ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ตัวเลขผู้เสียชีวิ ตเพราะหนาวตายพุ่งสูงเกือบ 100 คน ระบบไฟฟ้า ระบบน้ำประปาล่มสลาย ชาวเท็กซัส 12 ล้านคน ไม่มีน้ำไม่มีไฟใช้ หรือมีแบบติด ๆ ขัด ๆ สำนักข่าวทั่ วโลกรายงานโศกนาฏกรรมเด็กน้ อยหลายคนนอนขดตัวหนาวตายภายใต้ ผ้าห่มหลายชั้น เพราะในบ้านไม่เคยมีเครื่ องทำความร้อน ระบบไฟฟ้าถูกตัดขาดหลายวัน บางครอบครัวแม่ตัดสินใจอุ้มลู กเข้าไปนอนเปิดฮีตเตอร์ในรถยนต์ แล้วเสียชีวิตเพราะก๊าซพิษจากท่ อไอเสียไหลเวียนไม่ดีพอ
นี่คือความลึกลับของ “ภาวะโลกร้อน” ไม่ว่ารัฐบาลทั่วโลกจะร่วมมือกั นทุ่มงบประมาณประดิษฐ์เทคโนโลยี ไฮเทค เพื่อวิเคราะห์จำลองคาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตาม สุดท้ายอาจพลิกขั้วเป็นตรงข้ ามได้เสมอ
ผู้เชี่ยวชาญด้านโลกร้อนของเท็ กซัส วางแผนเตรียมพร้อมรับมือ “ภัยแล้งร้อน” ไว้อย่างเต็มที่ แต่วิกฤติที่เกิดขึ้นเป็นขั้ วตรงข้าม คือ ภัยหนาวพายุหิมะ แบบฉับพลันและรุนแรง !?!
มหาวิทยาลัยแห่งเท็กซัส ทำวิจัยและเผยแพร่หนังสือชื่อ “ผลกระทบของภาวะโลกร้อนในเท็กซั ส” ( The Impact of Global Warming on Texas) เมื่อปี 2554 เนื้อหาแสดงให้เห็นประวัติ ศาสตร์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ อากาศในอดีตของเท็กซัส และจำลองการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิ ดขึ้นในอนาคตอันจากปัญหา “ภาวะโลกร้อน” และปัจจัยอื่น ๆ
CBSNEWS
มีการยืนยันว่า พื้นที่ชายฝั่งทะเลกำลังได้รั บผลกระทบรุนแรงจากปริมาณน้ำ ฝนหรืออุณหภูมิของโลกที่ร้อนขึ้ นเรื่อย ๆ ชายฝั่งทรุดตัวต่อเนื่อง พร้อมเสียงเตือนถึงผลผลิ ตและรายได้ส่วนใหญ่ของชาวเท็กซั สที่มาจากภาคเกษตรอาจย่อยยับ เพราะภัยแล้งรุนแรง การขาดแคลนน้ำ ฟาร์มพืชและฟาร์มสัตว์เสี่ ยงเผชิญศัตรูพืชและโรคระบาด คำเตือนเกี่ยวกับ “ภัยแล้งและอากาศร้อนจัด” มีมาต่อเนื่องเรื่อย ๆ
เมื่อสิ่งที่เกิดขึ้นจริงเป็ นขั้วตรงข้าม “ภัยหนาวรุนแรง” ทำให้ชาวเท็กซัสไม่ขาดแคลนน้ำ แต่กินไม่ได้เพราะเป็นน้ำแข็ง และไม่มีไฟฟ้าส่งมาถึงหม้อต้มน้ำ ท่อส่งก๊าซเกิดภาวะน้ำแข็งเกาะ กังหันผลิตพลังงานลมหมุนไม่ได้ เพราะหิมะท่วม ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ได้เตรี ยมสำรองเชื้อเพลิงหรืออุปกรณ์สิ่ งของยังชีพไว้สำหรับรับภัยหนาว สิ่งที่พอมีก็คือ ถ่านดำถุงเล็ก ๆ ที่เตรียมไว้สำหรับเตาบาร์บีคิ วย่างซี่โครงหมู
บทเรียนโลกร้อน “เท็กซัส”...ทำให้ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย อาจต้องวางแผนรับมื อความแปรปรวนของภูมิอากาศไว้ หลายรูปแบบและหลากสถานการณ์ มากกว่านี้ เพราะความลึกลับของมหันตภั ยโลกร้อน อาจเกิดขึ้นแบบขั้วตรงข้ามได้ เสมอ !
อธิบายง่าย ๆ คือ เท็กซัสที่มีอุณหภูมิคล้ายไทย บางพื้นที่ร้อน บางพื้นที่หนาว พื้นที่หนาวสุดเฉลี่ยประมาณ 1- 5 องศา เช่นเดียวกับไทยในภาคเหนือแถบเชี ยงรายหรือน่านก็เคยลดต่ำถึง 1-2 องศามาแล้วเช่นกัน
ที่ผ่านมานักวิชาการของไทยมักกั งวลถึง “ภัยร้อนแห้งแล้งแบบต่อเนื่ องและรุนแรง” จากก๊าซเรือนกระจก แต่ไม่ค่อยมีคำเตือนให้ระวังภั ยหนาวแบบหฤโหดมากนัก เพราะมั่นใจว่าอากาศร้อนชื้ นของไทยไม่ทำให้เกิดหิมะตกอย่ างแน่นอน แต่สิ่งที่เกิดแบบขั้วตรงข้ ามในเท็กซัส อาจทำให้พวกเราต้องกลับมาช่วยกั นพิจารณาความเป็นไปได้แบบเลวร้ายที่สุด การสร้าง แบบจำลอง “worst case scenario” ถ้าเกิดภัยหนาวจัดแบบเท็กซัส คนไทยจะรับมือได้มากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะระบบสาธารณูปโภค ถ้าท่อส่งก๊าซกลายเป็นน้ำแข็ง หรือน้ำในบ่อเก็บของการประปาเป็ นน้ำแข็งหมด ระบบไฟฟ้าไม่ทำงาน คนไทยจะทนความหนาวแบบไม่มีน้ำ ใช้ได้นานแค่ไหน
ผศ.ประสาท มีแต้ม ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน ในฐานะ กรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านบริ การสาธารณะ พลังงาน และสิ่งแวดล้อมสภาองค์กรของผู้ บริโภค ตอบคำถามข้างต้นว่า ตอนนี้อะไรก็เกิดขึ้นได้ เพราะไทยติด 1 ใน 8 ประเทศที่เสี่ยงได้รั บผลกระทบจากโลกร้อนแบบรุนแรง ข้อมูลคาดการณ์แบบเลวร้ายที่สุ ดนั้น ส่วนใหญ่เน้นเผชิญปัญหา “คลื่นความร้อน” หรืออากาศร้อนติดต่อกันมากกว่ าเดิมระดับ 100- 145 เท่า เช่น ไทยเคยร้อนสุด ๆ ปีละ 5 วัน ก็อาจเพิ่มเป็น 500 วันหรือร้อนต่อเนื่องทั้งปี หรือพื้นที่ทั่วไปจากที่เคยร้ อนระดับ 2-3 ก็อาจพุ่งทะลุไประดับ 5 ได้
ตอนนี้มีงานวิจัยแสดงถึ งกระแสน้ำที่แปรปรวนในทะเลสาบ 700 แห่งทั่วโลก โดย UKCEH หรือ ศูนย์นิเวศวิทยาและอุทกวิทยาแห่ งสหราชอาณาจักร (UK Centre for Ecology & Hydrology) ระบุว่าปัญหากระแสน้ำ แปรปรวนจะส่งผลต่อ สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบข้างทั้ งหมด เช่น ทำลายพืช ทำให้สัตว์น้ำตาย ชายฝั่งและหน้าดินถูกทำลาย ความหลากหลายทางชีวภาพหมดไป น้ำท่วมภัยแล้งจะเกิดขึ้ นแบบกระทันหัน
ผส.ประสาท ชี้ให้เห็นว่าเหตุการณ์ขั้ วตรงข้ามที่เกิดในเท็กซัส หนาวจัดติดลบเกือบ -20 องศา ไม่ใช่ว่าจะเกิดขึ้นไม่ได้ในเมื องไทย เพราะประเทศเพื่อนบ้านของไทยทั้ งเวียดนามและพม่า บางพื้นที่ของภูเขาสูงก็มีหิ มะตกเป็นเรื่องธรรมดาอยู่แล้ว โอกาสที่คนไทยเจออากาศหนาวจัดติ ดลบแบบต่อเนื่องยาวนานก็ไม่ใช่ ว่าจะเป็นศูนย์ ถ้าพวกเราไม่พยายามลดก๊าซเรื อนกระจกอย่างจริงจัง พร้อมกล่าวย้ำว่า รัฐบาลไทยที่ผ่านมา มีตัวเลขสวย ๆ มาโชว์ ยังไม่เห็นความจริงจั งในการลดพลังงานฟอสซิล
เช่น นโยบายบังคับเลิกใช้รถยนต์ แบบเดิมแล้วเปลี่ยนเป็นรถไฟฟ้า หลายประเทศกำหนดไว้เลยว่าอีก 5 – 10 ข้างหน้า ต้องโละทิ้งรถยนต์แบบเดิมให้ได้ 20 - 50 เปอร์เซ็นต์ หมายถึงรถใหม่ที่ขายต้องเป็ นรถยนต์ไฟฟ้าเท่านั้น หรือ ส่งเสริมโซลาเซลล์และพลั งงานทางเลือกอื่น ๆ แต่ในไทยแลนด์เทคโนโลยีพวกนี้ ยังไม่ได้รับการสนับสนุน ตอนนี้เอาแค่ลดฝุ่นพิษ พีเอ็ม 2.5 ให้ได้เสียก่อน ยังไม่รู้จะทำจริงจังแค่ไหน...
นับว่าเป็นคำเตือนที่น่าสนใจยิ่ ง จากข้อมูลปี 2563 ไทยแลนด์ปล่อยก๊าซเรื อนกระจกมากเป็นอันดับที่ 21 ของ โลก และเป็นอันดับ 2 ของอาเซี ยนรองจากอินโดนีเซีย หมายความว่าจากเกือบ 200 ประเทศทั่วโลก ไทยติดอันดับต้น ๆ แล้วจะเป็นไปได้อย่างไรว่า เราจะรอดพ้นผลกระทบจากโลกร้อน?
ตัวการปล่อยก๊าซพิษเรื อนกระจกของไทยมาจาก การใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น คาร์บอนฯจากท่อไอเสียรถยนต์ และโรงไฟฟ้า สัดส่วนมากถึงร้อยละ 70 ทำให้นายกบิ๊กตู่ ต้องรีบให้คำมั่นสัญญากั บประชาคมโลกว่า ไทยจะลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ ได้อย่างน้อย 20-25% ภายใน 10 ปีข้างหน้าหรือปี 2573 เราไปฟังว่าหน่วยงานรัฐที่เกี่ ยวข้องกับ “ปัญหาโลกร้อน” คิดอย่างไรก็เรื่องนี้