คอลัมนิสต์

ไม่มี"ภาคประชาชน" อยู่ในสมการโครงสร้างอำนาจ

ไม่มี"ภาคประชาชน" อยู่ในสมการโครงสร้างอำนาจ

08 ธ.ค. 2564

ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ "ภาคประชาชน" 2 ฉบับ ไม่ผ่านรัฐสภา เพราะมีเนื้อหาเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจ ตามรัฐธรรมนูญ 2560

ภาคประชาชนชน โดยโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชนมีไอลอว์ เป็นโต้โผแรกในการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 จนได้บรรจุวาระพิจารณาในที่ประชุมรัฐสภาสาระสำคัญร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีแคมเปญ 5 ยกเลิก 5 แก้ไข เพื่อรื้อระบอบอำนาจของ คสช. เปิดทางร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จากการมีส่วนร่วมของประชาชน

5 ประเด็นยกเลิก ประกอบด้วยยกเลิกช่องทางนายกฯคนนอกที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง / ยกเลิกแผนยุทธศาสตร์ 20 ปีของ คสช. /ยกเลิกแผนปฏิรูปประเทศ  / ยกเลิกท้องถิ่นพิเศษ ที่เปิดช่องผู้บริหารไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง แล.ยกเลิกนิรโทษกรรม คสช. พร้อมเสนอแนวทางแก้ไขให้สอดรับกับประเด็นที่ขอยกเลิก เช่นกำหนดให้นายกฯต้องเป็น ส.ส. / ส.ว.มาจากการเลือกตั้งของประชาชน แก้กระบวนการสรรหาองค์กรอิสระ ยกเลิกกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่เขียนโดยคนของ คสช.ปลดล็อกวิธีแก้ไขรัฐธรรมนูญ ใช้เสียงครึ่งหนึ่งของสภา ไม่ต้องมีอำนาจพิเศษของ ส.ว. แล้วตั้ง ส.ส.ร. 200 คน จากการเลือกตั้งทั้งหมด นับเป็นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ2560 ภาคประชาชนฉบับแรกที่ถูกตีตกจากรัฐสภา

ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 ภาคประชาชนฉบับที่2 เสนอโดยกลุ่มRe-solution มีข้อเสนอคล้ายกับร่างของไอลอว์คือการยกเลิก ส.ว. ให้รัฐสภาไทยใช้ระบบสภาเดี่ยว มีแต่สภาผู้แทนราษฎร มาจากการเลือกตั้ง 500 คน ไม่มีสมาชิกวุฒิสภา ศาลรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระที่มาจากคสช.ทั้งหมดต้องพ้นตำแหน่งแล้วเลือกตั้งใหม่ตามกระบวนการซึ่งสุดท้ายจบที่การลงมติโดยเสียงส่วนใหญ่ของสภาผู้แทนราษฎรให้ยกเลิกแผนยุทธศาสตร์ของ คสช. ที่วางอนาคตข้างหน้าไว้ 20 ปี
นายกฯต้องเป็น ส.ส.และพล.อ.ประยุทธ์จะเป็นนายกฯภายใต้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ได้  นอกจากนี้ยังเสนอกลไกต่อต้านรัฐประหาร กำหนดให้ปวงชนชาวไทยมีสิทธิและหน้าที่ในการต่อต้านการรัฐประหาร ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีหน้าที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะทหารที่ก่อการรัฐประหาร ห้ามไม่ให้ศาลพิพากษารับรองความสำเร็จของการรัฐประหาร
ที่สำคัญคือการเพิ่มกลไกพิเศษของรัฐสภามีคณะผู้ตรวจการกองทัพ คณะผู้ตรวจการศาล และคณะผู้ตรวจการองค์กรอิสระ ตรงนี้ถูกสมาชิกวุฒิสภา รุมอภิปรายว่า เป็นการให้อำนาจสภาผู้แทนราษฎรมากเกินไป จนอาจทำให้ขาดการถ่วงดุล โดยคณะผู้ตรวจการฯดังกล่าวให้มีสมาชิก 10 คนและต้องเป็น ส.ส. ฝ่ายค้านอย่างน้อย 5 คน

 

ไม่มี\"ภาคประชาชน\" อยู่ในสมการโครงสร้างอำนาจ

แน่นอนว่าร่างรัฐธรรมนูญภาคประชาชนทั้งสองฉบับ ที่มีข้อเสนอเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจ ที่สำคัญตามรัฐธรรมนูญ 2560 ถูกมองว่า เป็นการเสนอแก้ไข แบบสุดโต่ง ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองไทย สุดท้าย จึงไม่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา แต่ภาคประชาชน ยังมีความพยายามเสนอแก้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ต่อไปตามเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นเข้าชื่อกันเพื่อเสนอกฎหมายได้