เกิดเมื่อ วันที่ 23 พฤศจิกายน 2471 อายุ 94 ปี
ส่วนจะมีที่นั่งในมหาเถรสมาคม หรือไม่นั้น ตาม พ.ร.บ 2505 แก้ไขใหม่ ใหัเป็นไปตามพระราชอัธยาศัย  อย่างไรก็ตาม ในอดีตสมัยรัชกาลที่ 5 เคยมีการสถาปนาพระราชาคณะชั้นธรรม และเจ้าอาวาสวัดในภูมิภาคขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะ 1 รูป  

ราชทินนาม จารึกในสุพรรณบัฏ ว่า "สมเด็จพระมหาวชิรมังคลาจารย์"

 วัดกะพังสุรินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง


กล่าวคือ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปิยมหาราช รัชกาลที่ 5 พระองค์โปรดให้สถาปนา พระธรรมราชานุวัตร (พุก) เจ้าอาวาส วัดศาลาปูน พระอารามหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีราชทินนามว่า "สมเด็จพระพุฒาจารย์" นับว่าเป็น สมเด็จในภูมิภาคองค์แรก

หนังสือเรื่องตั้งพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่าประวัติว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) เป็นคนนครไชยศรี เกิดในรัชกาลที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2337 มาอยู่กรุงเทพตั้งแต่เด็ก เมื่ออายุครบบวช ได้บวชพระที่วัดมหาธาตุ กรุงเทพ ในรัชกาลที่ 2 สอบได้เปรียญ 3 ประโยค ดำรงตำแหน่งเป็นฐานานุกรมของสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) วัดมหาธาตุ 
ต่อมาได้รับเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระญาณไตรโลก และเป็นเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ เมื่อสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) สิ้นพระชนม์

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก)

 

ในสมัยรัชกาลที่ 4 โปรดให้เลื่อนเป็นพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่ ที่ "พระธรรมราชานุวัตร" ตำแหน่งอธิบดีสงฆ์ 4 หัวเมือง และโปรดให้ไปครองวัดศาลาปูน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2394
"ถึงรัชกาลที่ 5  พ.ศ.2422 ทรงสถาปนาเป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์"                                                  ในพระบรมราชโองการที่สถาปนา สรรเสริญว่า พระธรรมราชานุวัตร เจ้าคณะใหญ่กรุงเก่า ประพฤติพรหมจรรย์ ตั้งแต่ปฐมวัย ถึงปัจฉิมวัย โดยอาการ สมจริยาเรียบร้อย ไม่มีอธิกรณ์ใด ให้ขุ่นเคืองในใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท และบริหารคณะสงฆ์เป็นที่ยำเกรงในแขวงกรุงเทพ ทวาราวดีศรีอยุธยาโบราณ สมควรเป็นพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่ จึงโปรดสถาปนาเป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์

 

ท่านดำรงขันธ์ถึง พ.ศ. 2427 ได้ถึงแก่มรณภาพ สิริ อายุ 90 ปี และรัชกาลที่ 5 โปรดให้ออกเมรุ ณ วัดศาลาปูน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เรื่อง : เปรียญ12

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ