คอลัมนิสต์

เปิดตัวประชันวิสัยทัศน์ ผู้สมัครเลือกตั้งซ่อมกทม. หลักสี่ งานนี้มีเดือด

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เลือกตั้งซ่อมกทม.หลักสี่ ศึกแห่งศักดิ์ศรี ชี้ชะตามเมืองกรุง สามผู้สมัครพรรคการเมืองสำคัญ เปิดตัวประชันวิสัยทัศน์ ผ่านรายการคมชัดลึก โดย วราวิทย์ ฉิมมณี

การเลือกตั้งซ่อมกทม. เขตหลักสี่-จตุจักร กำหนดขึ้นในวันที่ 30 ม.ค.65 บรรดาผู้สมัครรับเลือกตั้ง เปิดตัวลงพื้นที่พบปะประชาชนกันแล้ว  เช่นเดียวกัน  รายการคมชัดลึก ได้มีโอกาสต้อนรับ สามผู้สมัคร จากพรรคการเมืองสำคัญ มาร่วมประชันวิสัยทัศน์ ในตอน เลือกตั้งหลักสี่ ศึกแห่งศักดิ์ศรี ชี้ชะตาเมืองกรุง   คุณวราวิทย์ ฉิมมณี ผู้ดำเนินรายการ   โดยผู้สมัครเลือกตั้งซ่อม กทม.เขตหลักสี่ แต่ละคนให้มุมมองไว้อย่างน่าสนใจ เพื่อประชาชนได้ร่วมพิจารณา 

 

เปิดตัวประชันวิสัยทัศน์ ผู้สมัครเลือกตั้งซ่อมกทม. หลักสี่ งานนี้มีเดือด

 

เริ่มจาก  มาดามหลี  สรัลรัศมิ์  เจนจาคะ  พลังประชารัฐ 


ยอมรับมาทวงเก้าอี้ให้กับสามี สิระ เจนจาคะ อดีตเจ้าของเก้าอี้  
ด้วยคอนเซ็ปต์ เลือก "มาดามหลีได้สิระคืนมา"   ที่สำคัญคนหลักสี่เสียดายคุณสิระ เพราะเป็นคนที่ทำงานเพื่อคนในพื้นที่ จึงอยากให้มาดามหลีเป็นตัวแทน เพราะกลัวว่าทิ้งพื้นที่ ไม่ได้กลัวว่าจะมีการมองว่าสิระไปส่งภรรยามาแทน 

 

"มาดามหลี"  กล่าวว่า การทำพื้นที่เป็นเรื่องที่ คนหลังบ้านดูแลอยู่แล้ว ชาวบ้านคุ้นเคยเพราะทำงานให้ชุมชนทุกวัน ซึ่งปกติคุณสิระ เป็น ส.ส.ที่ทำงานในสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานกรรมาธิการกฎหมาย   เพราะฉะนั้นเรื่องในพื้นที่จึงเป็นหน้าที่ ของมาดามหลีที่ทำงานปกติ 
ซึ่งเข้าใจพื้นที่ไม่แพ้คุณสิระแน่นอน และชาวบ้านก็คิดถึงการทำงานตลอด 3 ปีของคุณสิระมาตลอด เป็นกำลังใจให้กับพวกเรา

มาดามหลี  สรัลรัศมิ์  เจนจาคะ  ผู้สมัครเลือกตั้งซ่อมกทม.เขตหลักสี่ พรรคพลังประชารัฐ 

 

มองบทบาทส.ส.อย่างไร ระหว่างดูแลประชาชน กับบทบาทในสภา  

มาดามหลี : ที่ผ่านมาคุณสิระ ก็ทำงานในสภาฯเยอะมาก และโดดเด่นจากการเป็นประธานกรรมาธิการกฎหมาย สิทธิมนุษยชน ที่ต้องการให้แก้ปัญหา  ซึ่งหากมาดามหลีได้เป็น ส.ส. ก็ต้องกลับบทบาทกัน คุณสิระมาดูแลพื้นที่ ส่วนมาดามหลีจะไปทำงานในสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเป็นการเชื่อมต่อกัน ไม่ใช่ นอมินี แต่เป็นการทำงานคู่กันเคียงบ่าเคียงไหลกันอยู่แล้ว ส.ส.อยากผลักดันเรื่อง ปากท้อง เรื่องค่าครองชีพให้ประชาชนอยู่ได้ และส.ส.ที่ประชาชนเลือกต้องทำงานใกล้ชิดประชาชน

 

ส่วนการผลักดันกฎหมายถือเป็นนโยบายพรรคที่ส.ส.ในพื้นที่ต้องสนับสนุน ซึ่งสำคัญส.ส.ต้องไม่ทิ้งพื้นที่และประชาชนต้องเข้าถึงได้ง่าย และต้องทำควบคู่ทั้งสองด้าน และต้องเป็นตัวกลางที่ช่วยเหลือชาวบ้านเมื่อเกิดปัญหาแก้ปัญหาให้ประชาชนไม่ถูกทอดทิ้ง  

 

คู่แข่ง พรรคเพื่อไทย คะแนนห่างกัน สองพันคะแนน กังวลการมาเป็นคู่แข่งจาก สุรชาติ เทียนทอง เพื่อไทย อดีตแชมป์เก่า คิดว่ากระแสนิยมลุงตู่ จะช่วยผลักดันชัยชนะได้หรือไม่ 


มาดามหลี : ยอมรับว่าโครงการรัฐบาล หลายโครงการประชาชนชื่นชม ทั้งโครงการคนละครึ่ง บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เข้าถึงประชาชนทั่วประเทศ พอใจกับโครงการนี้เป็นอย่างมาก และเชื่อว่ากระแสพรรค และนโยบายจะผลักดันได้คะแนน รวมถึงช่วงสถานการณ์การโควิด ก็ทำงานดูแล เคียงบ่าไหลประชาชน


การเลือกตั้งหลักสี่ วัดใจคนกรุงเทพฯหรือไม่ 

 

มาดามหลี : ยอมรับมีส่วนบ้าง แต่อยากให้โฟกัสที่ เขตหลักสี่ ว่าคิดอย่างไรกับ ส.ส.คนนี้  ต้องรอผลที่จะเกิดขึ้นก่อน เร็วไปจะบอกว่าผลเลือกตั้งเขตหลักสี่ชี้วัดความนิยมพรรคพลังประชารัฐ 

 

ถามย้ำถึง สู้ศึกครั้งนี้ มีคู่แข่ง สุรชาติ เทียนทอง  แพ้เพียง สองพันคะแนน  และคุณสิระ ได้ สามหมื่นสี่พันคะแนน จากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 170,000 คน


มาดามหลี : ประกาศว่า ครั้งนี้คะแนนมากกว่าเดิมแน่นอน มั่นใจ เพราะเรามีประชาชนที่สนับสนุน จากการเข้าถึงพื้นที่ที่ทำงานมาตลอด เดิมทำพื้นที่บริเวณริมคลอง แต่ตลอด 3 ปีช่วงโควิดทำพื้นที่มาตลอดดูแลประชาชนอย่างทั่วถึง และคนรุ่นใหม่ก็มีแนวคิดที่หลากหลายความเห็นที่เชื่อว่าจะมีคะแนนนิยมจำนวนนี้มาให้ด้วย

 

เพชร กรุณพล ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.พรรคก้าวไกล


ยืนยันในจุดยืน เราโอบรัดทั้งเสื้อเหลืองและเสื้อแดง ประเทศเราติดหล่มทั้งเสื้อเหลืองและเสื้อแดง ทั้งคนคิดต่าง เราต้องการให้คนทุกคนมาร่วมมือกัน ทำความเข้าใจกันในปัญหา เพราะประเทศเราติดหล่มความคิดต่าง เพราะฉนั้นเราต้องหาจุดลงตรงกลางให้ได้ ถึงเวลาแล้วที่เราจะเป็นตัวแทนของนักการเมืองที่จะมาทำให้คนไทยทุกคนได้หันหน้ามาคุยกัน  ได้สร้างสรรค์ประเทศ ผมเองก็เป็นหนึ่งเสียง แม้จะเป็น เสียงเล็กๆ และการเป็นนักแสดงสามารถทำได้ตรงนี้ทั้งการตรวจสอบและการช่วยเหลือ 

 

เพชร กรุณพล ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.พรรคก้าวไกล

 

บทบาทส.ส.อย่างที่ควรจะเป็นสำหรับเพชร กรุณพล


"เพชร" มองว่าส.ส.ต้องมองพื้นที่ ลงพื้นที่ด้วยและนโยบายของพรรคด้วย งานส.ส.ทุกคนรู้อยู่แล้วคืองานนิติบัญญัติเป็นเรื่องของการทำกฎหมายแก้กฎหมาย แต่ว่า ส.ส.คือตัวแทนของชุมชนในท้องถิ่นที่ ถูกเลือกมาทำงานนิติบัญญัติ แต่การดูแลปัญหาปากท้องของพี่น้องในท้องถิ่นด้วย ตัว ส.ส.เองเป็นคนที่ต้องเข้าไปดูแลพี่น้องในพื้นที่ นั่นคือนโยบายที่พรรคเราให้ประชาชนได้รับรู้ในช่องทางประชาชนในการแก้ปัญหา อย่าลืมว่าส.ส.หนึ่งคนต้องดูแลประชากรในพื้นที่ประมาณ 200,000 คน ถ้าคนในพื้นที่ 1,000 คนมีปัญหาโทรหา ส.ส.ทุกคน ส.ส.จะทำงานได้ไหม ไม่มีใครทำงานได้แน่นอนต่อให้มีทีมงานใหญ่แค่ไหนก็ตาม 

 

สิ่งที่เราต้องทำคือประชาชนสามารถติดต่อส.ส.ได้ และรู้ช่องทางในการแก้ปัญหาว่าช่องทางไหนทั้งกทม.ทั้งประธานชุมชนแม้แต่ช่องทางในการยื่นกรรมาธิการต่างๆ ซึ่งตัวส.ส.เองจะเป็นผู้ประสานงาน เราไม่ได้ทอดทิ้งหรือเราไม่ได้สนใจแต่เราจะสร้างการเรียนรู้ว่าจริงๆแล้วชาวบ้านมีช่องทางในการแก้ปัญหาโยการให้ส.ส.ในการเป็นตัวกลางในการเชื่อมประสาน

 

สิ่งที่ผมกำลังจะบอกก็คือ ส.ส.ไม่สามารถทำงานได้ด้วยตัวคนเดียว รับเรื่องหรือแก้ปัญหาด้วยตัวคนเดียว แต่เราสามารถทำให้ประชาชนได้รับรู้ว่าตัวส.ส.มีทีมงานมีช่องทางช่วยเหลือประชาชนได้แม้ตอนนี้เราจะเป็นฝ่ายค้านแต่เราจะเป็นฝ่ายค้ายที่เข้าไปตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณทุกบาททุกสตางค์เพราะเป็นเรื่องสำคัญ

 

"เพชร กรุณพล" ย้ำว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ ถ้าฝ่ายค้านได้รับเลือกตั้งเพิ่มขึ้นจะทำให้การทำงานตรวจสอบรัฐบาลในการใช้จ่ายงบประมาณมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

"หลายคนมองว่า แค่อีกหนึ่งปี เราจะไปทำอะไรได้ อย่าลืมว่า หนึ่งปีรัฐใช้งบประมาณ 3.5 ล้านล้าน ซึ่งมหาศาลมาก ถ้าการเลือกตั้งครั้งนี้ได้ส.ส.จากฝ่ายค้านเพิ่มเข้าไปก็จะทำให้การทำงานตรวจสอบมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น"

 

 

อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี เลขาธิการพรรคกล้าว่าที่ผู้สมัครส.ส.พรรคกล้า


อรรถวิชช์ เคยเป็นส.ส.ในพื้นที่ตั้งแต่ปื 2550 อรรถวิชช์ยืนยันไม่ใช่อภิสิทธิ์และมีแนวคิดคนละอย่างกับอภิสิทธิ์

 
“ผมเข้าใจพื้นที่ตั้งแต่หลักสี่ถึงจัตุจักรดีทั้งเรื่องกายภาพและเรื่องของบุคคล ผมว่าผมเข้าใจดีมากเพราะเป็นผู้แทนหลักสี่ในปี 2550 และ หรือแบ่งเขตการเลือกตั้งทีไร ผมจะ มาเป็นผู้แทนจตุจักรในปี 2554 แต่เลือกตั้งคราวที่แล้วปี 2562 ผมไม่ได้ลงในเขตเลือกตั้งนี้ เวลาในการเลือกตั้งทั้ง 3 ครั้ง เวลาที่พรรคเขาเกลี่ยกันทีไร เพื่อนจะเลือกเขตก่อนทุกที ผมเองจะต้องสลับเขตเลือกตั้ง  รวมไปถึงวิธีการเปลี่ยนการนับคะแนน ผมโดนมาหมด ทั้ง 3 ครั้ง “

 

นักการเมืองเหมือนบุรุษไปรษณีย์

 

"เราเคยเป็นประธานกรรมาธิการมาเวลาใครเขามาชี้แจงเรา เราก็เอาทุกข์ร้อนของชาวบ้านส่งฝากไปได้ในขณะที่ การงานสภาออกกฎหมายก็ทำไป มันไม่ได้มีเป้าหมายเฉพาะการโจมตีฝั่งตรงข้าม อย่างเดียว มันต้องมีเรื่องอื่นด้วย และต้องเข้าใจเรื่องพื้นที่ด้วย ผมถนัดเรื่องงานทางลัด งานระบายน้ำที่เป็นรายย่อย ตอนที่เป็นที่ปรึกษาผู้ว่ากรุงเทพมหานครทำไปเยอะนะครับ"

 

"ผมจะบอกว่า งานส.ส.มันมีงานหนึ่งยังงัยก็ต้องมาที่เราคือ ส.ส.จะต้องเป็นสะพานบุญให้ได้ในกรณีที่เชื่อมกันหรือกรณีที่เราเป็นบุรุษไปรษณีย์ให้ได้ทุกร้อนส่งมาเราต้องส่งต่อให้ได้ ถ้าเราจัดการเรื่องนี้ได้มันจะไปได้ไม่ใช่งานยาก"

 

อรรถวิชช์  สุวรรณภักดี ผู้สมัครเลือกตั้งส.ส.กทม.เขตหลักสี่ พรรคกล้า

 

มุมมองต่อพื้นที่เลือกตั้งเขตหลักสี่


"อรรถวิชช์"  มองว่า เป็นสถานีที่ชี้วัดครั้งต่อไป ประเด็นคือ การเสนอการเมืองคุณภาพ การเมืองสร้างสรรค์ไปยังทั้งสองฝั่งจะสำเร็จหรือเปล่า เรายังอยู่บนการเลือกตั้งบนความเกลียดและความกลัวหรือไม่ เช่น รักสงบต้องจบที่ลุง ประโยคนี้ยังใช้อยู่ไหม จบแล้วสงบจริงไหม หรือว่าจับปากกาฆ่าเผด็จการ อารมณ์แบบนี้ยังมีอยู่ไหม ถ้ายังมีอยู่ ผมคิดว่าพรรคกล้าโอกาสน้อย แต่ผมก็เลยตัดสินใจว่าเที่ยวนี้ต้องทดสอบ คือ ถ้าเราดูว่าเราอยากจะเห็นประเทศไปข้างหน้าเป็นประเทศที่ทันสมัยสู้กับระบบราชการล้าหลังได้เป็นการเมืองคุณภาพ เอาคนคุณภาพมาลงเลือกตั้ง เพราะคนที่เราคัดมาลงเลือกตั้งคือคุณภาพทั้งนั้นแต่ว่าเรามาถูกทางไหม มันใช่ไหม ต้องวัดกันสนามนี้"

 

"ที่สำคัญคือผมพยายามให้มันเกิดคือเป้าหมายของชาติให้ได้ถ้าไปเส้นทางนี้ได้ มีโอกาสชนะ ที่สำคัญของการเลือกตั้งคราวนี้ ผมวัดเลยครับว่าการตั้งพรรคการเมืองอย่างพรรคกล้าที่เรานำเสนอการเมืองคุณภาพ ที่เรานำเสนอการเมืองสร้างสรรค์และที่เราเชื่อมั่นว่าการที่จะทำให้บ้านเมืองหลุดพ้นไปได้เนี่ยต้องสู้กับระบบราชการล้าหลัง ไม่ว่าจะเป็นรัฐที่มาจากการทำรัฐประหาร หรือมาจากระบอบประชาธิปไตยก็แล้วแต่มันชนกับระบบราชการล้าหลังไม่ได้สักที เที่ยวนี้ผมรวมคนมือดีเอาไว้ในพรรคจำนวนมาก แต่ผมไม่รู้ว่าแนวทางการเมืองแบบนี้ท่ามกลางการแบ่งซ้ายแบ่งขวามันจะไปได้หรือเปล่า ผมอยากจะให้เวทีที่จตุจักรหลักสี่เป็นตัวชี้วัด พรรคกล้าเราพร้อมและกล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง ไม่เช่นนั้นไม่ตั้งชื่อนี้"

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ