ของมันแรง โควิดBA.4-BA.5 ควรรู้ ติดง่ายขนาดไหน ก่อนเที่ยว วันหยุดยาว
สถานการณ์โควิด-19 สายพันธุ์ BA.4และBA.5 น่าห่วง? เปิดข้อมูลให้ประชาชนตัดสินใจก่อนเดินทางกลับภูมิลำเนา-ท่องเที่ยวช่วงวันหยุดยาว พร้อมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด
สถานการณ์ระบาดโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ล่าสุด วันที่ 11ก.ค.2565 นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงว่า ผลการตรวจกลุ่มตัวอย่าง 570 ราย พบเชื้อโอมิครอน สายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 รวมกันมากสุด 280 ราย รองลงมาเป็น BA.1 จำนวน 5 ราย BA.2 จำนวน 283 ราย และผลการตรวจไม่ชัดเจน 2 ราย เมื่อแยกการตรวจหาเชื้อ จากกลุ่มที่เดินทางมาจากต่างประเทศ พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเฉพาะสายพันธุ์ BA.4 และ BA.5 มากถึงร้อยละ 78.4
ส่วนการติดเชื้อในประเทศ แบ่ง ออกเป็นพื้นที่กรุงเทพมหานคร และภูมิภาค ข้อมูลจนถึงเดือนพฤษภาคม 2565 พบว่า ใน 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา กทม.เป็นพื้นที่ที่พบเชื้อ BA.4 และ BA.5 มากที่สุด กรุงเทพฯ เริ่มพบสายพันธุ์ BA.4 และ BA.5 มากขึ้นเรื่อยๆ จาก ร้อยละ 12.7 ขึ้นเป็น ร้อยละ 50.8 ร้อยละ 68 และ ร้อยละ 72.3 ขณะที่ส่วนภูมิภาคเริ่มพบการแพร่ระบาด ตั้งแต่ ร้อยละ 6.5 ขึ้นเป็น ร้อยละ 17.4 และ ร้อยละ 34.7
ดังนั้น สายพันธุ์ BA.4 และ BA.5 จะเริ่มแซงสายพันธุ์ BA.2 และ BA.1 แม้จะแซงไม่เร็วมาก แต่ก็อยู่ในสถานการณ์ที่ต้องเฝ้าระวัง ซึ่งสัดส่วนสายพันธุ์ BA.4 และ BA.5 พบทั้ง 13 เขตสุขภาพ ยกเว้นเขต 3 พบไม่มาก เนื่องจากส่งตัวอย่างแค่หลับสิบราย จึงจำเป็นต้องมีการส่งตัวอย่างเพิ่ม ส่วนเขตสุขภาพที่พบมากที่สุด คือ เขต 13 หรือพื้นที่กรุงเทพฯ
ความรุนแรง BA.4 และ BA.5 แบ่งเป็นคนมีอาการรุนแรง และอาการไม่รุนแรง
พื้นที่กทม.พบว่า คนที่อาการไม่รุนแรง ประมาณ ร้อยละ 72 ส่วนคนที่อาการรุนแรง ปอดอักเสบจน ต้องเข้าโรงพยาบาล (รพ.) หรือ ใส่ท่อช่วยหายใจ รวมทั้งรุนแรงจนเสียชีวิต มีข้อมูล 13 ราย พบเป็น BA.4 และ BA.5 ร้อยละ 77 ส่วนพื้นที่ภูมิภาค คนที่อาการไม่รุนแรงมี 309 ราย พบ BA.4
และ BA.5 ร้อยละ 33 ส่วนคนที่อาการรุนแรง 45 ราย พบสัดส่วน BA.4 และ BA.5 ร้อยละ 46.67
จากข้อมูลชี้ให้เห็นว่า พบว่า BA.4 และ BA.5 ในกลุ่มอาการรุนแรง สัดส่วนมากกว่าอาการไม่รุนแรง เนื่องจากตัวเลขยังน้อยอยู่ เพราะจริงๆ ตามข้อมูลทางสถิติต้องมีตัวเลขมากกว่านี้เป็นหลักหลายร้อยราย เพื่อตัดตัวเลขที่อาจแกว่งได้ และตัวเลขเราก็ยังไม่ได้แยกว่า ใครได้รับวัคซีน หรือไม่ได้รับวัคซีน
อย่างไรก็ตาม ตัวเลขในกรุงเทพฯ 13 ราย เป็นผู้เสียชีวิตกว่าครึ่งหนึ่งจริงๆ ความรุนแรงเราต้องได้ข้อมูลอื่นๆ อย่างปอดอักเสบ ใส่ท่อช่วยหายใจ เป็นต้น ขณะนี้ได้ขอความร่วมมือทุกพื้นที่ในการส่งตัวอย่างเพิ่มเติม
"หมายความว่า หาก BA.4 และ BA.5 อาจแพร่เร็วไม่เท่ากัน แต่ BA.5 เร็วขึ้นแน่ๆ แต่ BA.4 ยังทรงๆ ส่วน BA.1 และ BA.2 กลับลดลง ถูกเบียดไป ทั้งนี้ มีการตามประเด็นว่า แพร่เร็วแค่ไหน
รุนแรงหรือไม่ หลบภูมิคุ้มกันหรือไม่อย่างไร ซึ่งเรื่องความรุนแรง องค์การอนามัยไม่ได้ให้น้ำหนักมาก บอกเพียงว่า ความรุนแรงไม่ได้แตกต่างมากนัก แต่การแพร่เร็ว พบว่า เร็วกว่าแน่
ส่วนมีผลต่อการหลบภูมิคุ้มกันหรือไม่ ก็พบว่า ลดลง ขณะที่อังกฤษ พบว่า มีการแพร่เร็วสูงกว่าเดิม ส่วนความรุนแรงจัดว่าอยู่ในระดับสีเหลือง เพราะข้อมูลยังน้อย ขณะที่หลบภูมิคุ้มกันคิด
เช่นนั้น เพียงแต่ข้อมูลยังไม่เยอะมาก ซึ่งก็คล้ายประเทศไทย ต้องติดตามต่อไป" นพ.ศุภกิจ กล่าว
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีความกังวลช่วงวันหยุดยาวสัปดาห์นี้ อาจจะมีความเสี่ยงการแพร่ระบาดของโรคโค
วิด-19 ว่า เราผ่านสถานการณ์เช่นนี้มาแล้ว สิ่งที่พิสูจน์ให้เห็นคือ ปีนี้ไม่น่ากังวลเหมือนปีที่แล้ว ดีใจ ที่เห็นรายงานว่ามีผู้เข้ารับวัคซีนโควิด-19 เข็มกระตุ้น (บูสเตอร์ โดส) เพิ่มมากขึ้นกว่าในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ต่อให้มีการติดเชื้อโอมิครอน BA.4 และ BA.5 ก็ยังช่วยลดความรุนแรงของโรคและการเสียชีวิตได้
"ปีนี้ไม่ซีเรียส เหมือนปีที่แล้ว เพราะทุกคนได้รับวัคซีน หากรับอย่างน้อย 3 เข็มขึ้นไป ก็จะลดอาการรุนแรงเสียชีวิต ซึ่งเป็นสิ่งที่เราต้องเน้นย้ำ ส่วนการติดเชื้อ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ เพราะเราเปิดประเทศ มีการเดินทาง อย่างไรก็ตาม หากประชาชนมีความตระหนัก สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าอยู่ การเดินทางสัญจรไปมาก็ไม่น่าก่อให้เกิดปัญหาที่กระทบต่อระบบสาธารณสุข การติดเชื้อ ถ้ามีปาร์ตี้ เปิดผับบาร์ สังสรรค์ รวมกลุ่มคนมากมาย มีดนตรี มีหนังกลางแปลง หากมีความระมัดระวัง ก็จะควบคุมสถานการณ์ได้ เราเน้นที่ไม่ให้เกิดอาการรุนแรงมาก เพราะมีความสำคัญมาก" นายอนุทิน ระบุ
นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า แม้ขณะนี้การระบาดโควิด-19 ของไทย จะเข้าสู่ระยะหลังการระบาดใหญ่แล้ว แต่ยังพบการติดเชื้อและเกิดการระบาดเป็นระลอกเล็กๆ ได้ ดังนั้น ในช่วงสัปดาห์นี้ที่มีวันหยุดยาวต่อเนื่องหลายวัน ประชาชนอาจมีการไปท่องเที่ยว รวมกลุ่มทำกิจกรรมจำนวนมาก การปฏิบัติตัวในช่วงวันหยุดยาวจึงขอให้ประชาชนยังคงเข้มมาตรการป้องกันตนเอง เพื่อลดความเสี่ยงการติดและแพร่เชื้อ โดยขอให้เว้นระยะห่าง ล้างมือ สวมหน้ากากตลอดเวลาเมื่ออยู่ร่วม กับผู้อื่น หากมีความเสี่ยงหรือมีอาการให้ตรวจด้วย ATK นอกจากนี้ ขอให้ประชาชนเข้ารับวัคซีนโควิด 19 โดยเฉพาะเข็มกระตุ้นเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกัน จะช่วยลดความเสี่ยงอาการรุนแรงและการเสียชีวิตได้ ซึ่งสามารถวอล์กอินเข้ารับบริการได้
ด้าน นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผอ.กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แถลงสถานการณ์โควิด 19 ว่า การติดเชื้อจะเกิดขึ้นใน กทม. ปริมณฑล จังหวัดใหญ่ก่อน แล้วค่อยไปจังหวัดเล็ก จากเมืองแล้วไปชนบท ทำให้กลุ่ม กทม. ปริมณฑลและจังหวัดท่องเที่ยว จะพบผู้ปอดอักเสบและใส่ท่อช่วยหายใจขึ้นก่อน ดังนั้น ช่วงวันหยุดยาวที่มีหลายช่วงในเดือนนี้ อาจเป็นปัจจัยหนึ่งทำให้แพร่ไปต่างจังหวัดเร็วขึ้น จึงต้องช่วยกันลดความเสี่ยง เพราะถ้าติดเชื้อเพิ่มขึ้นเร็ว ก็จะมีปอด อักเสบขึ้นเร็วตามด้วย อาจจะกระทบกับเตียงหรือยาในการรักษา จึงต้องช่วยกันชะลอ คาดการณ์ว่าจะมาพีคในช่วงสัปดาห์ที่ 33-34
"โอมิครอน" พีคมากช่วงหลังปีใหม่และลดลงมาต่อเนื่อง ก็มีการระบาดเป็นระลอกเล็ก (Small Wave) เหมือนกันทั้งทั่วโลก เอเชีย รวมถึงไทย ส่วนการเสียชีวิตยังไม่เพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากฉีดวัคซีนได้จำนวนมาก
สำหรับประเทศไทย จากการติดตามผู้ป่วยปอดอักเสบและใส่ท่อช่วยหายใจ พบว่าเพิ่มขึ้นในช่วง 2 สัปดาห์นี้ โดยปอดอักเสบเพิ่มจาก 638 ราย เป็น 786 ราย และใส่ท่อช่วยหายใจเพิ่มขึ้นจาก 290 ราย เป็น 349 ราย แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ระบบสาธารณสุขยังรองรับได้ แต่การเพิ่มขึ้นไมได้กระจายทั่วประเทศ เพิ่มขึ้นในบางจังหวัดที่มีการติดเชื้อมาก
ส่วนผู้เสียชีวิตวันนี้ (ข้อมูล ณ วันที่ 11ก.ค.65) 24 ราย การเสียชีวิตแต่ละวันมีขึ้นลงบ้าง แต่ภาพรวมยังเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากในช่วง 14 วัน
สำหรับการวิเคราะห์ผู้เสียชีวิตระหว่างวันที่ 3-9 ก.ค. จำนวน 132 ราย เป็นกลุ่ม 608 ถึง 128 ราย หรือ 97% พบว่าครึ่งหนึ่งหรือ 64 ราย ไม่รับวัคซีน คิดเป็น 49% อีก 5 รายหรือ 4% ได้รับเพียงเข็มเดียว ส่วน 31 ราย คิดเป็น 23% รับครบ 2 เข็มแต่ไม่ได้ฉีดเข็ม กระตุ้น ขณะที่ฉีดเข็มกระตุ้นแล้วมี 25 ราย แต่ฉีดนานเกิน 3 เดือน คิดเป็น 19% โรคประจำตัวที่เสี่ยงสูงเสียชีวิต คือ ไตเรื้อรัง มะเร็ง อ้วน หลอดเลือดสมอง และหลอดเลือดหัวใจ กทม.และปริมณฑลมีการเสียชีวิตมากที่สุด ตามด้วยภาคตะวันออกเฉียงเหนือง และภาคกลางและตะวันออก ส่วนภาคเหนือ
และใต้การเสียชีวิตไม่มาก
"ขอย้ำว่าช่วงนี้มีการระบาดมากขึ้นของ BA.4/BA.5 มีโอกาสสูงที่คนติดเชื้อแล้ว อาจติดซ้ำได้ ดังนั้น ขอให้มารับวัคซีนเข็มกระตุ้น โดยเฉพาะกลุ่ม 608 ผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆ และผู้ดูแลใกล้ชิด ผู้ป่วย ควรมารับเข็มกระตุ้นทุกๆ 3-4 เดือน เพราะหากเกินเวลาไปแล้วภูมิคุ้มกันอาจมาต่อสู้ไม่ทัน อาจทำให้ป่วยหนักขึ้นได้" นพ.จักรรัฐกล่าว
ทั้งนี้ การลดป่วยการหนักหลัง จากช่วงหยุดยาว สธ.ขอความร่วมมือแนะนำประชาชนช่วยกัน ในการป้องกันตนเอง โดยใช้มาตรการ 2U คือ Universal Prevention คือ มาตรการป้องกัน
โรคส่วนบุคคล และ uNIVERSAL vACCINATION การฉีดวัคซีน โดยย้ำว่ายังสามารถทำกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มได้ แต่อย่าใกล้ชิดกันจนเกินไป ให้เว้นระยะห่าง สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา โดยเฉพาะเมื่อใช้บริการขนส่ง สาธารณะ อยู่ใกล้กลุ่มเสี่ยง 608 อย่างกิจกรรมทางศาสนาช่วงหยุดยาวนี้ก็ขอให้นั่งสวดมนต์ห่างๆ กัน ตรงไหนแออัดเลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยง โดยกลุ่ม 608 หากมีอาการป่วยผลตรวจ ATK เป็นบวก ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับยา บางคนอาจลงปอดโดยไม่ทราบ จะช่วยลดความเสี่ยงการป่วยหนักได้ และเพิ่มภูมิคุ้มกันตัวเราไว้ก่อนด้วยการไปฉีด
วัคซีน ส่วนผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ติดตามอาการ 10 วัน สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ร่วมกับบุคคลอื่น เพื่อลดความเสี่ยงแพร่โรค
เพื่อไม่พลาด ข่าวสารต่างๆ คมชัดลึก ไปที่
Website - www.komchadluek.net
Facebook - https://www.facebook.com/komchadluek
LineToday - https://today.line.me/th/v2/publisher/100057