คอลัมนิสต์

"พระสงฆ์และฆราวาสทะเลาะกัน" เทียบ พระโกสัมพี ไม่ได้ พระชาตรี แพรรี่ ควรหยุด

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เรื่องราวสะท้อนบท "วิวาทะ" พระสงฆ์และฆราวาส เรื่องราวที่เป็น talk of the town ของพระชาตรี และ แพรรี่ ไพรวัลย์ แต่หากย้อนไปในอดีตเรื่องทะเลาะกันแบบนี้เป็นเพียงเรื่องเล็กน้อยที่ควรจะหยุดการโต้แย้งเสีย

พรรษานี้ คิดว่าเรื่อง "พระสงฆ์" จะเงียบไม่มีอะไรเป็นข่าว ประเภท  talk of the town ตามสื่อต่างๆ เสียแล้ว แต่ก็มีจนได้ เมื่ออดีตพระ หรือ ทิดมหาไพรวัลย์ แต่เรียกตามเพศสภาพใหม่ว่า แพรรี่ ทะเลาะกับพระ รูปหนึ่ง หรือที่เราเรียกกันตรงๆว่า พระสงฆ์และฆราวาสทะเลาะกัน
โดยผู้ที่เป็นพระหรือ "พระชาตรี เหมพันโธ" ดีกรีธรรมทูต ประเทศรัสเซีย เป็นคนเปิดประเด็นก่อน 
โดยกล่าวพาดพิงทิดมหาไพรวัลย์ หรือ "แพรรรี่" (ตามเพศสภาพ)หลายประเด็น แพรรี่จึงตอบโต้เป็ดร้อนด้วยถ้อยคำสมัยพ่อขุนรามคำแหง และขุดคุ้ยเรืองพระชาตรีมาตีแผ่ เรื่องจึงดังและยืดยาวตามสื่อ เพราะแพรี เป็นคนดัง หรือเน็ตไอดอล เรื่องเล็กๆ จึงกลายเป็นเรื่องใหญ่

 

แต่สังคมไม่ได้อะไร นอกจากเห็นว่าไส้ใครมีกี่ขด หรือ สาวไส้ให้กากิน พูดอีกนัยหนึ่งคือไร้สาระ ยกเว้นว่า แพรี สามารถเปิดโปงเรื่องที่พระ ปิดบังไว้ ก็เป็นคุณแก่ศาสนาที่ช่วยฟอกขาว แต่อย่าเพิ่งเชื่อ จนกว่าจะพิสูจน์ด้วยธรรมวินัย หรือระบบยุติธรรม
อย่างไรก็ตามที่ทั้งสองฝ่ายทะเลาะกันเป็นเรื่งเล็กๆ เทียบกับพระชาวโกสัมพี สมัยพุทธกาลทะเลาะกันไม่ได้ เพราะทะเลาะกันจนเป็นการ สร้าง "ประวัติศาสตร์" ชิ้นหนึ่งแห่ง พุทธศาสนา

 "พระเมืองโกสัมพีทะเลาะกัน"
เมื่อพระพุทธเจ้าประทับ ณ โฆสิตาราม ใกล้ "กรุงโกสัมพี" พระ 2 คณะคือ วินัยธร และ ธรรมกถึก แห่ง วัดโฆสิตาราม โกสัมพี (วัดเดียวกับพระพุทธเจ้า) ทะเลาะกัน ใช้วาจาทิ่มแทงกัน แค่เรื่องเหลือน้ำชำระไว้ในเวจกุฎี หรือห้องส้วมเท่านั้น
 เรื่องเล็กเป็นเรื่องใหญ่ เพราะพระที่เหลือน้ำชำระล้างในส้วมเป็นพระธรรมกถึก  มีบริวารมาก ส่วนพระที่ไปเห็นน้ำชำระที่พระธรรมกถึกเหลือไว้ คือ "พระวินัยธร" มีหน้าที่ดูแลและตัดสินการละเมิดวินัย เป็นอาจารย์ที่มีบริวารมากเช่นกัน

 


เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อ

"พระธรรมกถึก" เข้าส้วมทำธุระเสร็จ ออกมา "พระวินัยธร" ก็เข้าส้วมนั้นไปเห็นน้ำชำระเหลืออยู่ จึงมาถามพระธรรมกถึก ว่า ท่านเหลือน้ำชำระไว้หรือ
พระธรรมกถึก:  ใช่  
พระวินัยธร: ทำอย่างนี้เป็น "อาบัติ" ทุกกฏ (อาบัติเล็กๆ ปลายแถว)
พระธรรมกถึก:  ไม่เป็นอาบัติ เพราะไม่มีข้อห้าม ต่างคน(พระ)ยืนยันความเห็นของตน

โดยมีลูกศิษย์แต่ละฝ่ายเชียร์กันเอิกเกริก เกิดเป็น "วิวาทาธิกรณ์" ด้วยเรื่องที่ทะเลาะเป็นปัญหาพระวินัย
พระวินัยธร จึงลงโทษ พระธรรมกถึก ด้วยการลง "อุกเขปนียกรรม" ห้ามเกี่ยวข้องกับพระภิกษุสงฆ์ใดๆ  ในทุกเรื่อง

ฝ่ายศิษย์ พระธรรมกถึก โวยวายว่า พระวินัยธร ไม่มีความเป็นธรรม ที่ทำกับพระอาจารย์ของตนเช่นนี้ 
เรืองนี้ไปถึง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์จึงเสด็จมาไกล่เกลี่ยให้ทั้งสองฝ่ายเลิกทะเลาะ ทรงให้แต่ละฝ่ายมีเมตตาต่อกันทั้งกายกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม พร้อมทั้งเทศนาเรื่อง "สารณิยธรรม 6 ประการ" ให้ทั้งสองฝ่ายนำไปปฏิบัติ
"สารณิยธรรม 6" ได้แก่ให้มี เมตตาต่อกัน ทั้ง 1.กายกรรม 2.วจีกรรม 3.มโนกรรม 4.รู้จักแบ่งปันลาภ 5.มีศีลเท่ากัน และ 6.มีทิฐิเหมือนกัน
พระพุทธองค์ตรัสว่า สาราณิยธรรม 6 ช่วยยับยั้งการทะเลาะ วิวาท แต่ให้มีความสามัคคี พร้อมทั้งทรงชี้ว่าใน 6 อย่างนั้น ทิฐิ จัดว่ายอด ทำให้เข้าถึงญาณ 7 ยกฐานะจากปุถุชน เป็นอริยบุคคลได้
ไม่น่าเชื่อว่า ภิกษุวัดโฆสิตาราม แห่งโกสัมพี ทั้ง 2 ฝ่ายดื้อมาก ไม่ยอมปฏิบัติตามพุทธดำรัสที่ ทรงชี้แนะ ยังทะเลาะกันต่อ

 

พระพุธองค์ ทรงรำคาญ จึงเสด็จไปอยู่ป่า รักขิตวัน เขตบ้านปาริเรยกะ ตามลำพัง โดยมีวานรและกุญชร หาน้ำผึ้งและน้ำ มาถวาย (ต่อมาชาวพุทธสร้างพระปางปาลิไลยกะ ห้อยพระบาททั้งสองเป็นพระประจำวันคนเกิดวันพุธ )
พระององค์ประทับที่รักขิตวัน ระยะหนึ่ง แล้วเสด็จไปประทับ ณ เมืองสาวัตถี
กล่าวถึงภิกษุ 2 คณะแห่งวัดโฆสิตาราม เดือดร้อนหนัก ไม่มีอาหาร ขบฉัน ไปบิณฑบาตรก็กลับบาตรเปล่า เพราะชาวบ้านรวมตัวกันไม่ใส่บาตร ด้วยโกรธที่พระวัดนั้น ทำให้พระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับในป่า พวกเขาจึงไม่ได้ทำบุญกับพระพุทธเจ้า 
เมื่อถูกชาวบ้านลงโทษ ภิกษุสงฆ์ทั้งนั้นสำนึกผิด จึงไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่สาวัตถี เพื่อสารภาพผิดและกราบขอขมา
โดย "พระธรรมกถึก" สารภาพว่า การเหลือน้ำชำระไว้ในเวจกุฎีนั้นเป็นอาบัติ และยอมรับการกระทำของพระวินัยธรที่ปรับอาบัติตนนั้นว่าถูกตัองแล้ว
ส่วนที่ "พระวินัยธร" ลง "อุกเขปนียกรรม" นั้น ก็ให้ถอนแล้ว  

พระพุทธองค์จึงให้ทั้งสองฝ่ายเข้าประชุมกันทั้งหมด พระที่ป่วยก็ต้องหามมา ห้ามมอบฉันทะให้ใครมาแทน

เมื่อพร้อมกันแล้ว จึงให้สวดประกาศความสามัคคีแห่งสงฆ์ ด้วย "ญัตติทุติยกรรม" จากนั้นให้สวด "พระปาติโมกข์"

เรื่องภิกษุชาวโกสัมพีทะเลาะกัน ก็จบด้วยดี แต่ฝากประวัติศาสตร์พุทธศาสนา ให้จดจำถึงทุกวันนี้
เรื่อง : เปรียญ12 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ