คอลัมนิสต์

อาชีพไหนต้องได้ค่าแรง มากกว่าอัตราขั้นต่ำ อยากรู้ คลิก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ของแพงค่าแรงถูก พูดเบา ๆ ก็เจ็บ แต่นอกจาก "ค่าแรงขั้นต่ำ" ที่ต้องลุ้นแล้ว อีกสิ่งที่ต้องรู้คือ "ค่าจ้างมาตรฐานฝีมือ" ที่จะได้รับสูงกว่าค่าแรงทั่วไป ผู้ใช้แรงงานควรศึกษาไว้เพื่อพัฒนาตัวเอง หรือนักเรียนนักศึกษาต้องดู เพื่อประกอบการตัดสินใจในการเลือกอาชีพต่อไป

ขณะที่ผู้ใช้แรงงานทั่วไทยกำลังลุ้นด้วยใจระทึก กับการปรับเพิ่ม "ค่าแรงงานขั้นต่ำ" ซึ่งปรับขึ้นครั้งสุดท้ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 จากนั้นก็ไม่ได้ปรับอีกเลยจนตอนนี้  สวนทางกับค่าครองชีพที่ขึ้นสูงมาก  สินค้าอุปโภคบริโภคขึ้นราคา หมูแพง ผักแพง น้ำมันแพง จนแฮชแทค #หมูแพงค่าแรงถูก พุ่งติดเทรนด์ในโลกออนไลน์ 

ซึ่งการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ยืนยันว่าปรับแน่ แต่ตัวเลขจะเป็น 492 บาท ตามที่ คสรท. เสนอหรือไม่ หรือจะเป็นเท่าใด ยังตอบไม่ได้ รวมทั้งประเด็น "ค่าแรงขั้นต่ำ" เท่ากันทั้งประเทศ ก็ยังต้องลุ้นกันต่อไป

แต่นอกจากค่าแรงขั้นต่ำแล้ว  รู้กันหรือไม่ว่า  ยังมีค่าแรงขั้นต่ำในกลุ่มอาชีพที่ต้องใช้ทักษะฝีมือ ที่ต้องเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ ซึ่งค่าจ้างแรงงานกลุ่มนี้จะสูงกว่าแรงงานทั่วไป  แต่มีข้อแม้สำคัญคือต้องผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน  ต้องมีความรู้ มีทักษะ มีความสามารถ 

ทั้งนี้ ค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ มีจำนวนทั้งสิ้น 96 สาขาอาชีพ โดยล่าสุดเพิ่งมีประกาศปรับเพิ่มเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2564 ก่อนจะมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2564 จำนวน 13 สาขาอาชีพ ประกอบด้วย 
     1. ช่างกลึง
     2. ช่างควบคุมเครื่องกลึง CNC
     3. ช่างควบคุมเครื่อง Wire Cut
     4. ช่างเชื่อมอาร์กโลหะด้วยมือ
     5 ช่างไฟฟ้าภายนอกอาคาร
     6. ช่างโทรคมนาคม (ไมโครเวฟและการสื่อสารดาวเทียม)
     7. ช่างควบคุมด้วยระบบโปรแกรมเมเบิ้ลลอจิกคอนโทรลเลอร์ (Programmable Logic Controller : PLC)
     8. ช่างไฟฟ้าสำหรับอุตสาหกรรมการจัดงานประชุม การเดินทางเพื่อเป็นรางวัล และการแสดง สินค้า (MICE : Meetings Incentives Conventions Exhibitions)
     9. ช่างติดตั้งระบบโซลาร์เซลล
     10. พนักงานควบคุมเครื่องจักรรถยกไฟฟ้า
     11. พนักงานควบคุมเครื่องจักรรถยกใช้เครื่องยนต์
     12. ช่างตั้งศูนย์และถ่วงล้อรถยนต์
     13. ช่างซ่อมรถจักรยานยนต์

ส่วนอาชีพใดได้รับค่าจ้างวันละเท่าไหร่ ต้องมีทักษะฝีมืออย่างไร และอีก 83 อาชีพที่เหลือคืออาชีพไหนบ้าง โดยในส่วนนี้มีอัตราค่าจ้างสูงสุด (ที่ยังปรับขึ้นได้อีก) อยู่ที่ 900 บาทต่อวัน สามารถเช็คได้จากตารางด้านล่างนี้ เพื่อเป็นกำลังใจในการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานให้ได้ตามมาตรฐาน  หรือนักเรียนนักศึกษาสามารถศึกษาเป็นแนวทางในการเลือกประกอบอาชีพต่อไป

ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตรา ค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (ฉบับที่ 10)
ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่องอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (ฉบับที่ 10)
ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่องอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (ฉบับที่ 10)
คำชี้แจง ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (ฉบับที่ 10)
คำชี้แจง ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (ฉบับที่ 10)
คำชี้แจง ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (ฉบับที่ 10)
สรุปมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ (ความรู้ ทักษะฝีมือ และความสามารถที่สำคัญ) และอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ รวม 13 สาขาอาชีพ
สรุปมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ และอัตราค่าจ้าง 13 สาขาอาชีพ
สรุปมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ และอัตราค่าจ้าง 13 สาขาอาชีพ
สรุปมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ และอัตราค่าจ้าง 13 สาขาอาชีพ
สรุปมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ และอัตราค่าจ้าง 13 สาขาอาชีพ
สรุปอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ 96 สาขาอาชีพ
สรุปอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ 96 สาขาอาชีพ
สรุปอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ 96 สาขาอาชีพ
สรุปอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ 96 สาขาอาชีพ

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ