คอลัมนิสต์

รู้ยัง..โรงเรียนไหนบ้างที่ต้องจ่ายค่าเทอม

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

รู้ยัง..โรงเรียนไหนบ้างที่ต้องจ่ายค่าเทอม บทวิเคราะห์โดย ชัยวัฒน์ ปานนิล

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 54 ระบุว่า รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลาสิบสองปี ตั้งแต่ ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับ อย่างมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : หลอกครูและคนทั้งประเทศ 'เลื่อนการเปิดเทอมทิพย์' อีกแล้ว

เห็นได้ชัดว่า ประชาชนคนไทยทุกคนต้องได้รับการการศึกษาฟรี 12 ปี นับตั้งแต่ก่อนเข้าเรียนจนถึงจบการศึกษาภาคบังคับ (อนุบาล 3 ขวบ – มัธยมศึกษาปีที่ 3 ) ซึ่งเป็นสิทธ์ตามรัฐธรรมนูญ

 

จากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยว่า ตามที่มีผู้ปกครองร้องเรียนเรื่องการเก็บเงินบำรุงการศึกษา ค่าธรรมเนียมการศึกษา ค่าธรรมเนียมการเรียน และค่าธรรมเนียมอื่น ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ของสถานศึกษา เข้ามาที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จำนวนมากนั้น

 

โดยไม่ได้ระบุว่า ผู้ร้องเรียนเป็นใคร เป็นบุคคลกลุ่มไหน ได้รับความเดือดร้อนอย่างไร จากการเรียกเก็บเงิน ของสถานศึกษา

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ยังกล่าวอีกว่า ตนได้รับทราบปัญหาและมีนโยบายให้ต้นสังกัดของโรงเรียนและสถานศึกษาในสังกัดและในกำกับของ ศธ.ไปดำเนินการแก้ไขปัญหา และเมื่อวันที่ 27 พ.ค.ที่ผ่านมา ตนก็ได้ลงนามในประกาศ ศธ. เรื่อง แนวปฏิบัติการเก็บเงินบำรุงการศึกษา ค่าธรรมเนียมการศึกษา ค่าธรรมเนียมการเรียน และค่าธรรมเนียมอื่นไปแล้ว เพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายและบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ปกครองในสถานการณ์ปัจจุบัน ให้โรงเรียนหรือสถานศึกษาในสังกัด หรือในกำกับของ ศธ.ถือปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

 

1. ในกรณีที่ได้มีการเรียกเก็บเงินบำรุงการศึกษา ค่าธรรมเนียมการศึกษา ค่าธรรมเนียม การเรียน และค่าธรรมเนียมอื่นไปแล้ว ให้คืนเงินบำรุงการศึกษาหรือค่าธรรมเนียมดังกล่าว ในส่วนที่ไม่ได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนนั้นในระหว่างที่เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(โควิด-19)

 

2. ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องเรียกเก็บเงินบำรุงการศึกษา ค่าธรรมเนียมการศึกษา ค่าธรรมเนียมการเรียน และค่าธรรมเนียมอื่น เพื่อใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน อาจพิจารณาผ่อนผันหรือขยายระยะเวลาการเรียกเก็บเงินบำรุงการศึกษา หรือค่าธรรมเนียมดังกล่าว ตามความเหมาะสมเป็นกรณีไป

 

3. พิจารณาให้ความช่วยเหลือ ในกรณีที่ผู้ปกครองของนักเรียน นักศึกษา ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว ตามความจำเป็น เหมาะสม

 

4. ให้หน่วยงานต้นสังกัดหรือที่กำกับโรงเรียนหรือสถานศึกษา แจ้งเวียนไปยังสถานศึกษาในสังกัด หรือในกำกับ ให้ปฏิบัติตามประกาศนี้

ทั้งนี้ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2564 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น

รู้ยัง..โรงเรียนไหนบ้างที่ต้องจ่ายค่าเทอม

แถลงการณ์นายกสมาคมคณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชน ดิ้น สวนหมัด "ตรีนุช เทียนทอง" หลังรมว.ศึกษาธิการออกประกาศให้โรงเรียนจ่ายคืนค่าเทอมช่วงไม่ได้เรียนเพราะโควิด19

 

 

หากพิจารณาจากภาพรวม จะเห็นได้ว่าเป็นผลดี แก่ผู้ปกครอง แต่อาจจะมีปัญหาในทางปฏิบัติ ดังนี้

 

ข้อ 1. “ให้คืนเงินในส่วนที่ไม่ได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอน.......” ฉะนั้นไม่คืนเงินในส่วนที่มีการจัดการเรียนใช่ไหม

 

ข้อ 2. “กรณีที่มีความจำเป็นต้องเก็บเงิน..........อาจพิจารณาผ่อนผัน...........เป็นกรณีไป” หมายความว่า จะเก็บเงินก็ได้ แล้วพิจารณาผ่อนผันเป็นกรณี

 

จาก ข้อ 1. จะมีปัญหาที่ว่ามีกิจกรรมอะไรที่ไม่ได้จัด ที่จะจัด (คืน ไม่คืนเงิน)

จาก ข้อ 2. เรียกเก็บเงินเพื่อใช้จัดกิจกรรม แต่ก็ผ่อนผันได้ในบางกรณี (ก็ยังเก็บได้อยู่ดี)

 

ทั้ง 2 ข้อ มีช่องโหว่เพราะเป็นการใช้ดุลยพินิจของแต่ละคน มีโรงเรียนอยู่ประมาณ 30,000 แห่ง มีการใช้ดุลยพินิจที่บิดเบี้ยวเพียง 30 แห่ง ก็ถือว่าไม่บรรลุวัตถุประสงค์แล้ว

 

จากคำสั่งดังกล่าว กระทรวงศึกษาธิการยอมรับโดยนัยยะว่า การศึกษาในทุกระดับมีการเก็บเงินจริง ซึ่งอาจจะขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ที่ต้องการให้เด็กไทยทุกคน ได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ในช่วงของการศึกษาภาคบังคับ

 

ในส่วนของการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาที่จัดโดยเอกชน นับเป็นการศึกษาทางเลือก หากจะมีค่าใช้จ่ายบ้างผู้ปกครองก็ควรรับผิดชอบตามความสมัครใจ

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ