คอลัมนิสต์

ไม่ผิดไม่ลาออก อธิบดีปศุสัตว์ เปิดใจที่แรก ปมหมูพบเชื้อโรคASF ปกปิดหรือไม่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

จัดหนักจัดเต็ม ยิงคำถามที่หลายคนอยากรู้ ตกลง ไทยมีอหิวาต์แอฟริกาในสุกรตั้งแต่เมื่อไหร่ ทำไมรัฐบาลของบประมาณตั้งแต่ปี 2562  ทุกคำถามมีคำตอบจากการเปิดใจครั้งแรกของ อธิบดีปศุสัตว์ ในเจาะประเด็นร้อน โดย ขุนเกษตรพิเรน

 

รายการคมชัดลึกเดือดสุดสุด วราวิทย์ ฉิมมณี สัมภาษณ์เปิดใจอธิบดีกรมปศุสัตว์ ฝ่าวิกฤติ โรคระบาดแรง หมูแพงทั้งแผ่นดิน โดย "ขุนเกษตรพิเรน"

 

ร้อนระอุบนจอทีวีวันนี้ เมื่อ น.สพ.สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ มาเปิดใจครั้งแรก หลังจากแถลงข่าวยอมรับพบอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ที่จังหวัดนครปฐม ซึ่งวราวิทย์  ฉิมมณี จัดหนักจัดเต็ม ยิงคำถามที่หลายคนอยากรู้ ตกลง ไทยมีอหิวาต์อแฟริกาในสุกรตั้งแต่เมื่อไหร่ ทำไมรัฐบาลของบประมาณตั้งแต่ปี 2562 

 

ไม่ผิดไม่ลาออก อธิบดีปศุสัตว์ เปิดใจที่แรก ปมหมูพบเชื้อโรคASF ปกปิดหรือไม่

 

อธิบดีกรมปศุสัตว์ ชี้แจงว่า ปี 2562 รัฐบาลได้กำหนดให้การป้องกัน ASF เป็นวาระแห่งชาติ มีคณะกรรมการมาจากทุกภาคส่วนทั้งรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ปลัดกระทรวงหลายกระทรวง สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ภาคีเครือข่ายคณบดีสัตวแพทย์ นายกสภาสัตวแพทยสภา มีปลัดกระทรวงเกษตรเป็นเลขานุการ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นผู้ช่วยเลขานุการ มีการประชุมและรับรู้กันทุกฝ่าย ยืนยันไม่มีการปกปิดข้อมูลเรื่อง ASF ไม่รู้จะปิดทำไม ที่สำคัญคณะกรรมการก็มีทุกฝ่าย เรื่องนี้ปิดไม่ได้อยู่แล้ว 

 

"ส่วนการของบประมาณก็ใช้ในการป้องกันอหิวาต์แอฟริกาในสุกร หรือ ASF เรื่องนี้เราดำเนินการป้องกัน ฟาร์มไหนที่มีข้อบ่งชี้เราก็ดำเนินการกำจัดทันทีไม่ต้องรอให้เป็น ASF งบประมาณที่ขอไม่ใช่ชดเชยสุกรที่เป็นโรค ASF นะครับ ใช้ในการป้องกันโรค"

 

 

เมื่อวราวิทย์ยิงคำถามที่สังคมกำลังตั้งคำถามแบบตรงไปตรงมาเสียหายขนาดนี้อธิบดีต้องลาออกหรือแสดงความรับผิดชอบไหม ท่านอธิบดีคิดอย่างไร 

 

"ผมคิดว่าผมทำทุกอย่างเพื่อประโยชน์ประเทศชาติเป็นส่วนรวมแล้วก็คนเห็นนะครับ เพราะฉะนั้นเนี่ยนะครับตรงนี้เนี่ยไม่ลาออกนะครับ เดินหน้าต่อไปเพื่อจะได้ให้เกษตรกรได้อยู่ได้ดีกว่าครับ ผมทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตมาโดยตลอด และมีผลงานชัดเจน ที่ผ่านผมเจอโรคทุกปีทั้งโรคระบาดม้า โรคลัมปีสกินจนทุกวันนี้คุมโรคได้ อีก 8 เดือนก่อนเกษียณ ผมมีความตั้งใจที่จะแก้ปัญหาให้พี่น้องผู้เลี้ยงสุกร ผมไม่ได้ทุจริตอะไร ยืนยันไม่ลาออกครับ"

 

นส.พ.สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์

 

เมื่อถามว่า...ตกลงที่ผ่านมามีข้อกล่าวหาว่าอธิบดีปกปิดข่าวเรื่องโรคระบาดในหมูไม่ต่ำกว่า 2-3 ปี นี้ เป็นความจงใจหรือเราไม่รู้จริงๆว่ามันมีโรคนี้ระบาด

 

"ไม่จริงครับเพราะว่าตรงนี้ เรามีคณะกรรมการระดับชาติ ระดับวิชาการและมีการประชุมกันทุกเดือน แล้วก็มีสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติเพราะฉะนั้นตรงนี้ ไม่สามารถจะปกปิดได้ ถ้า 3 ปีที่แล้วผมปิดนะครับ ป่านนี้ผมอยู่ไม่ได้ทุกวันนี้ครับ"

 

 

เมื่อถามว่า...ทำไมถึงเบิกงบกลางไป พบเห็นได้ในเอกสารอย่างน้อยพันกว่าล้านเพื่อไปทำลายสุกรไปป้องกันโรค เบิกไปแล้ว ไม่รู้ได้ไงว่าโรคนี้กำลังระบาด

 

อธิบดีกรมปศุสัตว์ ชี้แจงว่า....ไม่ใช่ครับ ต้องทำความเข้าใจใหม่นะครับการเบิกงบป้องกันครับ ที่ตามหลักการของระบาดวิทยาทางสัตวแพทย์ทั่วโลกนะครับว่าโรคในสัตว์ทุกอย่างที่มีเหตุสงสัยเราไม่ปล่อยให้ตายก่อนแล้วก็ตามโรคไม่ทัน เรามีสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติในการดำเนินการลดความเสี่ยงตรงนี้  โดยรัฐบาลให้เงินอุดหนุน ในรายย่อยเท่านั้น ข้อนี้เป็นหลักสากล

 

ส่วนประเด็นที่สังคมกำลังถกเถียงกัน คือ ปศุสัตวเอื้อผู้ส่งออกรายใหญ่ อธิบดีกรมปศุสัตว์ชี้แจงว่า การส่งออกมีข้อมูลชัดเจนไม่มีการปกปิดใครส่งออกเท่าไหร่อย่างไร ที่ผ่านมามีรายกลางและรายย่อยที่ส่งออก ไม่มีรายใหญ่ส่งออกด้วยซ้ำ  ส่วนประเด็นที่เขาเสียหายน้อยกว่าเป็นเพราะลงทุนในระบบการเลี้ยงทำให้เสี่ยงน้อยกว่า 

 

เรื่องทางออกของปัญหาฝ่าวิกฤติ โรคระบาดแรง หมูแพงทั้งแผ่นดิน อธิบดีกรมปศุสัตว์เน้นย้ำว่า ต้องการฟื้นฟูเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยให้เร็วที่สุด การแก้ปัญหาเรื่อง ASF นั้น เราได้ประชุมกับนักวิชาการสิ่งที่เราจะขับเคลื่อนต่อไปคือ อยากให้ผู้เลี้ยงสุกรที่ยังเหลืออยู่ อยู่ได้ ถ้าคุมดี รู้โรคเร็ว สงบเร็ว หลังจากที่เราประกาศโรคระบาด ในเรื่องการเคลื่อนย้าย เราจำเป็นต้องให้เจ้าหน้าที่เข้าไปวิเคราะห์ข้อมูลช่วยเกษตรกร เช่นถ้าหนาแน่นเราตรวจก่อนเคลื่อนย้าย ที่สำคัญเราจะสุ่มตรวจให้มากขึ้น ตอนนี้เรามีวอร์รูมให้แจ้งผ่านแอป ขอให้มีการแจ้ง เราสามารถเข้าไปช่วยเหลือควบคุมได้ 

ไม่ผิดไม่ลาออก อธิบดีปศุสัตว์ เปิดใจที่แรก ปมหมูพบเชื้อโรคASF ปกปิดหรือไม่

 

นอกจากนั้น กรมปศุสัตว์มีแผนระยะสั้น หรือ ระยะเร่งด่วนและระยะยาว เร่งด่วนคือควบคุมโรคให้เร็วที่สุด หลังจากนั้นสร้างความมั่นใจให้กับคนเลี้ยงใหม่ ส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงแบบ GSM คือ มีระบบการเลี้ยงที่ป้องกันพาหะหรือระบบการตรวจสอบย้อนกลับได้และมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ฟาร์มที่เลี้ยงใหม่จะส่งเสริมให้นำระบบการประกันภัยเพื่อป้องกันความเสี่ยง 

 

ก่อนจบรายการวราวิทย์ ถามอธิบดีแบบชัดๆว่า...ใช้เวลาอีกนานแค่ไหนราคาหมูแพงถึงจะจบ

 

อธิบดีกรมปศุสัตว์ฟันธงชัด 8-12 เดือน

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ