คอลัมนิสต์

รัฐบาลเตรียมขยายเพดาน "กู้เงิน" โปะงบประมาณขาดดุล ลุ้นฟื้นเศรษฐกิจ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

นายกฯเรียกประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ขยับเพดาน "กู้เงิน" เกิน 60% ของ GDP ลุ้นก่อหนี้ ฟื้นฟูเศรษฐกิจได้หรือไม่

คนไทยเข้าสู่ภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวจริงหรือไม่ มีข้อเท็จจริง เป็นตัวเลขสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ณ สิ้นปี ซึ่งจะอยู่ในช่วง 88-90% และยังมีความเป็นไปได้ที่สัดส่วนหนี้ครัวเรือนภายในปี 2564 อาจปรับเพิ่มขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ได้อีก หากผลของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด มีความรุนแรงและต่อเนื่องจนทำให้ GDP ลดต่ำลงกว่าที่คาดการไว้ยิ่งรัฐบาลยังไม่สามารถควบคุมการระบาดได้ อาศัยแค่การล็อกดาวน์ไปเรื่อยๆ เมื่อตัวเลขยังไม่ลด ยิ่งไม่ได้ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ

รัฐบาลเตรียมขยายเพดาน "กู้เงิน" โปะงบประมาณขาดดุล ลุ้นฟื้นเศรษฐกิจ

 


การเรียกประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินและการคลังของของนายกรัฐมนตรี เตรียมพิจารณาข้อเสนอกระทรวงการคลังชงขยับเพดานหนี้สาธารณะขึ้นชั่วคราวจาก 60% เป็น 70% รองรับการตั้งขาดดุลงบประมาณ การกู้เงินเพิ่มเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจตามความจำเป็นในช่วงเศรษฐกิจฟื้นตัวจึงถูกจับตาอย่างใกล้ชิด
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

-พลังประชารัฐสยบ "คลื่นใต้น้ำ" หนุนรัฐบาลประยุทธ์ อยู่ยาว

-พลเอก "ประยุทธ์" เข้าสู่วงโคจรทางการเมืองแล้ว

-"โหวตวาระ3" หักปากกาเซียน แก้ไข รธน. เลือกตั้งบัตร2ใบผ่านฉลุย

รัฐบาลเตรียมขยายเพดาน "กู้เงิน" โปะงบประมาณขาดดุล ลุ้นฟื้นเศรษฐกิจ

เป้าหมายหลักของการกู้เงินเพิ่มของรัฐบาลอาจไม่ใช่เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งหมด แต่เป็นการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณประจำปี 2565 เพื่อให้หน่วยงานราชการมีเงินที่จะใช้จ่ายตามงบประมาณปี 2565 คำถามคือเราจำเป็นต้องใช้เงินและกู้เงินมากขนาดนั้นหรือไม่ เพราะจะสร้างภาระหนี้ให้กับประชาชน

พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561 มีเป้าหมายให้รัฐบาลต้องรักษาวินัยทางการคลังตามหลักการรักษาเสถียรภาพและการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน คณะรัฐมนตรีทั้งคณะต้องรักษาวินัยตาม พ.ร.บ.นี้อย่างเคร่งครัดและไม่บริหารราชการแผ่นดินโดยมุ่งสร้างความนิยมทางการเมือง
 

รัฐบาลเตรียมขยายเพดาน "กู้เงิน" โปะงบประมาณขาดดุล ลุ้นฟื้นเศรษฐกิจ

พิชัย นริพทะพันธ์ รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ด้านเศรษฐกิจ ระบุว่าตามยุทธศาสตร์ชาติเศรษฐกิจไทยจะต้องขยายตัวปีละ 5% ไปอีก 20 ปี ประเทศไทยถึงจะเป็นประเทศที่มีรายได้สูงได้ แต่ 7 ปีที่ผ่านมาพลเอกประยุทธ์บริหารเศรษฐกิจของไทยขยายตัวเฉลี่ยได้เพียง 2% เท่านั้น และ 2 ปีที่ผ่านมาที่มีการนำยุทธศาสตร์ชาติมาเริ่มใช้ พลเอกประยุทธ์กลับบริหารเศรษฐกิจติดลบถึง -3.8 % ด้วยซ้ำ ถ้าขยายตัวในระดับนี้อีก 50 ปี ไทยก็เป็นประเทศรายได้สูง ตามที่พลเอกประยุทธ์ออกมาระบุ 
การกู้เงินมาเยียวยานั้นไม่ใช่ทางออกการแก้ปัญหาเศรษฐกิจระยะยาว มาตรการแจกเงินต้องใช้ไปพร้อมกับการกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่าย แต่เมื่อยังมีการล็อกดาวน์ กิจกรรมต่างๆหลายอย่างหยุดชะงัก  เมื่อการออกไปจับจ่ายใช้สอยยาก เงินกู้ที่ถูกนำมาใช้ในการเยียวยา นอกจากจะเพิ่มหนี้แล้ว ก็ยังไม่ได้แก้ปัญหา เว้นแต่จะเปิดประเทศได้ตามกำหนดในเดือนตุลา 
 

logoline